บูรพาเวชสาร
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed
Burapha Journal of Medicineคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาen-USบูรพาเวชสาร2350-9996สมรรถภาพทางกาย คุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดที่มีแรงบีบมือต่ำและแรงบีบมือปกติ: การศึกษาย้อนหลัง
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/10057
<p>บทนำ ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมักสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางกายต่ำ สูญเสียกำลังกล้ามเนื้อและเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ (sarcopenia) การวัดแรงบีบมือ เป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดสมรรถภาพทางกายที่สำคัญ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิต ของกลุ่มที่มีแรงบีบมือต่ำกับแรงบีบมือปกติในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกเลือด วิธีการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิคและแบบบันทึกข้อมูลของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แบ่งกลุ่มที่มีแรงบีบมือปกติ และแรงบีบมือต่ำ เปรียบเทียบหาสมรรถภาพทางกาย คุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มที่มีแรงบีบมือปกติและแรงบีบมือต่ำ ผลการศึกษา กลุ่มแรงบีบมือปกติและกลุ่มแรงบีบมือต่ำสมรรถภาพทางกายประเมินโดย 6 minute walk test มีค่าเฉลี่ยที่ 394.2±34.4 เมตรและ 178.7±102.1 เมตร ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ค่า time up and go มีค่าเฉลี่ยที่ 8.7±3.8 วินาที และ 21.5±10.5 วินาที ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.01) ค่า 5-times chair stand มีค่าเฉลี่ยที่ 10±2.5 วินาทีและ 23.4±8.1 วินาที แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาวะทางกาย (WHO QoL brief thai - physical) มีค่าเฉลี่ยที่ 25.8±3.2 และ 20.9±1.8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) สรุป ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกเลือดกลุ่มที่มีแรงบีบมือปกติมีสมรรถภาพทางกาย (6MWT, TUG, 5-times chair stand) และมีคุณภาพชีวิตในด้านกิจกรรมทางกาย ดีกว่ากลุ่มที่มีแรงบีบมือต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Introduction: End-stage renal disease patients receiving hemodialysis are often associated with poor physical performance, loss of muscle strength and increased risk of sarcopenia. Grip strength is one of the most important assessments for indicating conditions such as wasting muscle mass or frailty, and it is easy and fast to do. Objectives: To compare two groups of end-stage renal disease patients undergoing hemodialysis: a group of patients with low grip strength versus patients with normal grip strength. Methods: Case records (from August 2, 2021 to August 2, 2022) of end-stage renal disease patients receiving hemodialysis were collected from Burapha University Hospital. Eligible patients were categorized into two groups to compare physical fitness and quality of life – patients with normal hand grip strength versus patients with low grip strength. Result: Physical fitness was assessed with 6-minute walk tests (6MWT), timed up and go tests (TUG) and 5-times Sit to Stand tests. Between the two groups, the 6-minute walk test results had mean values of 394.2±34.4 meters and 178.7±102.1 meters, respectively, which were significantly different statistically (p < 0.001). The mean values of timed up and go (TUG) tests were 8.7±3.8 seconds and 21.5±10.5 seconds, respectively, which were significantly different statistically (p = 0.01). The mean values of 5-times Sit to Stand tests were 10±2.5 seconds and 23.4±8.1 seconds, respectively, which were significantly different statistically (p = 0.001). As well, the WHO-QoL-brief-Thai physical domain scored mean values of 25.8±3.2 and 20.9±1.8, respectively, which were significantly different statistically (P=0.001). Conclusion: The end-stage renal disease patients receiving hemodialysis with normal hand grip strength demonstrated a higher quality of life in terms of physical activity, with statistical significance as measured by the 6-minute walk test (6MWT), timed up and go test (TUG) and the 5-times Sit to Stand test.</p>ฉัตร เอี่ยมศิริกิจรวีวรรณ วิฑูรย์สมชาย ยงศิริอลิสรา วงศ์สุทธิเลิศจารุวรรณ กิตติวราวุฒิพิธากร ธำรงเลาหะพันธุ์โสภิดา ธรรมมงคลชัย
Copyright (c) 2024
2024-07-032024-07-03111110การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บกับจุดเลี่ยเชวียเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/10058
<p>บริบท ในสังคมปัจจุบันมีภาวะความกดดันสูงทำให้ผู้คนต้องทำงานหนักมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานออฟฟิศซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดอาการปวดต้นคอได้ง่าย การฝังเข็มเป็นวิธีการรักษาอาการปวดเมื่อยที่ประหยัด มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับวิธีหนึ่ง จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บกับจุดเลี่ยเชวียเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ วิธีการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิธีกึ่งทดลองรูปแบบ Pretest -posttest control group design โดยเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ในอาสาสมัครที่มีอาการปวดต้นคออันเนื่องมาจากการทำงาน ช่วงอายุ 15 - 65 ปี จากสถานพยาบาลการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2กลุ่ม