ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
Effects of elastic band exercise program on severity of osteoarthritis patients, Damnoensaduak Hospital, Ratchaburi
Keywords:
โรคข้อเข่าเสื่อม, ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม, โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด, กายภาพบำบัดตามปกติ, Osteoarthritis, Osteoarthritis severity, Elastic band exercise program, usual physiotherapyAbstract
บริบท มีหลายการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายด้วยยางยืดส่งผลต่อความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมระหว่างกลุ่มที่ได้รับการกายภาพบำบัดตามปกติเพียงอย่างเดียวกับกลุ่มโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดร่วมกับการกายภาพบำบัดตามปกติ ณ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยกลุ่มควบคุม ได้รับการกายภาพบำบัดตามปกติเพียงอย่างเดียวและประเมินผลความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม สัปดาห์ที่ 1 และ 4 จนครบ 30 ราย หลังจากนั้นเริ่มเก็บข้อมูลกลุ่มทดลอง ได้รับการกายภาพบำบัดตามปกติ ร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด และประเมินผลความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมสัปดาห์ที่ 1 และ 4 จำนวน 3 รายวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independent t-test วิเคราะห์เปรียบเทียบสัดส่วนระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมระหว่าง 2 กลุ่มโดยใช้สถิติ Chi-Square testผลการวิจัย พบว่าความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการกายภาพบำบัดตามปกติเพียงอย่างเดียว มีความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม อยู่ในระดับ 3, 2, 1, 4 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกลังกายด้วยยางยืดร่วมกับการกายภาพบำบัดตามปกติ ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม อยู่ในระดับ 4 ระดับความรุนแรงระหว่างกลุ่มที่ได้รับการกายภาพบำบัดตามปกติเพียงอย่างเดียว และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดร่วมกับการกายภาพบำบัดตามปกติพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน แต่หากพิจารณาแนวโน้ม พบว่ากลุ่มทดลอง จะมีความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมระดับที่ 3 ลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับกายภาพบำบัดตามปกติเพียงอย่างเดียว ร้อยละ 3.3 และ 10.0 ตามลำดับ สรุป โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดร่วมกับการทำกายภาพบำบัดตามปกติมีแนวโน้มลดความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการกายภาพบำบัดตามปกติเพียงอย่างเดียว Context: Many studies presented that elastic band exercise program has effect on severity of osteoarthritis patients. Objective: To study the effect of elastic band exercise program versus osteoarthritis severity between a group of patients having usual physiotherapy and a group patients having elastic band exercise program with usual physiotherapy at Damnoensaduak Hospital. Method: This is a quasi-experimental study which participants in group 1 had usual physiotherapy following by the assessment of osteoarthritis severity at week 1 and week 4 for 30 participants. Then participants in group 2 started receiving the elastic band exercise program with usual physiotherapy and having the assessment of severity of osteoarthritis at week 1 and week 4 for 30 participants as well. Percentage, mean, standard deviations, independent t test were applied for statistical data analysis while Chi-Square test was used to determine the severity of osteoarthritis ratio between these two groups. Results: The study presented that the severity grade a group of patients usual physiotherapy is 3, 2, 1 and 4 respectively. A group of patients having elastic band exercise program with usual physiotherapy is grade 4. The severity level between two groups of patients having the usual physiotherapy and having elastic band exercise with usual physiotherapy was found indifferent; however, concerning severity tendency, it was found that severity grade 3 of patients group in elastic band exercise program with usual physiotherapy more decreased than in usual physiotherapy by 3.3 and 10.0 percent, respectively. Conclusion: The elastic band exercise program with usual physiotherapy severity tendency more effect on decreasing severity of osteoarthritis than the usual physiotherapy.References
อุษา ตันทพงษ์. ปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิของครูในจังหวัดนครปฐม. 2562; 20: 316-23.
Grotle M, Hagen KB, Natvig B, Dahl FA, Kvien TK. Obesity and osteoarthritis in knee, hip and/or hand: an epidemiological study in the general population with 10 years follow-up. BMC Musculoskelet Disord. 2008; 132: 1-3.
วันทนียา วัชรีอุดมกาล. ความสามารถในการทำงานของข้อเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมรุนแรง. 2557.
รายงานสถิติเวชระเบียนประจำปี 2562. โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. 2562.
สุวรรณี สร้อยสงค์. การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562; 33: 197-210.
แสงอรุณ ดังก้อง. กายภาพบำบัดในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. เวชบันทึกศิริราช. 2560; 10: 115-21.
สิริวรรณ ธรรมคงทอง. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด ต่อความสามารถการใช้งานข้อต่อของขาและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2562; 33: 51-66.
ปารวีร์ มั่นฟัก, ราตรี สุพรมมา, สุวัฒนา เกิดม่วง, อนุสรา คงบัว และอรนุช นุ่นละออง. ผลของโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อเข่าด้วยยางยืดต่อการบรรเทาความรุนแรงของภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561; 6: 93-109.
Polit DF, Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice Eighth Edition. Philadelphia, Pa: Lippincott Williams & Wilkins; 2008.
วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล และมณี รัตนไชยานนท์. แบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม Modified WOMAC (Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis is Index ฉบับภาษไทย สืบค้นจาก ww.rcost.or.th/web/data/cpgoa2554.pdf. 2550.
Waleed S Mahmoud, Ragab K Elnaggar, Ahmed S Ahmed. Influence of isometric exercise training on quadriceps muscle architecture and strength in obese subjects with knee osteoarthritis. Int J Med Res Health Sci. 2017; 6: 1-9.
Suzuki Y. et al. Home exercise therapy to improve muscle strength and joint flexibility effectively treats pre-radiographic knee OA in community-dwelling elderly: a randomized controlled trial. Clin Rheumatol. 2019; 38: 133-41.
Huang L, Guo B, Xu F, Zhao J. Effects of quadriceps functional exercise with isometric contraction in the treatment of knee osteoarthritis. Int J Rheum Dis. 2018; 21: 952-9.
Chen SM, Shen FC, Chen JF, Chang WD, Chang NJ. Effects of resistance exercise on glycated Hemoglobin and functional performance in older patients with comorbid diabetes mellitus and knee qsteoarthritis: a randomized trial. Int J Environ Res Public Health. 2019; 224: 1-13.
Chang TF, Liou TH, Chen CH, Huang YC, Chang KH. Effects of elastic-band exercise on
lower-extremity function among female patients with osteoarthritis of the knee. Disabil Rehabil. 2012; 34: 1727-35.
Dhar S, Agarwal S. Effectiveness of an elastic band exercise protocol in tri-compartmental osteoarthritis of the knee. Indian journal of physiotherapy and qccupational therapy. An International Journal. 2015; 9: 176-81.