https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/issue/feed บูรพาเวชสาร 2024-01-04T03:04:59+00:00 chain journal.Libbuu@gmail.com Open Journal Systems Burapha Journal of Medicine https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/8977 การยอมรับทางประสาทสัมผัสของเยลลีน้ำบีทรูทในอาสาสมัครสุขภาพดี 2024-01-04T02:18:04+00:00 นันทนา สมยาประเสริฐ journalLibbuu@gmail.com นรีกานต์ หนุนวงศ์ journalLibbuu@gmail.com จิตติมา มุ่งรายกลาง journalLibbuu@gmail.com ปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี journalLibbuu@gmail.com <p>บทนำ บีทรูทถือเป็นผักเพื่อสุขภาพและเป็นหนึ่งในอาหารทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่การศึกษาเกี่ยวกับบีทรูทในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก โดยเฉพาะในแง่ของการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตเยลลีน้ำบีทรูทสำหรับเป็นอาหารหวาน และเพื่อศึกษาระดับการยอมรับทางประสาทสัมผัส ของเยลลีน้ำบีทรูทเทียบกับเยลลีสูตรควบคุมในอาสาสมัครสุขภาพดี วิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง อาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัยเป็นอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี เพศชายและหญิง อายุ 18 - 30 ปี จำนวน 30 คน ผู้วิจัยทำการผลิตเยลลีน้ำบีทรูทและเยลลีสูตรควบคุม จากนั้น ให้อาสาสมัครชิมเยลลีทั้ง 2 สูตร แบบสุ่มแล้วทำแบบประเมินการยอมรับทางประสาทสัมผัส โดยมีแบบประเมิน 3 แบบ ได้แก่ แบบประเมินความชอบแบบ 9-point hedonic scale แบบประเมินความชอบแบบบรรยาย ลักษณะ และแบบประเมินความชอบแบบระบุสเกล ผลการศึกษา ผลการประเมินความชอบแบบ 9-point hedonic scale พบว่าเยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ย ด้านลักษณะปรากฏไม่แตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุม แต่มีคะแนนเฉลี่ยด้านกลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และ ความชอบรวมต่ำกว่าเยลลีสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) โดยเยลลีสูตรควบคุมและ เยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ยด้านความชอบรวมอยู่ในระดับเฉย ๆ ถึงชอบระดับเล็กน้อย และชอบระดับเล็กน้อย ตามลำดับ ผลการประเมินความชอบแบบบรรยายลักษณะพบว่าเยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ยด้านลักษณะปรากฏ และเนื้อสัมผัสไม่แตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุม แต่มีคะแนนเฉลี่ยด้านสี กลิ่น และรสชาติต่ำกว่าเยลลีสูตรควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) และผลการประเมินความชอบแบบระบุสเกลพบว่าเยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนน เฉลี่ยด้านความหวาน ความหอม ความเข้มของรสชาติ และความหยุ่นไม่แตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุม สรุป เยลลีน้ำบีทรูทมีความแตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุมด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวม เมื่อประเมินการยอมรับทางรสชาติด้วยแบบประเมินความชอบแบบ 9-point hedonic scale และแบบ บรรยายลักษณะ โดยเยลลีสูตรควบคุมและเยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ยด้านความชอบรวมในระดับเฉย ๆ ถึงชอบ ระดับเล็กน้อย และชอบระดับเล็กน้อย ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าเยลลีสูตรควบคุมเป็นที่ยอมรับของอาสาสมัคร มากกว่าเยลลีน้ำบีทรูท&nbsp; Introduction: Beetroot is among the top healthiest vegetables and is already a popular alternative food. However, studies concerning beetroot’s popularity within Thailand are still few, particularly in terms of the development of healthy consumer food products. Objectives: To run a study with health-conscious participants for the level of sensory acceptance between a beetroot juice jelly and a control jelly. Methods: This was an experimental study. Thirty healthy male and female participants, between 18–30 years old, were recruited. Beetroot juice and control jellies were produced by researchers, and then randomly tasted by the participants. The participants thereafter were asked to evaluate their sensory acceptance across three questionnaires, including a 9-point hedonic scale, descriptive evaluation score as well as a “just about right” scale. Results: The 9-point hedonic scales showed that appearance was not a factor between the beetroot juice and control jellies. However, the aroma, flavor, texture and overall acceptability scores were significantly lower in the beetroot juice jelly (p &lt; 0.05). The overall acceptability scores for the control and beetroot juice jellies fell within the neither like nor dislike, to “liking slightly” tiers. The descriptive evaluation scores showed that appearance and texture were not significantly different among the beetroot and control jellies. However, color, aroma and flavor scores were significantly lower in the beetroot juice jelly (p &lt; 0.05). Likewise, the “just about right” scales also showed that sweetness, aroma, extreme flavor and springiness were not significantly different between the beetroot juice and control jellies. Conclusion: Beetroot juice jelly differed from the control jelly in terms of color, aroma, flavor, texture and overall acceptability, as evaluated by a 9-point hedonic and “just about right” taste acceptance questionnaires. The overall acceptability score for the control jelly and beetroot juice jelly were considered as neither like nor dislike, to “liking slightly,” respectively.