คือกลุ่มที่ฝังเข็มโดยใช้จุดกดเจ็บและกลุ่มที่ฝังเข็มโดยใช้จุดเลี่ยเชวีย กลุ่มละ 20 คน โดย วัดค่าความเจ็บปวดก่อนและหลังการรักษาจาก 0-10ประมวลผลทางสถิติโดยใช้ independent t-test และ pair t-test ผลการศึกษา ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บ ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด (mean±S.D.) ก่อนการรักษาเท่ากับ 6.75±1.33 ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดหลัง (mean±S.D.) การรักษาเท่ากับ 1.9±0.79 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด ก่อนและหลังการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ p<0.05 มีค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และผลการทดสอบในผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด (mean±S.D.) ก่อนการรักษาเท่ากับ 6.55±1.36 ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด (mean±S.D) หลังการรักษาเท่ากับ 3.75±1.12 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด ก่อนและหลังการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ p<0.05 และมีค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95 และเมื่อเปรียบเทียบผลต่างของระดับความเจ็บปวดก่อน และหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บ และ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย พบว่า ค่าเฉลี่ยผลต่างของระดับความเจ็บปวด (mean±S.D.) ก่อนและหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บเท่ากับ 4.85±0.99 ค่าเฉลี่ยผลต่างของระดับความเจ็บปวด (mean±S.D) ก่อนและหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย เท่ากับ 2.8±0.89 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด ก่อนและหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บ ลดลงมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 สรุป การฝังเข็มที่จุดกดเจ็บและจุดเลี่ยเชวียสามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคออันเนื่องมาจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งสองจุด โดยการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บสามารถบรรเทาอาการปวดได้มากกว่าการฝังเข็มที่จุดเลี่ยเชวียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอจากการทำงานการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บสามารถบรรเทาอาการปวดได้ดีกว่าการฝังเข็มที่จุดเลี่ยเชวีย Background: Acupuncture is a widely recognized and efficacious pain management technique that is well-suited to address the prevalent issue of occupational neck pain in working adults, particularly those working in high-pressure office settings with prolonged computer use. Acupuncture is also a cost-effective treatment and can alleviate the associated financial burden on individuals with neck muscle pain. Objective: To compare the effectiveness between two groups of acupuncture points used to relieve neck muscle pain: tender points versus Lie-Que points. Method: A prospective, randomized controlled trial was conducted to compare the efficacy of acupuncture at tender points and Lie-Que points, for the treatment of neck pain in working adults aged 15-65 years. A total of 40 participants were recruited from the Chinese Medicine Clinic at Chandrakasem Rajabhat University. Participants were randomly split into two groups of 20 participants each. One group underwent tender points acupuncture treatment, while a second group received Lie-Que points acupuncture. Pain scores were measured before and after treatment using the independent t-test and paired t-test. Results: A pain score questionnaire was used to assess the results. In the group of patients who received acupuncture at tender points, the average level of pain before treatment was (mean±S.D. = 6.75±1.33), and the average level of pain after treatment was (mean±S.D. = 1.9±0.79). The hypothesis testing results revealed a significant difference in the average pain levels before and after treatment (p<0.05), with a 95% confidence interval ranging from 4.39 to 5.31. In contrast, patients who received acupuncture at Lie-Que points had an average level of pain before treatment of (mean±S.D. = 6.55±1.36), and an average level of pain after treatment of (mean±S.D. = 3.75±1.12). The hypothesis testing results showed a significant difference in the average pain levels before and after treatment (p<0.05), with a 95% confidence interval ranging from 2.38 to 3.22. When comparing the differences in pain levels before and after treatment between the two group of patients, it was found that the average difference in pain levels before and after treatment in the tender points group was (mean±S.D. = 4.85±0.99), while the average difference in pain levels before and after treatment in the Lie-Que point group was (mean±S.D. = 2.8±0.89). The hypothesis testing results indicated a statistically significant reduction in pain levels before and after treatment in the group of patients who received acupuncture at tender points, compared to the group who received acupuncture at Lie-Que points (p<0.05). Conclusions: Acupuncture at tender points and Lie-Que points were both effective in relieving work-related neck muscle pain. However, acupuncture at tender points was significantly more effective than acupuncture at Lie-Que points in reducing pain. Therefore, it can be concluded that acupuncture at tender points is a more effective treatment for occupational neck muscle pain than acupuncture at Lie-Que points.</p>อัครณัฏฐ์ อดุลย์รวิกร เหว่ยเสียง หยวน
