ฮูบแต้มฝาผนังสิมอีสาน : การสืบทอดพัฒนาทางงานช่างอีสานก่อน พ.ศ. 2500
Keywords:
ฮูบแต้มฝาผนัง, สิมอีสาน, การสืบทอดพัฒนาทางงานช่างอีสาน, จิตรกรรมฝาผนังไทยAbstract
จากการศึกษางานฮูบแต้มในอีสานช่วงก่อน พ.ศ. 2500 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการความเป็นมา และลักษณะรูปแบบฮูบแต้มอีสาน ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ รูปแบบฮูบแต้มกับสภาพปัจจัยด้านต่างๆ ของชุมชนในช่วงเวลาที่ปรากฏรูปแบบฮูบแต้ม และศึกษาบทบาท หน้าที่ความสำคัญของฮูบแต้ม คติความเชื่อท้องถิ่นและประเพณีของชุมชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลจากการศึกษาทำให้ทราบถึงพัฒนาการของฮูบแต้มอีสานมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มช่วงที่เขียนก่อน พ.ศ. 2410 กลุ่มช่วงที่เขียน พ.ศ. 2411-2470 และกลุ่มช่วงที่เขียนช่วงพ.ศ. 2471-2500 ลักษณะของฮูบแต้มอีสานมีทั้งการเขียนผนังด้านในและด้านนอกของสิมที่เป็นรูปแบบเฉพาะได้รับผ่านจากฝั่งสปป. ลาว การใช้สีในฮูบแต้มมีข้อจำกัดในเรื่องของสีที่ใช้แต้มจึงทำให้การปล่อยสีพื้นเป็นสีแทนผิวกายในกลุ่มตัวภาพโดยรวม แล้วจึงใช้วิธีตัดเส้นตัวภาพที่สำคัญจึงมีการระบายสี ลักษณะในช่วงแรกเป็นการผสมผสานระหว่าง รูปแบบจากภาคกลางที่เข้ามามีส่วนบุกเบิกต้นแบบในการเขียนให้กับช่างในพื้นถิ่น ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ช่างมือในพื้นถิ่นได้แสดงฝีมือทางเชิงเฉพาะตัวออกมาได้อย่างงดงาม จนระยะสุดท้ายรูปแบบได้มีความหลากหลายทั้งเนื้อหา การจัดวาง แบบจากภาคกลางได้เข้ามามีบทบาทอีกครั้งแต่คงอยู่ในกรอบของชาติตะวันตกที่มีระยะมิติใกล้ กลาง ไกลในชิ้นงาน รูปแบบฮูบแต้มกับสภาพปัจจัยด้านต่างๆ ของชุมชนในช่วงเวลาที่ปรากฏรูปแบบฮูบแต้มสภาพสังคมหรือปัจจัยด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ปรากฏฮูบแต้มถึงจะไม่ใช่ส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญแต่บริบทของการสร้างสรรค์ได้แสดงออกถึงการเคารพนับถือในพระพุทธศาสนา เรื่องของการทำดี บาปบุญคุณโทษ ทำดีได้ดีทำชั่วตกนรก ยังคงได้รับการยอมรับจนถึงช่วงในยุคปัจจุบัน บทบาท หน้าที่ความสำคัญของฮูบแต้ม เรื่องราวที่เขียนขึ้นทั้งพระอดีตพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมาลัย เวสสันดรและนิทานจากวรรณกรรมพื้นถิ่น ล้วนเป็นความเชื่อของสังคมอีสานที่ผ่านมาแต่ในปัจจุบันหน้าที่การถูกเขียนเพื่อเป็นงานประดับมีความสำคัญมากกว่า ส่วนหน้าที่สื่อความหมายเคยมีความสำคัญในครั้งเก่าก่อนต้องถูกลดบทบาทความสำคัญลงไป ซึ่งในสภาพปัจจุบันการเขียนฮูบแต้มได้รับความนิยมน้อยมากเมื่อเทียบกับการสร้างสิมในปัจจุบัน คติความเชื่อท้องถิ่นและประเพณีของชุมชนที่เกี่ยวข้อง สังคมในชุมชนอีสานในอดีตคติความเชื่อและประเพณ๊ถูกสะท้อนแนวคิดดังกล่าวที่เกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด ทำดีได้ดีไว้ในฮูบแต้มทั้งสิ้นเรื่องหลักๆ ที่นิยมเขียนคือเรื่องพุทธประวัติ พระมาลัยและเวสสันดร เมื่อพิจารณาแล้วสังคมอีสานจึงนิยมสร้างบุญกุศล เพื่อเป็นการสะสมเมื่อได้เกิดใหม่ในภพหน้า หรือเรื่องของความขยันหมั่นเพียร ความศรัทธา การเสียสละ การละเว้นการทำบาปทำชั่วก็ดี ล้วนถูกเขียนโดยผ่านการเล่าเรื่องในฮูบแต้มทั้งสิ้น ทางด้านประเพณีวัฒนธรรมก็ถูกสอดแทรกเข้าไปในฉากดูแล้วเป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน เช่น พิธีการฝังศพ การเกี่ยวข้าว การทำบุญ การสร้างวัดพระพุทธรูป เป็นต้น The objectives of this research were to study the background, the development, and the pattern of Isan mural painting,, compare the patterns and the factors of creation in the different duration, and study the role and meaning relating to local belief, moral as well as social tradition. The results of this research could divide the duration of Isan mural painting’s development into 3 groups; they were the former 1867 painting group, the duration of 1868-1927 painting group, and the duration of 1928-1957 painting group. It was found that there were Isan mural paintings which were influenced on Lao culture not only inside but also outside the ordination halls. However, there was the condition of painting that related to limited colors. Therefore, the artists did not color on the skin of general performer’s painting, whereas the techniques of shape emphasizing and coloring were used on special performer’s painting. In the first duration (the former 1869 painting group), the technique of Isan mural painting was mixed between the central artists who pioneered the painting in Isan and the local artists. The second duration (1968-1927 painting group), was the opportunity that that artists could show the skills at most their abilities. And in the last duration (1928-1957 painting group), there were multi-techniques in Isan mural painting such as content, position, and space which were influenced by central artists under the classical western art framework. It was plausible that the factors like social conditions at that time did not influenced on creating Isan mural painting because the former paintings until now have been related to Buddhism, moral and immoral, making merits, reciprocal deeds, as well as heaven and hell scene.Isan artists drew inspiration or their works from local belief and it was the role of Isan mural painting in the past; therefore, the creations of Isan artists always related to the history of Buddha, the former births of Buddha, Phra Malai, Vessantara Jataka, and local literatures. Nevertheless, the role of Isan mural painting at present has been gradually altered to be decoration. Clearly Isan mural painting has been less popular than ordination hall construction. Furthermore, Isan mural painting could reflect local belief and social tradition in the past such as making merits for the next world, industriousness of Isanist, faithfulness and sacrifice on religion, abstinence from sins, cremation, rice culture, building sanctuary, and so on.Downloads
Issue
Section
Articles