</p> 2024-01-04T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/8978 ความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสในเชื้อ Carbapenemase-producing Enterobacterales ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ 2024-01-04T02:24:01+00:00 มานพ สุทธิประภา journalLibbuu@gmail.com วัชรินทร์ รังษีภาณุรัตน์ journalLibbuu@gmail.com พัชรี กัมมารเจษฎากุล journalLibbuu@gmail.com <p>บริบท ปัจจุบันเชื้อ Carbapenem-resistant Enterobacterales (CRE) ถือเป็นภัยคุกคามเร่งด่วนที่แพร่กระจายไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยมีกลไกการดื้อยาที่พบมากที่สุดคือการสร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมสหลากหลายชนิด วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสในเชื้อ Carbapenemase-producing Enterobacterales&nbsp; (CPE) จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมุทรปราการ วิธีการศึกษา เก็บเชื้อ Enterobacterales จากสิ่งส่งตรวจในช่วงเดือน สิงหาคม - ตุลาคม 2562 พิสูจน์เชื้อและทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติว่าเป็น CRE จำนวน 67 สายพันธุ์ จากนั้นตรวจหา CPE ด้วยวิธี modified carbapenem inactivation method, EDTA carbapenem inactivation method และตรวจหาความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสด้วยวิธี multiplex PCR ผลการศึกษา เชื้อ CRE 67 สายพันธุ์ จำแนกเป็นเชื้อ Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli และ Enterobacter cloacae ร้อยละ 85.07, 8.96 และ 5.97 ตามลำดับ พบว่าเป็น CPE ร้อยละ 89.55 เชื้อมียีนดื้อยา 3 ชนิด ได้แก่&nbsp;&nbsp;bla<sub>OXA-48-like</sub>,&nbsp;bla<sub>NDM</sub>&nbsp;และ&nbsp;bla<sub>KPC</sub>&nbsp;ร้อยละ 70.00, 56.67 และ 3.33 ตามลำดับ โดยพบเชื้อมียีน&nbsp;bla<sub>OXA-48-like</sub>&nbsp;ร่วมกับ&nbsp;bla<sub>NDM</sub>&nbsp;ร้อยละ 30.00 ในการศึกษานี้พบว่าความไวต่อยาต้านจุลชีพมีความสัมพันธ์กับชนิดของยีน เชื้อที่มียีน&nbsp;bla<sub>OXA-48-like</sub>&nbsp;ไวต่อยา imipenem, meropenem, doripenem, amikacin และ tigecycline เชื้อที่มียีน&nbsp;bla<sub>NDM</sub>&nbsp;ไวต่อยา amikacin และ tigecycline เชื้อที่มียีน&nbsp;bla<sub>KPC&nbsp;</sub>ไวต่อยา tigecycline ส่วนเชื้อที่มียีน&nbsp;bla<sub>OXA-48-like</sub>&nbsp;ร่วมกับ&nbsp;bla<sub>NDM&nbsp;</sub>ไวต่อยา gentamicin, amikacin และ tigecycline เชื้อ CPE และ non-CPE ทั้งหมดยังไวต่อยา colistin สรุป ความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสและผลการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นทางด้านระบาดวิทยาเพื่อใช้ในการควบคุมและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลสมุทรปราการ Context:&nbsp;Currently, Carbapenem-resistant&nbsp;<em>Enterobacterales</em>&nbsp;(CRE), are an urgent, worldwide threat and have spread to every country including Thailand. CRE’s drug resistant mechanism is due to the production of various carbapenemase enzymes. Objective:&nbsp;To study the diversity of carbapenemase genes in Carbapenemase-producing&nbsp;<em>Enterobacterales</em>&nbsp;(CPE), as isolated from clinical specimens taken at Samutprakan Hospital. Material and methods:&nbsp;A total of 67 CRE strains were collected from clinical specimens between August and October, 2019, and identified through machine automation. CPE underwent a modified carbapenem inactivation method and an EDTA carbapenem inactivation method. Carbapenemase gene diversity was determined by multiplex PCR. Results:&nbsp;&nbsp;Of the 67 CRE strains,&nbsp;<em>Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli</em>, and&nbsp;<em>Enterobacter cloacae</em>&nbsp;were 85.07%, 8.96%, and 5.97%, respectively. The percentage of CPE was 89.55%. Three carbapenemase genes were&nbsp;<em>bla</em><sub>OXA-48-like,</sub><em>bla</em><sub>NDM,</sub>&nbsp;and&nbsp;<em>bla</em><sub>KPC</sub>&nbsp;at 70.00%, 56.67%, and 3.33%, respectively. In addition, the combination of&nbsp;<em>bla</em><sub>OXA-48-like&nbsp;</sub>and&nbsp;<em>bla</em><sub>NDM</sub>&nbsp;was found at 30.00%. In this study, the antimicrobial susceptibility of CPE was found to be correlated with gene types. CPE carrying the&nbsp;<em>bla</em><sub>OXA-48-like&nbsp;</sub>gene were susceptible to imipenem, meropenem, doripenem, amikacin and tigecycline. CPE carrying the<em>&nbsp;bla</em><sub>NDM</sub>&nbsp;gene were susceptible to amikacin, and tigecycline. CPE carrying the<em>&nbsp;bla</em><sub>KPC</sub>&nbsp;gene were susceptible to tigecycline alone. The CPE carrying<em>&nbsp;bla</em><sub>OXA-48-like&nbsp;</sub>and&nbsp;<em>bla</em><sub>NDM</sub>&nbsp;genes were susceptible to gentamicin, amikacin, and tigecycline. All CPE and non-CPE were also susceptible to colistin. Conclusions:&nbsp;Carbapenemase gene diversity and antimicrobial susceptibility results are used as epidemiological data for infection control and monitoring the spread of drug-resistant bacteria in Samutprakan Hospital.