Copyright (c) 2024
2024-07-032024-07-031111122การผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกะโหลกศีรษะเทียมวัสดุพอลิเมทิลเมทาคริเลต (polymethylmethacrylate) แบบพิมพ์สามมิติ: ผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อน ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/10059
<p>บริบท กะโหลกศีรษะเทียมวัสดุพอลิเมทิลเมทาคริเลตแบบพิมพ์สามมิติมีผลการรักษา ภาวะแทรกซ้อน และมีความปลอดภัยในระยะยาวหรือไม่อย่างไร วัตถุประสงค์ ศึกษาผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกะโหลกศีรษะเทียม วัสดุพอลิเมทิลเมทาคริเลตแบบ พิมพ์สามมิติที่มารักษา ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา วิธีการศึกษา การศึกษาแบบตัดขวางย้อนหลังระยะเวลา 7 ปี โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยก่อน และหลังผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ ความผิดปกติของระบบประสาท ระดับ Glasgow Outcome Scale Score (GOS) ภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ตัวแปรที่สัมพันธ์กับผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อนที่พบ ผลการศึกษา ผู้ป่วย 15 ราย เป็นเพศหญิง 9 ราย เพศชาย 6 ราย อายุระหว่าง 19-71 ปี (เฉลี่ย 30 ปี) ส่วนใหญ่ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเนื่องจากการบาดเจ็บสมองแบบปิด ระยะเวลาติดตามอาการหลังผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะอยู่ระหว่าง 32-2,290 วัน (เฉลี่ย 3 ปี 18 วัน) ระดับ GOS ก่อนการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะอยู่ที่ระดับ 5 จำนวน 8 ราย ระดับ 4 จำนวน 6 ราย หลังการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ GOS อยู่ที่ระดับ 5 ทั้ง14 ราย และอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่ดีขึ้นมีจำนวน 1 รายที่ GOS อยู่ที่ระดับ 3 ร่วมกับมีภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง หลังการผ่าตัดรักษาพบว่า GOS อยู่ในระดับ 3 เท่าเดิม odds ratio = 87 (95% CI 1.22-6192.93), p = 0.04 กะโหลกศีรษะเทียมหลุดเลื่อน 2 ราย ทั้งสองรายผ่าตัดในช่วงมากกว่า 6 เดือน มีขนาดกว้างที่มากกว่า10 ซม. และยาวมากกว่า 13 ซม. และใช้วัสดุยึดกะโหลกศีรษะเทียมแตกต่างกัน แต่ไม่พบว่าสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ผลการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกะโหลกศีรษะเทียมวัสดุพอลิเมทิลเมทาคริเลตแบบพิมพ์สามมิติอยู่ในระดับดี และมีความปลอดภัยในระยะยาว ระดับ GOS ที่ไม่ดี และภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองมีผลต่อการรักษาและขนาดกะโหลกศีรษะเทียมขนาดใหญ่มีผลทำให้เกิดการหลุดเลื่อนของกะโหลกศีรษะเทียม Background: What are the outcomes, complications and long-term safety concerns of cranioplasty using three-dimensional printed prostheses of polymethylmethacrylate. Objectives: To study the outcomes and complications in patients who underwent a cranioplasty with a three-dimensional printed polymethylmethacrylate prosthesis, at Burapha University Hospital. Materials and Methods: This research was a retrospective, cross-sectional study done over a 7 year period. Patient data was collected before and after their cranioplasty, and included any neurological disorders, their Glasgow Outcome Scale Score (GOS) as well as factors associated with the patient’s outcome and possible complications. Results: Fifteen patients (9 females) were included in this study. The patients were between 19-71 years old (with a mean age of 30 years). Follow up with the patients was at 1,113 days (3 years 18 days) (range 32-2,290 days). The most common cause of craniectomy was closed brain injury. Generally the patients had a favorable GOS before the cranioplasty, and an improved neurological deficit after cranioplasty. However, one patient scored a GOS 3, and also presented symptoms of hydrocephalus, odd ratio = 87 (95% CI 1.22-6192.93), p = 0.04. Implant malposition was found in 2 patients. The graft widths were 10 and 13 cms in length. However, the outcomes of those 2 patients, as compared to the remaining patients, were not statistically significant. Conclusion: Cranioplasty with three-dimensional printed polymethylmethacrylate prostheses may improve neurological deficits, have favorable GOS scores and prove to be safe in the long-term. However, an unfavorable GOS or hydrocephalus before the cranioplasty will increase the risk of a poor outcome. Additionally, the larger the size of the implant increases the risk of implant malposition.</p>ภาคภูมิ บำรุงราชภักดีปองทิพย์ อุ่นประเสริฐ
Copyright (c) 2024
2024-07-032024-07-031112339ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน บาดแผลสดจากอุบัติเหตุในแผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/10060
