การออกแบบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์

Authors

  • อัญชุลี อำไพศรี

Keywords:

เครื่องปั้นดินเผา, ภูมิปัญญาชาวบ้าน - - ไทย - - สุรินทร์, การออกแบบผลิตภัณฑ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นโดยเฉพาะเครื่องปั้นดินเผา จากแหล่งจังหวัดสุรินทร์ นำไปสู่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด้วยการนำเอาศิลปวัฒนธรรมเอกลักษณ์ที่มีคุณค่ามาใช้เป็นแนวคิดให้มีรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อศึกษาทดลองหาอัตราส่วนผสมของเนื้อดินปั้นในท้องถิ่นมาใช้ในการปั้นขึ้นรูป และทดลองเคลือบโดยใช้มูลช้างมาเป็นส่วนผสมของน้ำเคลือบ ผลการวิจัย เนื้อดินปั้นประกอบด้วยดินในท้องถิ่นบริเวณที่เรียกว่าวังทะลุ และดิน PBB จากบริษัท คอมพาวด์เคลย์ เนื้อดินมีความเหนียวดี เมื่อเผาแล้วได้สีน้ำตาลอ่อน เคลือบประกอบด้วยโซดาเฟลสปาร์ โดโลไมท์ และขี้เถ้ามูลช้างผสมกับขี้เถ้าอื่นๆ เพิ่ม Flux ที่ 12 เปอร์เซ็นต์ เผาที่อุณหภูมิที่ 1,230 องศาเซลเซียส ผลการทดลองเคลือบมีความสวยงามที่แตกต่างกัน เตาไฟฟ้าได้เคลือบแตกราน สีขาวขุ่นกึ่งมันด้าน มีรอยกระ และเตาแก๊สได้เคลือบไหลสีเขียวใส แตกราน ผลการออกแบบสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ใช้สอยและประดับตกแต่งบ้าน จำนวน 5 ชุด โดยมีแนวความคิดมาจากลวดลายและรูปทรงของศิลปะวัฒนธรรมและเอกลัษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ลายเคลือเถาว์ธรรมชาติปราสาทขอม รูปทรงประเกือม หม้อดินเผาภูมิปัญญาชาวบ้าน รูปแบบเครื่องปั้นดินเผาบ้านกรวดและช้าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจ ในการออกแบบโดยใช้แบบสอบถาม มีกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักวิชาการศิลปะและการออกแบบ กลุ่มผู้จำหน่าย และกลุ่มผู้สนใจ ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ทั้ง 5 ชุด อยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและพัฒนาในครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจมากที่สุด ข้อเสอนแนะควรศึกษาและรวบรวมข้อมูลให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่หลากหลายตลอดจนศึกษาทดลองวัตถุดิบที่มีมากในท้องถิ่นเพื่อปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่าการทดลองดินและเคลือบสามารถนำไปทดลองเพิ่มเติมให้เกิดผลที่แตกต่างออกไป และสามารถนำแนวทางในการออกแบบในครั้งนี้ไปปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน

Downloads