</p> 2024-01-04T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/8979 ผลของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลาย (Celastrus paniculatus Willd.) ต่อการมีชีวิตของเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสและซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ในหนูแรทเพศผู้ 2024-01-04T02:30:08+00:00 ปุณณ์ณิษา กุลวงษ์ journalLibbuu@gmail.com ปัณฑิตา แตงพันธ์ journalLibbuu@gmail.com ศิริประภา บุญมี journalLibbuu@gmail.com ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์ journalLibbuu@gmail.com <p>บทนำ มีการรายงานว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) และยับยั้งการตาย (apoptosis) ของเซลล์เพาะเลี้ยงได้ แต่ยังไม่มีการรายงานถึงผลต่อเซลล์ประสาทในสมองหนูแรทวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายต่อการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อสมอง รวมถึงฤทธิ์ในการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทผ่านกลไก apoptosis ในหนูแรทเพศผู้สายพันธุ์ Sprague Dawleyวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในหนูแรทอายุ 4 สัปดาห์ เพศผู้ จำนวน 12 ตัว หนูแรทกลุ่มทดลอง 6 ตัว ได้รับการฉีดสารสกัดจากเมล็ดกระทงลาย ขนาด 80 มก./กก. น้ำหนักตัว เข้าทางช่องท้องติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม 6 ตัว ได้รับการฉีดด้วย Dimethylsulfoxide (DMSO) ร้อยละ 0.5 ปริมาตร 0.2 มล. ทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์เช่นกัน พักหนูแรท 5 วันก่อนนำไปศึกษาเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสด้วยวิธีย้อมสี hematoxylin และ eosin ศึกษาการแสดงออกของ anti-apoptotic protein ชนิด BCL-2 ในซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัส ด้วยวิธี immunohistochemistry และศึกษาสัดส่วนการแสดงออกของ anti-apoptotic protein (BCL-2) และ pro-apoptotic protein (BAX) ซึ่งเป็นตัวกำหนดสำคัญในการมีชีวิตรอดของเซลล์ประสาท ด้วยวิธี Western blot จากสมองทั้งลูก (whole brain) นอกจากนี้ยังทำการบันทึกปริมาณอาหารและน้ำที่กิน และน้ำหนักหนู ตลอดการทดลองผลการศึกษา หนูแรทที่ได้รับสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงน้ำหนักปริมาณน้ำและอาหารที่กินในแต่ละวัน แสดงว่า การได้รับสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย หนูแรทกลุ่มทดลองมีลักษณะการจัดเรียงตัวของเซลล์ประสาทภายในฮิปโปแคมปัสไม่แตกแต่งจากกลุ่มควบคุม เป็นไปได้ว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท และเมื่อศึกษากลไกการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทผ่านการแสดงออกของ BCL-2 ซึ่งเป็น anti-apoptotic protein และ BAX ซึ่งเป็น pro-apoptotic protein พบว่ากลุ่มทดลองมีการแสดงออกของ BCL-2 เพิ่มขึ้นทั้งในซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัส และเมื่อศึกษาสัดส่วนการแสดงออกของ BCL-2 ต่อ BAX พบว่าเพิ่มขึ้นในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ดังนั้นสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายควบคุมสัดส่วนการแสดงออกของ BCL-2 ต่อ BAX จึงอาจจะมีบทบาทสำคัญต่อการปกป้องเซลล์ประสาทสรุป การศึกษานี้บ่งชี้ว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาทและยังส่งเสริมการมีชีวิตของเซลล์ด้วยการยังยั้งการเกิด apoptosis&nbsp; Background: Celastrus paniculatus (CP) seed extract has been reported to have neuroprotective and antioxidant activities. However, the direct effect of CP seed extract on promoting neuronal survival is unknown. Objective: The present study aimed to demonstrate the effects of CP seed extract on neuronal apoptosis and histological change in the brain of male Sprague Dawley rats. Materials and Methods: This study is a prospective, randomized, controlled study in 4-week-old rats. There were 12 male rats, 6 rats in the experimental group was injected with CP seed extract at the dose of 80 mg/kg body weight intraperitoneally daily for 2 weeks. Six control groups were injected with Dimethylsulfoxide (DMSO) 0.5% 0.2 mL volume daily for 2 weeks as well. Rats were rested for 5 days. The hippocampal structure was observed by hematoxylin and eosin staining technique. The expression of cerebral and hippocampal BCL-2 protein was performed by using immunohistochemistry technique. The expression ratio of BCL-2 to BAX in whole brain protein was studied