<p>บริบท การใช้ยาต้านเชื้อโรคอย่างไม่เหมาะสมเป็นปัญหาระดับโลกที่ทำให้เกิดการดื้อยาต้านจุลชีพ เกิดผลข้างเคียงจากยา และเพิ่มค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ท้องเสียเฉียบพลัน และบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ บาดแผลขอบเรียบมักได้รับการสั่งยาต้านจุลชีพอย่างไม่เหมาะสมซึ่งมีส่วนสำคัญในการเกิดปัญหานี้ โรงพยาบาลบางปะกงได้รับทราบเรื่องนี้และได้ทำการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการใช้ยาต้านจุลชีพ วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของแนวทางการใช้ยาต้านจุลชีพและอัตราการสั่งใช้ยาสำหรับผู้ป่วยที่มีเงื่อนไขดังกล่าวในแผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยสืบค้นข้อมูลย้อนหลังจากโปรแกรม HosXP ใน 3 กลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ท้องเสียเฉียบพลัน และบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ บาดแผลขอบเรียบตามสถานที่และช่วงเวลาที่ระบุ ข้อมูลทางประชากรถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา อัตราการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพก่อนและหลังการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการวิเคราะห์โดยใช้การทดสอบ z-test สำหรับสถิติความแตกต่าง ผลการศึกษา จากผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน พ.ศ.2561 จำนวน 4,594 คน พ.ศ. 2562 จำนวน 2,481 คน ผู้ป่วยท้องเสียเฉียบพลัน พ.ศ. 2561 จำนวน 391 คน พ.ศ. 2562 จำนวน 333 คน และ ผู้ป่วยบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ พ.ศ. 2561 จำนวน 4,307 คน พ.ศ. 2562 จำนวน 3,463 คน พบว่าการใช้ยาต้านจุลชีพในการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 7.3% (31.0% เป็น 23.80%, p < 0.01, 95% CI = 5.10, 9.50%) และผู้ป่วยท้องเสียเฉียบพลัน 10.8% (30.9% เป็น 20.1%, p < 0.01, 95% CI = 4.39, 17.21%) อย่างไรก็ตาม การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับและ บาดแผลสดจากอุบัติเหตุ บาดแผลขอบเรียบเพิ่มขึ้น (1.89%, p = 0.07, 95% CI = -0.18, 3.98%) สรุป การปฏิบัติตามแนวทางสำหรับการใช้ยาต้านจุลชีพทำให้การสั่งใช้ยาต้านจุลชีพลดลงแต่ยังมีการเพิ่มขึ้นสำหรับและบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ บาดแผลขอบเรียบซึ่งส่วนใหญ่เป็นแผลที่เท้าอาจชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อจึงทำให้ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ข้อสรุปเหล่านี้ยำ้ความสำคัญของการปฏิบัติตามแนวทางเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล Introduction: The misuse of antibiotics is a global concern, leading to antimicrobial resistance, adverse drug effects, and an increase in associated healthcare costs. Common ailments like acute upper respiratory tract infections, acute diarrhea or simple wounds often receive inappropriate antibiotic prescriptions, and contribute to this escalating worldwide problem. Bangpakong Hospital recognized this issue and has implemented Clinical Practice Guidelines for Antibiotic Usage, aligning with recommendations from the Ministry of Public Health. Objective: This study was to evaluate the impact of these guidelines on antibiotic usage and prescription rates for patients with the aforementioned conditions, admitted to the hospital’s outpatient department and emergency room from October 1st, 2018 to September 30th, 2020.Method: A retrospective observational study utilized data from the records at Bangpakong Hospital, focusing on antibiotic prescriptions for acute upper respiratory tract infections, acute diarrhea and simple wounds during the specified period. Demographic and prescription data were analyzed using descriptive statistics and Z-tests for proportional differences. Results: In 2018, 4,594 patients received antibiotics for upper respiratory tract infections. However, in 2019, with the hospital’s guidelines in place, the number decreased to 2,481 people. Similarly, in 2018, 391 patients were prescribed antibiotics for acute diarrhea; in 2019 the number of patients was 333. In 2018, 4,307 patients were given prescriptions for simple wounds from accidents. In 2019, the number dropped to 3,463 people. The results showed a 7.3% decrease in antibiotic usage for acute upper respiratory tract infections (31.0% to 23.80%, p < 0.01, 95% CI = 5.10-9.50%), and a 10.8% decrease in prescriptions for acute diarrhea (30.9% to 20.1%, p < 0.01, 95% CI = 4.39-17.21%). However, antibiotic use for simple wounds from accidents increased non-significantly (1.89%, p = 0.07, 95% CI = -0.18-3.98%). Conclusion: The implementation of antibiotic usage guidelines led to reduced antibiotic prescriptions for acute upper respiratory tract infections and acute diarrhea. Conversely, there was a slight increase in antibiotic prescriptions for simple wounds, possibly due to an increase in patients with injuries prone to infection. These findings underscore the importance of adhering to guidelines that promote rational drug use among medical personnel.</p>มยุรี พิทักษ์ศิลป์วัลลภ ใจดีนิชาภา เจริญรัตน์
Copyright (c) 2024
2024-07-032024-07-031114053ผลของการใช้โปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะต่อความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชน
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/10061
