การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์ของการทดสอบความปราศจากเชื้อของเภสัชภัณฑ์และการประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังของผู้เรียน

The development of online teaching materials and the evaluation of student achievement before and after learning: A sample case for Pharmacy undergraduates and a “Sterility Test of Pharmaceutical Products” lesson

Authors

  • ปันเอก เรืองศิริกร
  • นันทวรรณ จินากุล

Keywords:

สื่อการเรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน, การทดสอบความปราศจากเชื้อ, เภสัชภัณฑ์ปราศจากเชื้อ, Learning material, student’s achievement, sterility test, sterile pharmaceutical products

Abstract

บริบท การทดสอบความปราศจากเชื้อของเภสัชภัณฑ์เป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญที่นักศึกษาเภสัชศาสตร์จะต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นระบบออนไลน์จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำสื่อการเรียนรู้หัวข้อ ดังกล่าวเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรวมถึงการทบทวนบทเรียนด้วยตนเองของนักศึกษาวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำและเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เรื่องวิธีการทดสอบความปราศจากเชื้อของเภสัชภัณฑ์ รวมถึงประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนก่อนและหลังการดูสื่อการเรียนรู้ วิธีการศึกษา จัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เรื่อง การทดสอบความปราศจากเชื้อของเภสัชภัณฑ์ด้วยวิธี membrane filtration และเผยแพร่ให้ผู้เรียนซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 128 คน ผ่านโปรแกรมจัดการเรียนการสอนออนไลน์ Microsoft Teams (MS-team) ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนโดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนผ่านสื่อออนไลน์โดยใช้แบบทดสอบวัดผลชนิดเลือกคำตอบประเภทปรนัย จำนวน 10 ข้อ นำเสนอข้อมูลในรูปแบบ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และทดสอบความแตกต่างของข้อมูลด้วยสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น p<0.05 ผลการศึกษา สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เรื่อง วิธีการทดสอบความปราศจากเชื้อของเภสัชภัณฑ์ประกอบด้วยการบรรยายและสาธิตในหัวข้อ วิธีการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และอาหารเลี้ยงเชื้อ การทดสอบ growth promotion และ suitability รวมถึงการทดสอบในตัวอย่างเภสัชภัณฑ์ เมื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน พบว่าคะแนนก่อนและหลังศึกษาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.25±1.757 และ 8.64±1.446 คะแนน, p<0.05) สรุป การทำสื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนได้ รวมถึงช่วยให้นักศึกษาได้ทบทวนความรู้และเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นรวมทั้งเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ได้  Introduction: The topic “Sterility testing of pharmaceutical products” is one of the essential lessons required for pharmacy students to learn and practice. Due to COVID-19 situation resulting in the use of online learning platforms, teaching materials related to this topic need to be produced and applied in the classroom including students’ self-study. Objectives: To produce, distribute and evaluate online teaching materials for undergraduate students at Mahidol University’s Faculty of Pharmacy, covering the topic of “sterility testing of pharmaceutical products.” Methods: Online teaching materials entitled “Sterility testing of pharmaceutical products using the membrane filtration technique’ was created and distributed to 128 3rd year undergraduate pharmacy students at the Faculty of Pharmacy at Mahidol University in Thailand. The materials were delivered via Microsoft’s MS-teams online teaching platform. 10 multiple-choice questions were given to each student pre and post learning periods to evaluate their achievements. The data from the questionnaires were analyzed and presented as mean, standard deviation, and percentage. The statistically significant difference between parameters was also calculated based on the p-value less than 0.05 (p<0.05). Results: Outlines of our online teaching content included materials and equipment, including media preparations, growth promotion, suitability tests and how to conduct the assay in pharmaceutical products. The test scores between pre and post learning sessions were significantly different (4.25 ± 1.757 VS 8.64 ± 1.446, p<0.05). Conclusion: Online teaching materials can be used as a tool for learning management. An online platform can help students in terms of self-study and the improvement of their cognition. It also increases learner’s achievement levels, which may lead to the enhancement of other educational skills.

References

Nimitwongsin S. The cleanroom for sterile products. Chula Med J. 2014; 58: 1 – 17.

Sachin S, Baddam A, Simran N, Lakshmi. VP, Akhila H, Sharma J.V.C. Review on sterility testing. Inr J Sci Res. 2021; 6: 581.

เมธี ศรีประพันธุ์, ปิยทิพย์ ขันตยาภรณ์, บรรณาธิการ. เทคนิคทางเภสัชจุลชีววิทยา. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด; 2564.

Cronbach, L. J. Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins; 1970.

กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี, ปิยทิพย์ ขันตยาภรณ์, สุเมธ จงรุจิโรจน์, บรรณาธิการ. การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้านจุลชีววิทยา. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก จำกัด; 2559.

Department of Medical Sciences. Thai Pharmacopoeia Supplement 2020. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand., Ltd.; 2020.

The United States Pharmacopoeia Convention Inc. The United States Pharmacopoeia 39. Volume 1. Rockville: MD; 2016.

Aakanchha Jain, Richa Jain, Sourabh Jain. Basic Techniques in Biochemistry, Microbiology and Molecular Biology. New York: Springer Protocols Handbooks; 2020: 123.

กันตภณ พลิ้วไธสง. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ในรายวิชาฟัซซีลอจิก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 2559; 10: 21.

มนสิชา เปล่งเจริญศิริชัย. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 2558; 8: 950.

Downloads

Published

2023-06-08