by Western blot technique. Body weight, food intake, and water intake of control and experimental rats were recorded throughout 14 days of treatment. Results: Body weight, food intake, and water intake of control and experimental rats were comparable; indicating that CP seed extract has no effect on metabolic aspect of the rats. Hippocampal structure and neurons were also comparable in both groups; suggesting that CP seed extract has nontoxicity effect. However, the cerebral and hippocampal BCL-2 expression were significantly increase in treated group when compared with those of the control group. Whole brain BCL-2/BAX expression ratio was also significantly increased in treated group when compared with the control group. Since it has been suggested that the ratio of BCL-2 to BAX is an important determinant of neuronal survival, CP-regulated BCL-2/BAX expression may play a vital role in neuronal protection beyond their antioxidant activity. Conclusion: CP seed extract had no neurotoxic effect and enhanced cell survival through inhibition of apoptosis.</p> 2024-01-04T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/8980 ประสิทธิผลและความปลอดภัยในการฉีดแอลกอฮอล์โดยใช้อัลตราซาวนด์นำทางไปยังเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีกล้ามเนื้องอข้อศอกหดเกร็ง การศึกษาแบบย้อนหลัง 2024-01-04T02:36:20+00:00 ฉัตร เอี่ยมศิริกิจ journalLibbuu@gmail.com โสภิดา ธรรมมงคลชัย journalLibbuu@gmail.com กรกมล โกฉัยพัฒน์ journalLibbuu@gmail.com <p>บทนำ ปัจจุบันมีการฉีดสารละลายแอลกอฮอล์ไปยังเส้นประสาทเพื่อลดอาการเกร็งในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอย่างแพร่หลาย แต่การศึกษาการฉีดสารละลายแอลกอฮอล์ไปยังเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีภาวะข้อศอกหดเกร็งมีจำนวนน้อย และยังไม่มีการศึกษาที่ใช้อัลตราซาวนด์นำทางเพียงอย่างเดียวในการทำหัตถการนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการฉีดสารละลายแอลกอฮอล์โดยใช้อัลตราซาวนด์นำทางไปยังเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีกล้ามเนื้องอข้อศอกหดเกร็ง วิธีการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะศอกงอเกร็ง Modified Ashworth Scale (MAS) elbow flexor ≥ 1+ และได้รับการฉีดสารละลายแอลกอฮอล์โดยใช้อัลตราซาวนด์นำทาง ที่แผนกผู้ป่วยนอก ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู วิธีการเริ่มจากใช้อัลตราซาวนด์หาตำแหน่งของเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสในบริเวณแขนส่วนบน หลังจากนั้นฉีดสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 50 จำนวน 4 มิลลิลิตร ไปยังรอบเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียส ประเมินผลโดยใช้ MAS ระดับ 0-5, Associated Reaction (AR), pain score และผลข้างเคียงอื่น ๆ ก่อนฉีด หลังฉีดทันที ที่ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือนผลการศึกษา ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง จำนวน 11 ราย อายุเฉลี่ย 58.5±13.1 ปี เพศชาย ร้อยละ 72.3 เพศหญิง ร้อยละ 27.3 ระยะเวลาหลังเป็นหลอดเลือดสมองเฉลี่ย 61±29.4 เดือน พบว่า หลังฉีดสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ทันที 1 เดือน และ 3 เดือน ระดับ MAS มีค่าลดลงจากก่อนฉีด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.7±0.6 (p &lt; .001), 1.3±0.5 (p &lt; .001) และ 0.86±0.4 (p &lt; .001) ตามลำดับ ที่ 6 เดือนแม้ว่าระดับ MAS ลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.3±0.5 (p&nbsp; =&nbsp; .358) ส่วน AR หลังฉีดทันที 1 เดือน และ 3 เดือน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 44.1±25.0 องศา (p &lt; .001), 58.5±35.1 องศา (p = .001) และ 31.3±29.9 องศา (p = .021) ตามลำดับ แต่ที่ 6 เดือนลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 8.3±14.7 องศา (p = .224) คะแนนความปวดหลังฉีดทันทีอยู่ที่ 4.8±3.0 ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น การรับรู้ความรู้สึกผิดปกติ หรือ ก้อนเลือดบริเวณที่ฉีดสรุป การฉีดสารละลายแอลกอฮอล์โดยใช้อัลตราซาวนด์นำทางไปยังเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสสามารถลดการเกร็งตัวของข้อศอกในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีภาวะศอกงอเกร็งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเป็นระยะเวลา 3 เดือนและไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง&nbsp; Introduction: Alcohol neurolysis are widely used to reduce spasticity in stroke patients. However, there are few studies of alcohol neurolysis into the musculocutaneous nerve in stroke patients with elbow flexor spasticity. There have also been no studies using ultrasound guidance alone to inject alcohol solutions into the musculocutaneous nerve in stroke patients with spastic elbow. Objectives: To investigate the effect of ultrasound-guided alcohol neurolysis to musculocutaneous in spastic hemiplegic stroke patients with elbow flexor spasticity. Methods: Researcher collected data from EMR of a university Hospital from 1st January, 2022 to 30th November, 2022 in stroke patient with elbow flexor spasticity (MAS ≥ 1+) and received ultrasound-guided alcohol neurolysis to musculocutaneous nerve at OPD rehabilitation medicine, a university hospital. Alcohol neurolysis method: using ultrasound to find the location of the musculocutaneous nerve in the upper arm area. After that, 4 ml of 50% ethyl alcohol solution was injected around the musculocutaneous nerve under ultrasound-guided injection. Measure the results before injection, immediately, 1 month, 3 months and 6 months. Results: Data was obtained from 11 stroke patients who passed the entrance and exclusion criteria. Mean aged was 58.5±13.1 years old, 72.3% were male and 27.3% were female. The average duration after stroke was 61±29.4 months.&nbsp; Immediately, 1 month and 3 months after injection, MAS was significantly decreased from before injection by 1.7±0.6 (p &lt; .001), 1.3±0.5 (p &lt; .001) and 0.86±0.4 (p &lt; .001). respectively, even though at 6 months MAS was decreased 0.3±0.5 (p = .358) but non-statistically significant. AR immediately after injection, 1 month and 3 months a statistically significant decrease of 44.1±25.0 degrees (p &lt; .001), 58.5±35.1 degrees (p = .001) and 31.3±29.9 degrees (p = .021), respectively, but at 6 months there was a non-statistically significant decrease of 8.3±14.7 degrees (p = .224). Pain score immediately after injection was 4.8±3.0 and no side effects were found such as dysesthesia or hematoma at the injection site Conclusion: Ultrasound-guided alcohol neurolysis to the musculocutaneous nerve significantly reduces elbow spasticity in stroke patients with spastic elbow statistically significant for 3 months and no serious side effects were found.</p> 2024-01-04T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/8981 อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในผู้ป่วยเด็กที่รับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา 2024-01-04T02:44:09+00:00 เพ็ญวดี ภาคพิบูลย์ journalLibbuu@gmail.com ธนีพร อินทรา journalLibbuu@gmail.com <p>บทนำ การจมน้ำเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในเด็ก การหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตจึงมีความสำคัญ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำและปัจจัยที่สำคัญต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยเด็กจมน้ำอายุน้อยกว่า 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2565 โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับการจมน้ำ ข้อมูลการรักษา รวมทั้งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติผลการศึกษา ผู้ป่วยเด็กทั้งหมด 49 ราย อายุเฉลี่ย คือ 5.22 ± 3.10 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 57.14) จมน้ำทะเล (ร้อยละ 85.71) ช่วงเวลาที่จมน้ำมากที่สุดคือ 16.00 - 20.00น. (ร้อยละ 40.82) เดือนที่พบผู้ป่วยจมน้ำมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ตุลาคม ธันวาคม และมกราคม (ร้อยละ 24.49, 22.45 และ 10.20 ตามลำดับ) ระยะเวลามัธยฐานที่จมน้ำ 1 นาที [พิสัย 0.5–2 นาที] และระยะเวลาที่หายไปในกรณีที่ไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์ เท่ากับ 5 นาที [พิสัย 2–30 นาที] ต้องการการช่วยฟื้นคืนชีพ ร้อยละ 22.45 ใส่ท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 26.53 ในกลุ่มจมน้ำจืดตรวจพบระดับโซเดียมในเลือดอยู่ที่ 134.75 ± 4.03 mEq/L และกลุ่มจมน้ำเค็มอยู่ที่ 144.18 ± 3.01 mEq/L มีผู้เสียชีวิตหลังการจมน้ำ 4 ราย (ร้อยละ 8.16) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต คือ ระยะเวลาที่หายไปในกรณีที่ไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์มากกว่าเท่ากับ 10 นาที (p = 0.008) ระยะเวลาที่ช่วยฟื้นคืนชีพมากกว่า 25 นาที (p &lt; 0.001) รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสงตอนแรกรับ (p &lt; 0.001) ประเมินระดับความรู้สึกตัวแรกรับน้อยกว่า 5 คะแนน (p &lt; 0.001) และการจมน้ำจืด (p = 0.033) สรุป อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็ก คือ ร้อยละ 8.16 และปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ระยะเวลาที่หายไปกรณีที่ไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์ ระยะเวลาที่ช่วยฟื้นคืนชีพ การตอบสนองของรูม่านตาต่อแสง การประเมินระดับความรู้สึกตัว และชนิดของน้ำที่จม&nbsp; Context: One of the main causes of death among children is drowning. Studying the mortality-related factors in pediatric drowning incidents is crucial. Objectives: To determine the significant factors of drowning-related cases and mortalities in children receiving treatment at Burapha University Hospital. Methods: A retrospective descriptive study was conducted on pediatric patients (under the age of 15) receiving care for