<p>บริบท การวิ่งระยะสั้นถือเป็นสิ่งสำคัญของนักกรีฑา เนื่องจากเป็นช่วงที่นักกรีฑาต้องใช้ความจดจ่อใส่ใจอย่างสูงและรวบรวมสมาธิ เพื่อให้กลไกของร่างกายตอบสนองต่อสัญญาณในการออกตัวจนถึงการวิ่งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกิดจากการรวมกันของทักษะ และแบบแผนที่วางไว้ ส่งผลไปยังศักยภาพของนักกรีฑา การวิ่งระยะสั้นในงานวิจัยนี้ หมายถึง ขั้นตอนกลไกการตอบสนองของร่างกายเมื่อได้ยินสัญญาณในการออกตัวที่มีการหน่วงของเวลาในระดับมิลลิวินาทีในร่างกาย แล้วจึงมีการส่งแรงจากร่างกายไปสู่แท่นออกตัวและทำการวิ่งถึงระยะ 10 เมตร วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชน กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชนหลังทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะและกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะ วิธีการศึกษา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกรีฑาเยาวชนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี อายุระหว่าง 12-18 ปี จำนวน 32 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะเป็นโปรแกรมฝึกในกลุ่มทดลอง และเครื่อง Kinematic Measurement System (KMS) ใช้สำหรับเก็บข้อมูลความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มทดลองได้รับการฝึกวิ่งตามปกติและเสริมด้วยโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกวิ่งตามปกติและไม่ได้เสริมด้วยโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะ วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยอายุระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ t-test independent ความเร็วในการวิ่งระยะสั้นภายในกลุ่มด้วยสถิติ t-test dependent และระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ t-test independent ผลการศึกษา 1. กลุ่มทดลองมีความเร็วในการวิ่งระยะสั้นหลังการทดลอง ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับลุ่มควบคุมมีความเร็วในการวิ่งระยะสั้นก่อนการทดลองและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน 2. ความเร็วในการวิ่งระยะสั้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง พบว่าไม่แตกต่างกัน สรุป โปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะมีผลทำให้ความเร็วในการวิ่งระยะสั้น (10 เมตร) ลดลง Context: Sprint running is an important aspect of athletic performance. Sprinters need to use a high intensity of focus and concentration to make their mechanical processes respond within milliseconds of hearing the starting shot. Sprint running as discussed in this article, is a combination of skills and planning inherent in the body’s motor response, generating and transferring enough force to propel the body to start and run for 10 meters. Objective: The aim of this study compares the speeds in two groups of sprint runners. An experimental and a control group were used to compare sprinting speeds with pre and post test data. Materials and Methods: This quasi-experimental research study used a sample of 32 youth athletes from a school in Chonburi Province, aged 12-18, selected through simple random sampling. The 32 athletes were divided evenly into an experimental and a control group, with 16 participants in each group. Both groups underwent regular training. However, the experimental group received additional body percussion training twice a week for 20 minutes, over an 8-week period. A Kinematic Measurement System collected the data of sprinting times from the sample groups. Data of ages between the group members were analyzed using an independent t-test. Sprint running times between the groups were analyzed using a dependent t-test and in between group were analyzed using an independent t-test. Result: 1. After the experiment, the experimental group that received the body percussion training significantly improved their sprinting speed, as compared to before the experiment, at a .05 level of significance. However, the control group showed no significant difference in sprint speed between the pre-and post-experiment stages. 2. Comparisons between the experimental and control groups post-experiment revealed no significant differences. Conclusion: The body percussion program can reduce speed in sprint running (10 m.).</p>ธน โควสุรัตน์ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์ฉัตรกมล สิงห์น้อยวรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
Copyright (c) 2024
2024-07-032024-07-031114053แนวโน้มของเชื้อจุลชีพดื้อยาหลายขนานที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงฆ์ ปี 2561-2565
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/10062
<p>บทนำ เชื้อจุลชีพดื้อยาหลายขนาน (Multidrug resistant organisms; MDROs) ที่พบมากในโรงพยาบาลสงฆ์ได้แก่ Carbapenem–resistant Acinetobacter baumannii (CRAB), Carbapenem–resistant Pseudomonas aeruginosa (CRPsA), Carbapenem–resistant Enterobacteriaceae (CRE) (Klebsiella pneumoniae และ Escherichia coli) และ Methicillin–resistant Staphylococcus aureus (MRSA) เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงทั้งต่อผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาล วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวโน้มของเชื้อจุลชีพดื้อยาหลายขนานที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงฆ์ วิธีการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลผลการตรวจเพาะเชื้อและทดสอบความไวของยาต้านจุลชีพจากห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลสงฆ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางและกราฟ ผลการศึกษา จำนวนเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจทั้งหมด 304 isolates พบเชื้อดื้อยาจำนวนมากที่สุด คือ A. baumannii (CRAB) จำนวน 114 isolates (ร้อยละ 37.5) โดยพบเชื้อมากที่สุดในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักและพบในสิ่งส่งตรวจชนิดเสมหะและหนองมากที่สุด P. aeruginosa (CRPsA) สรุป แบคทีเรียดื้อยาหลายขนานที่พบมากในโรงพยาบาลสงฆ์ ได้แก่ A. baumannii (CRAB), P. aeruginosa (CRPsA), Enterobacteriaceae (CRE) K. pneumoniae, S. aureus (MRSA) และ Enterobacteriaceae (CRE) E.coli