วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางในจังหวัดชลบุรี: กรณีศึกษากลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น

Authors

  • จิตรา สมบัติรัตนานันท์

Keywords:

วัฒนธรรมทางการเมือง, นักการเมือง, ชนชั้นกลาง - - ไทย - - ชลบุรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อรูปและพัฒนาการของกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น รวมถึงการก่อรูป พลวัต ปัจจัย และเงื่อนไขเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองของกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์โดยใช้การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า การก่อรูปและพัฒนาการของกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีเป็นผลผลิตจากกระบวนการทางประวัติศาสตร์ของการก่อรูปและขยายตัวชนชั้นกลางในจังหวัดชลบุรี วัฒนธรรมทางการเมืองของกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีเป็นวัฒนธรรมแบบทุนนิยมเชิงอุปถัมภ์ วัฒนธรรมดังกล่าวเป็นระบบความคิดความเชื่อที่มองว่าพื้นที่สาธารณะทางการเมืองเป็นพื้นที่สำหรับการสะสมทุนโดยการเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองจะใช้ระบบอุปถัมภ์ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง วัฒนธรรมทางการเมืองของกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น เป็นผลคลี่คลายทางประวัติศาสตร์มาจากวัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางที่มีการก่อรูปมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ อุดมการณ์สะสมทุนบนฐานระบบเครือญาติของชาวจีนอพยพ และระบบไพร่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ วัฒนธรรมทางการเมืองดังกล่าวมีพลวัตจากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาจนถึงปัจจุบันนั้นเกิดจากกระบวนการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมโดยมีปัจจัยที่สำคัญคือ การเปลี่ยนระบอบการเมืองตั้งแต่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระบอบอำมาตยาธิปไตย และระบอบการเลือกตั้งในปัจจุบัน The Objectives of this research were to study formation and development of group local politicians in Chonburi Province as well as to study formation, dynamics, factors and conditions concerning political culture of the politicians. This research used historical qualitative methodology by documentary research and interview. The finding was that formation and development of the politicians in Chonburi Province was product of historical process of formation and expansion of the middle class. The political culture was belief system which That was consider political public sphere as capital accumulation sphere through patronage system in election process. The political culture was historical unfolding of the middle class’s political culture which was formed since the early Ratanakosin Era. The factors affecting political culture of the middle class were sino kinship based accumulation oriented ideology and Phrai system. The factors affecting dynamos of the political culture was political regime change from absolutism, bureaucratic polity to nowadays electionalism.

Downloads