drowning or drowning-related events at Burapha University Hospital between January 1, 2013, and December 31, 2022. Statistics were analyzed using baseline data, drowning-related information, treatments and outcomes. Results: A total of 49 pediatric patients with a mean age of 5.22 ± 3.10 years were included in this study. The majority of them (85.71%) drowned in seawater and were male (57.14%). The peak drowning period was from 4 to 8 pm (40.82%). October, December and January saw the highest rates of drowning (24.49%, 22.45% and 10.20%, respectively). The median time of submersion was 1 minute [0.5–2], and the median length of disappearance (in cases without witnesses) was 5 minutes [2–30]. Cardiopulmonary resuscitation and tracheal intubation were needed for 26.53% and 22.45% of the patients, respectively. For cases in freshwater, the serum sodium level was 134.75 ± 4.03 mEq/L, while in the seawater group it was 144.18 ± 3.01 mEq/L. Of the 49 patients, four drowning deaths occurred (8.16%). Statistically significant factors of the four deaths included a greater-than-10-minute, unwitnessed disappearance time (p=0.008), a cardiopulmonary resuscitation time longer than 25 minutes (p &lt; 0.001), fixed pupils (p&lt;0.001), a Glasgow Coma scale less than 5 (p &lt; 0.001) as well as the salinity of the body of water (freshwater (p = 0.033) versus seawater).Conclusions: The disappearance time, length of cardiopulmonary resuscitation, fixed pupils, Glasgow Coma scale, and salinity of the body of water all had an impact on the mortality rate of the drowning victims (8.16%).</p> 2024-01-04T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/8982 ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจล่าช้าในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา 2024-01-04T02:48:57+00:00 เกศกนิษฐ์ ธรรมคำภีร์ journalLibbuu@gmail.com พรทิพย์ พลาดิศัยเลิศ journalLibbuu@gmail.com เอกพล กาละดี journalLibbuu@gmail.com สุกฤษฎิ์ คูวัฒนเธียรชัย journalLibbuu@gmail.com <p>บริบท การเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น การดูแลรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญ ตั้งแต่การวินิจฉัย ตลอดจนการเลือกแนวทางการรักษาที่รวดเร็วและเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาทีในห้องฉุกเฉินของผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563&nbsp; ถึง วันที่ 30 กันยายน 2565 โดยศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที ได้แก่ เพศ อายุ โรคประจำตัว ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนมาถึงห้องฉุกเฉิน อาการนำของผู้ป่วย ระดับความรุนแรงของการคัดกรองผู้ป่วยแรกรับ ช่วงเวลาที่มาห้องฉุกเฉินและการเสียชีวิตในโรงพยาบาล จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละและช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และสถิติถดถอยพหุลอจีสติก นำเสนอด้วยค่า Adjusted Odds Ratio และช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารักษาในช่วงเวลาดังกล่าว มีจำนวนทั้งสิ้น 232 ราย ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที จำนวน 86 ราย (ร้อยละ 37.1, 95%CI: 30.8-43.6) โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 65.48 ± 14.43 ปี เป็นเพศชาย 46 ราย(ร้อยละ 53.5) โรคประจำตัวที่พบบ่อยที่สุดคือ เบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 29 ราย (ร้อยละ 33.7) สำหรับกลุ่มที่ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเร็วกว่า 10 นาที มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 65.05 ± 14.99 ปี เป็นเพศชาย 91 ราย (ร้อยละ 62.3) โรคประจำตัวที่พบบ่อยที่สุดคือ เบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 42 ราย (ร้อยละ 28.8)&nbsp; ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคราวละตัวแปร พบว่า ผู้ป่วยที่อาการนำมาด้วยอาการเหนื่อยหอบมีความสัมพันธ์กับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) และเมื่อวิเคราะห์คราวละหลายตัวแปร พบว่า อาการเหนื่อยหอบมีความสัมพันธ์กับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที (p &lt; 0.009) นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้เสียชีวิต 11 ราย (ร้อยละ 3.45, 95% CI: 1.50-6.68) โดยผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที สัมพันธ์กับการเสียชีวิตในโรงพยาบาล (OR 4.89, 95% CI 1.26-18.96, p = 0.021) สรุป ผู้ป่วยที่มีอาการนำมาด้วยอาการเหนื่อยหอบเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้รับการตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที&nbsp; Background: The death rate among Thai patients with acute coronary syndrome is increasing. Therefore, the appropriate diagnosis and early treatment for these patients are imperative. Objective: To determine factors contributing to the delayed Door-to-Electrocardiogram time (more than ten minutes) for patients with acute coronary