ตามลำดับ สิ่งส่งตรวจเพาะเชื้อที่พบเชื้อดื้อยามากตามลำดับ ได้แก่ สิ่งส่งตรวจจากหนอง สิ่งส่งตรวจจากเสมหะ สิ่งตรวจจากปัสสาวะ และสิ่งส่งตรวจจากเลือด Introduction: The spread of hospital-acquired multidrug resistant organisms (MDROs), including Carbapenem–resistant Acinetobacter baumannii (CRAB), Carbapenem–resistant Pseudomonas aeruginosa (CRPsA), Carbapenem–resistant Enterobacteriaceae (CRE) (Klebsiella pneumoniae and Escherichia coli), and Methicillin–resistant Staphylococcus. aureus (MRSA), is a major problem directly affecting patients, healthcare professionals and hospitals. Objective: To study a five-year data trend of MDROs isolated from specimens of patients admitted to Priest Hospital in Bangkok, Thailand. Methodology: Microbial culture and antimicrobial susceptibility test results were retrieved from the record files managed by the Clinical Microbiology Laboratory under the Division of Pathology at Priest Hospital. The records were dated from the 1st of January, 2018, to the 31<sup>st</sup> of December, 2022. All data were analyzed with descriptive statistics and presented as tables and graphs. Results: CRAB was the most abundant type of all the 304 MDRO isolates, accounting for 114 isolates (37.5%). CRAB was found to be most prevalent in patients admitted to the Intensive Care Unit (ICU), with high percentages of CRAB commonly isolated from sputum and pus specimens. Conclusion: MDROs belonging to the major causes of infection with antimicrobial-resistant agents in patients admitted to The Priest Hospital were CRAB, CRPsA, CRE-K. pneumoniae, MRSA and CRE- E. coli, respectively. The most abundant antimicrobial-resistant organisms was found in pus, sputum, urine and blood specimens, respectively.</p>หัทยา แสงสวย
Copyright (c) 2024
2024-07-032024-07-031116681ฝีในปอดในเด็ก: รายงานผู้ป่วย
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/10063
<p>บริบท โรคฝีในปอดพบได้ไม่บ่อยในเด็กแต่เป็นภาวะความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง ข้อมูลเกี่ยวกับโรคฝีในปอดในผู้ป่วยเด็กยังมีจำกัด วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะอาการทางคลินิก ภาพรังสีทรวงอก เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และการรักษาของโรคฝีในปอดในเด็ก กรณีศึกษา รายงานผู้ป่วยเด็ก จำนวน 2 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคฝีในปอด เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพาช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 และเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 อาการนำของผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไข้ น้ำมูก ถ่ายเหลว และอาเจียน การวินิจฉัยโรคโดยใช้ภาพรังสีทรวงอกและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบตำแหน่งฝีในปอดบริเวณปอดขวาส่วนล่าง ในระยะเริ่มต้นได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อก่อโรคที่สงสัยทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยรายแรกไม่ตอบสนองต่อการให้ยาต้านจุลชีพ ต้องได้รับการเจาะระบายหนองผ่านทางผิวหนัง ผลตรวจหนองด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (polymerase chain reaction) พบเชื้อ Aggregatibacter segnis เป็นต้นเหตุ การติดตามอาการภายหลังการรักษาผู้ป่วยทั้งสองรายหายเป็นปกติ สรุป อาการทางคลินิกของเด็กในระยะเริ่มต้นอาจทำให้วินิจฉัยโรคฝีในปอดได้ยาก หากไม่ได้ตระหนักถึงโรคฝีในปอดอาจทำให้การวินิจฉัยและการรักษาล่าช้าออกไป แนะนำให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมทางหลอดเลือดดำในระยะเริ่มต้นของการรักษา การพยากรณ์โรคฝีในปอดในเด็กค่อนข้างดีหากได้รับการวินิจฉัยทันท่วงทีและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม Introduction: Because lung abscesses are uncommon in children, not a lot of information is available about this condition. However, it remains a severe respiratory condition. Objective: To describe the clinical manifestations, chest X-ray and, CT scan findings, and the management of children with lung abscesses. Case presentation: This retrospective descriptive study collected data from the medical records of two patients admitted to Burapha University Hospital between May 2021 and July 2022. The, two children had lung abscesses. Commonly presented symptoms include fever, rhinorrhea, diarrhoea, and vomiting. The diagnosis was established by chest radiographs and a CT scan. The locations of the lung abscesses were in the right lower lobe. Empiric intravenous antibiotics were the initial treatment for the lung abscesses. However, the patient didn’t respond to antibiotics in one case, leading us to perform percutaneous drainage. Subsequent pus analysis using polymerase chain reaction (PCR) identified Aggregatibacter segnis as the causative organism. Encouragingly, both cases achieved full recovery following treatment. Conclusion: Early clinical manifestations in children can pose challenges in diagnosing lung abscesses. A lack of awareness of lung abscesses may lead to a delayed diagnosis and treatment. Appropriate intravenous antibiotics are recommended as the initial treatment for lung abscesses in children. With a timely diagnosis and appropriate treatment, lung abscesses in children have a favourable prognosis.</p>วราวุฒิ เกรียงบูรพาจักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์
