จิตรกรรมไทยเพื่อการอนุรักษ์หน้าบันวิหารวัดห้วยพลู

Authors

  • บรรยวัสถ์ ประเสริฐวรชัย

Keywords:

วัดห้วยพลู, นครปฐม, จิตรกรรมไทย, จิตรกรรมพุทธศาสนา, หน้าบัน

Abstract

          วิหารวัดห้วยพลูถือเป็นมรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมประจำท้องถิ่นชุมชนลุ่มน้ำ นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีอายุมาก่อนปีพุทธศักราช 2329 มีลักษณะแบบแผนทางภูมิปัญญาด้านการก่อสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สุนทรียสถานที่สำคัญของสังคมและชุมชน ด้วยในอดีตเคยก่อเกิดวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีและสิ่งดีงาท ณ ศาสนสถานแห่งนี้มาแล้วหลายร้อยปีแต่ด้วยปัจจุบันวิหารมีสภาพชำรุดทรุดโทรมอย่างยิ่งซ่งสมควรได้รับการบูรณะและอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแห่งนี้ไว้เป็นมรดกของชาติอย่างยั่งยืน ในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแห่งนี้ประกอบด้วยการอนุรักษ์งานด้านสถาปัตยกรรม งานด้านจิตรกรรม งานด้านภูมิทัศน์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งต้องมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการบูรณะวิหารวัดห้วยพลูแห่งนี้โดยเฉพาะงานด้านจิตรกรรมที่พบร่องรอยปรากฎบริเวณหน้าบันของวิหารมีความชำรุดทรุดโทรมมากซึ่งมีทั้งหมดสองชิ้นงานคือภาพพระมาลัยบูชาพระเกตุแก้วเจดีย์จุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พบบริเวณหน้าบันของวิหารด้านทิศตะวันออก และภาพพระมาลัยเสด็จโปรดสวรรค์พบบริเวณหน้าบันของวิหารด้านทิศตะวันตก ซึ่งผลงานทั้งสองชิ้น มีใจความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระมาลัยเทพเถระเสด็จโปรดสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และเกี่ยวพันกับพระศรีอารย์ ในอนาคตพุทธกาลเบื้องหน้าซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับคติความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ เรื่องสวรรค์นรก อันเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการปฏิบัติตนของพุทธศาสนิกชน สิ่งนี้ถือเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเรื่องจิตรกรรมไทยเพื่อการอนุรักษ์หน้าบันวิหารวัดห้วยพลู ซึ่งมุ่งเน้นการอนุรักษ์งานด้านจิตรกรรมโดยใช้กรรมวิธีการสร้างสรรค์เชิงร่วมสมัย แต่คงความหมายในเนื้อหาเดิมเพื่อสงวนรักษามรดกทางศิลปะวัฒนธรรมไทยมิให้สูญเสียและถูกทำลายหรือเบี่ยงเบนแบบแผนดั้งเดิมออกไป           Sanctuary of Wat Huay Plu is a local architectural heritage of the Nakhon Chai Sri Depression community, which locates in Nakhon Pathom, aged before the Buddhist era of 2329. Due to there were fully of the way of life, traditional culture and good at this monastery of several hundred years in the past, this it appears the conventional wisdom of the construction, local community history, social and aesthetic landmarks. However the sanctuary is in deteriorated condition in the recently, it should be restored and preserved to be national heritage. The restoration and conservation are the preserved relation of architectural, painting, landscape and traditional culture. Especially, the painting on the gable of the temple is very dilapidated which are two parts: The Thera Deva Malai revered Chedi Chula Manee (the pagoda to contain his kite topknot (bun) of Buddha in the star the place of worship) is on the eastern tympanum, and the Thera Deva Malai went to the heaven which is on the western tympanum. Their core contents relate the trust of doing good and bad, and heaven and hell as faith of Buddhists for the way of spending their life. Therefore, this is an inspiration to create the exploration, concerning Thai painting and the tympanum of Sanctuary of Wat Huay Plu conservation that aims to create contemporary mural, basing on creative idea and remaining original content.

Downloads