syndrome, admitted to the Emergency Department at Burapha University Hospital, Chonburi, Thailand. Methods: A retrospective cohort study was conducted on patients diagnosed with acute coronary syndrome at the Emergency Department of Burapha University Hospital between October 2020 and September 2022. We studied the factors associated with a delayed Door-to-ECG time of more than 10 minutes. The collected data included sex, age, underlying disease and its onset, symptoms presented, emergency severity index (ESI), time to hospital as well as the unfortunate occurrence of death. The data was analyzed and presented as percentages with 95% confidence interval formats. Multivariable logistic regression analysis was used to ascertain statistically significant factors leading to a delayed Door-to- Electrocardiogram of more than 10 minutes. Results were presented using adjusted odd ratios and a 95% confidence interval. Result: A total of 232 patients with acute coronary syndrome were enrolled in this study. Eighty-six of the patients (37.1%, 95%CI: 30.8-43.6) received ECG examinations 10 minutes after admission to the Emergency Department. The average age of the 86 patients was 65.48 ± 14.43 years, with 46 male patients (53.5%). Likewise, 29 of those patients had diabetes mellitus and hypertension (33.7%). For the patients receiving an ECG faster than 10 minutes after admission, the mean age was 65.05 ±14.99 years, with 91 male patients (62.3%) and 42 of the total having diabetes mellitus and hypertension (28.8%). Furthermore, a univariate analysis found that the symptom of dyspnea was significantly associated with a delayed Door-to Electrocardiogram time of more than 10 minutes (p &lt; 0.001). From the multivariable analysis, the symptom of dyspnea was also statistically significant (p &lt; 0.009). In addition, 11 of all the patients admitted, unfortunately died during that period (3.45%, 95% CI: 1.50-6.68) – of which those having received their ECG more than 10 minutes after admission was OR 4.89, 95%, CI: 1.26-18.96, p = 0.021. Conclusion: A major factor associated with delayed Door-to- Electrocardiogram time in patients with acute coronary syndrome is the symptom of dyspnea.</p> 2024-01-04T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/8983 กรณีศึกษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูงรุนแรงในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเคลียร์เซลล์ 2024-01-04T02:54:08+00:00 ระวีวรรณ วิฑูรย์ journalLibbuu@gmail.com อวฤทธิ์ โภคาธิกรณ์ journalLibbuu@gmail.com อโนชา วนิชชานนท์ journalLibbuu@gmail.com <p>บทนำ ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงเป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรศาสตร์ที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง การค้นหาสาเหตุและให้การรักษาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นในเวชปฏิบัติวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานกรณีศึกษาการเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูงรุนแรงในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเคลียร์เซลล์ ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย ผลการรักษาและการรักษาผู้ป่วยวิธีการศึกษาศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ประวัติ การดำเนินโรค อาการ อาการแสดงของผู้ป่วยจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ภาพถ่ายอาการแสดงของผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการติดตามการดำเนินโรคจากเวชระเบียนผู้ป่วยผลการศึกษา กรณีศึกษาผู้ป่วยแคลเซียมในเลือดสูงรุนแรงหนึ่งราย พบสาเหตุจากสารเพปไทด์คล้ายฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนักในผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ รวมถึงได้อภิปรายแนวทางการวินิจฉัยแยกโรค และการรักษาภาวะแคลเซียมสูงรุนแรงในผู้ป่วยรายนี้สรุป สารเพปไทด์คล้ายฮอร์โมนพาราไทรอยด์ใช้บ่งชี้ความรุนแรงของโรคมะเร็งรวมถึงการกลับเป็นซ้ำของตัวโรค การตรวจพบสารนี้ร่วมกับภาวะแคลเซียมในเลือดสูงจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการรักษาโรค&nbsp; Introduction: Hypercalcemia is the most common medical complication in cancer patients. Finding the cause and providing the appropriate treatment is essential in medical practice. Objective: We’re reporting on a case study of severe hypercalcemia in a patient with clear-cell ovarian cancer, from the clinical presentation, diagnosis, investigations, and treatment. Study Methods: A retrospective study that presents the patient’s history, physical examinations, laboratory investigations, imaging, clinical course, and treatment. The data used has been derived from the patient’s hospital medical records. Results: A 62-year-old female patient was presented to the outpatient clinic with fatigue and constipation. The patient had a history of clear cell adenocarcinoma. An initial diagnosis of severe hypercalcemia was made, and an elevated level of parathyroid hormone related peptide (PTH-rP) was later to be found. Parathyroid hormone related peptide is an uncommon association with ovarian cancer. Differential diagnoses and treatment of this patient is discussed in this case report. Conclusion: Parathyroid hormone related peptide (PTH-rP) was used to predict the severity of malignancy and recurrence in this patient. The detection of hypercalcemia with a high level of PTH-rP was necessary for a proper management plan.