Copyright (c) 2024
2024-07-032024-07-031118291ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติในผู้ป่วยเด็ก 12 ปีที่มีอาการไซนัสอักเสบเรื้อรัง: รายงานผู้ป่วย
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/10064
<p>บริบท ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ มักมีประวัติติดเชื้อทางเดินหายใจซ้ำโดยเฉพาะโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง วัตถุประสงค์ ศึกษาอาการทางคลินิกของผู้ป่วยเด็กอายุ 12 ปีที่มีภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรังตั้งแต่อายุ 4 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติ กรณีศึกษา ผู้ป่วยเด็กชายอายุ 12 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง ตั้งแต่อายุ 4 ปี ไม่ตอบสนองต่อรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูกและยาปฏิชีวนะหลายกลุ่ม ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและระดับอิมมูโนโกลบูลินอยู่ในเกณฑ์ปกติ IgG 705 มก./ดล., IgA 108 มก./ดล., IgM 54 มก./ดล. การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง ให้ผลบวกต่อหญ้า Bermuda, วัชพืชผักโขม,เชื้อรา Cladosporium และไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides pteronyssinus (Dp) วัดความสามารถในการตอบสนองต่อแอนติเจนที่เป็นpolysaccharide โดยการฉีดวัคซีน 23-valent unconjugated polysaccharide ต่อเชื้อ Streptococcal pneumoniae โดยตรวจซีรัมก่อนได้รับวัคซีน และหลังได้รับวัคซีน 4 สัปดาห์ พบว่าระดับแอนติบอดีน้อยกว่า 1.3 มคก./มล. สัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของ serotype ทั้งหมด ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติ รักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำและรับ pneumococcal polysaccharide conjugated vaccine (13-valent) ไม่พบการกลับเป็นซ้ำของภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรังอีก สรุป ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติพบได้ในผู้ป่วยมีภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง หากได้ทราบการวินิจฉัยที่ชัดเจนในเวลารวดเร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการรักษาที่เฉพาะที่ทำให้หายขาดจากโรคได้ Introduction: A group of illnesses collectively known as primary immunodeficiency disorder (PID) are caused by immune system abnormalities, and increase the patient’s vulnerability to infection – particularly chronic rhinosinusitis (CRS) – and is challenging to identify. Objective: This study reviewed the adaptive immunity of a 12-year-old boy to Streptococcus pneumonia, in the context of the patient’s first clinical presentation of CRS at 4 years old. Case presentation: A 12-year-old boy was first diagnosed with allergic rhinitis at 2 years old. However, at 4 years old he was diagnosed with chronic rhinosinusitis. He was treated with intranasal corticosteroids and multiple antibiotics, which provided mild clinical recovery between episodes. Blood cell counts, IgG subclass assay and immunoglobulin level assay were normal. IgG 705 mg/dL, IgA 108 mg/dL, IgM 54 mg/dL. Percutaneous prick skin tests were positive for Bermuda grass, Carelessweed, Cladosporium and Dermatophagoides pteronyssinus (Dp). Despite treatment his continued recurrent infections led to an evaluation of a specific antibody response to polysaccharide pneumococcal antigens. He responded to less than 50% of the 8 pneumococcal serotypes after 23-valent unconjugated pneumococcal vaccine, resulting in a diagnosis of SAD, with a treatment of a prophylactic antibiotic and pneumococcal polysaccharide conjugated vaccine (13-valent). He showed clinical improvement, with mild infections, and controlled rhinitis. Conclusion: There are several PIDs related to allergic diseases. A SAD against pneumococcal serotypes is a primary antibody deficiency, that should be immediately considered in children, who’ve developed CRS that does not improve (in spite of aggressive treatment). Further investigations are needed to exclude them.</p>เบญจารัตน์ ทรรทรานนท์สุภารัตน์ จีวรตานนท์
Copyright (c) 2024
2024-07-032024-07-031119299การตรวจความหนาแน่นของกระดูกและองค์ประกอบของมวลร่างกายด้วยเครื่อง DXA สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/10065
<p>บทนำ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลัก ๆ คือ กระดูก กล้ามเนื้อ และไขมัน ซึ่งมนุษย์แต่ละคนแต่ละช่วงอายุจะมีองค์ประกอบของร่างกายที่ต่างกันไป ในปัจจุบันวิธีการวัดองค์ประกอบของร่างกายหลายวิธี ซึ่งการตรวจด้วยเครื่อง DXA (dual-energy X-ray absorptiometry) เป็นวิธีที่สามารถแยกปริมาณของกระดูก กล้ามเนื้อ และไขมัน ได้อย่างแม่นยำ ไม่อันตราย และสามารถทำซ้ำได้บ่อย วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบประโยชน์ของการวัดองค์ประกอบของร่างกายทางคลินิกและเป็นความรู้พื้นฐานต่อยอดไปในแง่ของการวิจัยโดยใช้การวัดองค์ประกอบของร่างกาย ผลการศึกษา เครื่อง DXA เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก และองค์ประกอบของมวลร่างกาย การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก จะใช้กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุน และผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดกระดูกพรุน เช่น ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีประวัติกระดูกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง การตรวจวัดองค์ประกอบของมวลร่างกายจะใช้กรณีที่เป็นผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ป่วยโรคมวลกล้ามเนื้อน้อย