</p> 2024-01-04T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/8984 การฟื้นฟูหัวใจในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG) 2024-01-04T02:58:23+00:00 อริยจิต มิตรกูล journalLibbuu@gmail.com ศรัณย์ จิระมงคล journalLibbuu@gmail.com พัชร โกฉัยพัฒน์ journalLibbuu@gmail.com <p>บทนำ โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลกการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft: CABG) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ได้ผลดี การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจช่วยลดปัจจัยเสี่ยงและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft: CABG) วิธีการศึกษา ทบทวนวรรณกรรมจากบทความวารสารทางการแพทย์หนังสือต่าง ๆ ของการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft: CABG) ตั้งแต่ระยะของการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ องค์ประกอบ วิธี และผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ผลการศึกษา พบว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจส่งผลให้ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ลดระยะ เวลาในการรักษาตัวในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) และลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ลดระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ลดความเครียดและความวิตกกังวลหลังผ่าตัด ลดอัตราการเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วย รวมถึงช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยพบว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจควรทำเร็วที่สุด โดยสามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนการเข้ารับการผ่าตัด CABG และควรทำต่อเนื่อง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำของโรค ทั้งนี้การออกกำลังกายในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสามารถทำได้หลายรูปแบบซึ่งควรได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคลสรุป การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจส่งผลดีต่อผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด CABG โดยควรเริ่มให้เร็วที่สุด มีการทำอย่างต่อเนื่องและออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล&nbsp; Background: Coronary artery disease is a leading cause of global mortality. Coronary Artery Bypass Grafting (CABG) surgery is one of the effective revascularization strategies. Cardiac rehabilitation is one of the major roles in determining the success of CABG and improving the quality of life for patients. Objectives: This study aims to compile cardiac rehabilitation knowledge and evidence base in patients following CABG surgery. Method: The study employs a systematic literature review, encompassing medical journal articles, medical textbooks, and other relevant sources of cardiac rehabilitation in patients following CABG surgery. The review spans the post-surgery rehabilitation phase, covering components, methods, and cardiac rehabilitation outcomes. Results: The study reveals that cardiac rehabilitation has a positive impact on patients, leading to improved recovery, reduced ICU stay, shorter hospitalization periods, decreased reliance on ventilatory support, and lower risk of post-surgical complications. It aids in enhancing autonomic nervous system function and blood circulation. Furthermore, it alleviates post-surgical anxiety and stress, lowering the likelihood of hospital readmission. Ultimately, cardiac rehabilitation improves the overall quality of life for patients. The study suggests that cardiac rehabilitation should be initiated promptly, even before CABG surgery, and continued consistently to reduce the chances of disease recurrence. Exercise regimens for cardiac rehabilitation can take various forms, tailored to each patient’s individual needs. Conclusion: Cardiac rehabilitation has positive outcomes for patients undergoing CABG surgery. It should be initiated promptly, maintained consistently, and tailored to each patient for optimal results.</p> 2024-01-04T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024