ผู้ที่มีกล้ามเนื้อลีบหรืออ่อนแรง นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬาด้วย สรุป การวัดความหนาแน่นของกระดูก และมวลกายเป็นการตรวจยืนยันที่มีประโยชน์ เป็นที่นิยมและแพร่หลายในด้านเวชปฏิบัติทั่วไปและด้านการวิจัย Background: The human body consists mainly of bone, muscle, and fat components, all of which differ from one another, leading to several methods for measuring the body’s composition. However, dual-energy X-ray absorptiometry (DXA) is the standard method to evaluate bone mineral density and body composition, which has been certified by the World Health Organization. It is convenient, fast, accurate, reproducible and non-invasive. Objective: To provide information about the benefits of measuring bone density and body composition in clinical practice, and to establish a knowledgebase for future research. Results: The DXA machine measures bone mineral density and body composition by using X-ray beams at different energy levels, to separate between bone, muscle and fat in the body. Bone density assessments are often performed on patients with osteoporosis, patients taking osteoporosis medications or individuals at risk of developing osteoporosis (such as post-menopausal women, the elderly or those with a history of fragility fractures). Additionally, an assessment of body composition is often used to evaluate the body’s amount of fat and muscle. It has been used with issues in obesity, sarcopenia and sport science. Conclusion: Bone density and body composition assessments are excellent methods to evaluate body components, and it is widely recognized among general practitioners and researchers, leading to fewer cases and less machine utilization in Thailand. Therefore, this article should be helpful in providing the fundamental knowledge for other medical and research uses.</p>เกียรติชัย กีรติตานนท์อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ
Copyright (c) 2024
2024-07-032024-07-03111100114กัญชากับวัยรุ่น
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/10066
<p>บทนำ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาของการใช้กัญชาในกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากมีการเปิดกัญชาเสรีให้ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งนำไปสู่การเข้าถึงที่ง่าย หากมีการใช้กัญชาตั้งแต่อายุยังน้อยจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายยังส่งผลกระทบต่อ สติปัญญา ความจำ และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางอารมณ์ โดยในกัญชามีสารเคมีที่ส่งผลต่อระบบประสาทและสมองของวัยรุ่น ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยควรมีมาตรการป้องกันการใช้กัญชาในวัยรุ่นเพื่อลดความเสี่ยงหรือผลกระทบจากกัญชาในวัยรุ่นได้ วัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนและวิเคราะห์บทความที่เกี่ยวข้อง กับกัญชาผลกระทบของกัญชาและแนวทางในการเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้กัญชาในทางที่ผิดของวัยรุ่นเพื่อจะได้ช่วยให้วัยรุ่นมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นตามวัย วิธีการศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการใช้กัญชาในวัยรุ่น และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกัญชากับผลกระทบจากการใช้กัญชาเพื่อเป็นแนวป้องกันพฤติกรรมการใช้กัญชาในวัยรุ่น สรุป การใช้กัญชาในวัยรุ่นมีเสียต่อระบบประสาทและสมอง และอาจมีปัญหาทางสุขภาพจิตที่เพิ่มมากขึ้น และยังมีผลกระทบทางด้านร่างกาย ถึงแม้ว่าจะเริ่มมีการใช้กัญชาอย่างเสรีในการประกอบอาหาร ก็ยังไม่ควรใช้กัญชาเพราะผลกระทบจากการใช้อาจส่งผลไปยังวัยผู้ใหญ่ได้ในอนาคตได้ Introduction: With the legalization of marijuana, Thailand faces the problem of an increased use of the drug among its teenage population. However, if marijuana is used at an early age, it is detrimental to physical health, as the human brain is still not fully developed. Marijuana contains chemicals that affect the nervous system and the adolescent brain. The substance also affects intelligence, memory, and increases the risk of mood disorders. For this reason, the responsible agencies in Thailand should have measures in place to prevent the accessibility of the drug, and reduce its impact on adolescents and teenagers. Moreover the liberal use of cannabis in cooking has become popular, and the substance can be traded more easily between teenagers and young people. Families and parents must work together to inform and prevent teenagers from misusing marijuana. Objective: To review and analyze the effects of marijuana on adolescent health, and to help monitor the misuse of marijuana by teenagers. Methods: To review and analyze research literature related to the effects of marijuana use among adolescents, and to formulate guidelines to prevent marijuana misuse by adolescents. Conclusions: Use of marijuana by adolescents has a negative effect on the nervous system and brain, including reduced memory, reduced intelligence, and possibly increased mental and physical health problems.</p>สุรสิงห์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์นงค์นุช แน่นอุดรภาสิต ศิริเทศมนเทียร วงศ์เทียนหลายชานนท์ ชูศรีวันChankomadararithysak Duchอนันต์ จรรยาดี
Copyright (c) 2024
2024-07-032024-07-03111115127