นาฏยลักษณ์การแสดงระบำของนาฏศิลป์สวนสุนันทา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2553
Keywords:
นาฏศิลป์, การรำ, ศิลปะการแสดงAbstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและผลงาน องค์ประกอบ และนาฏยลักษณ์การแสดงระบำของนาฏศิลป์สวนสุนันทา โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต และประสบการณ์ตรงของผู้วิจัยในการออกแบบการแสดงระบำของนาฏศิลป์สวนสุนันทาโดยใช้ทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ หลักการเคลื่อนไหวร่างกาน และองค์ประกอบการแสดงระบำ เป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ผลิตผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทยมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2493 และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะชน การแสดงที่มีชื่อเสียงของสวนสุนันทาและได้รับความนิยมมากที่สุดคือการแสดงประเภท “ระบำ” ซึ่งมีลักษณะการแสดงแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบนาฏศิลป์ไทย และแบบผสมผสานกับนาฏศิลป์สกุลอื่น นำเสนอในลักษณะของการเล่าเรื่องโดยมีองค์ประกอบการแสดงระบำ ได้แก่ แนวความคิด การออกแบบเพลง การออกแบบเครื่องแต่งกายตามแนวคิดของการสร้างแต่ละงาน มีการออกแบบท่ารำ การแปรรูปแถว และการใช้อุปกรณีการแสดง ใช้ผู้แสดงจำนวน 8 -12 คน มีระยะเวลาการแสดงประมาณ 5 -12 นาที สำหรับนาฏยลักษณ์การแสดงระบำของสวนสุนันทา คือ การสร้างระบำให้มีความกระชับ โดยประดิษฐ์ท่ารำจากการเลียนแบบธรรมชาติ และการประยุกต์จากท่ารำดั้งเดิม ปรากฏเป็นท่าเดี่ยว และท่าคู่ ผู้แสดงเคลื่อนที่ด้วยการวิ่งซอยเท้าเพื่อเปลี่ยนรูปแถวตามแบบเรขาคณิต หรือการประยุกต์รูปแบบแถวให้เป็นไปตามความหมายของเนื้อเรื่องระบำที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละชุดการแสดง และมักใช้การหมุนตัวก่อนหรือหลังการเคลื่อนที่เพื่อเปลี่ยนรูปแถวหรือจัดซุ้มซึ่งมีอยู่หลากหลายรุปแบบ นอกจากนี้ยังมีการใช้อุปกรณ์การแสดงที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายอีกด้วย ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการสร้างงานที่มีความคิดแปลกใหม่ คือ การมีอิสระทางความคิด การบริการจัดการ การยอมรับความสามารถของบุคคล การบูรณาการความรู้ และหลักสูตรการศึกษาที่กำหนดทิศทางการสร้างงานที่ชัดเจน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดนาฏยลักษณ์การแสดงระบำของสวนสุนันทา สาสมารถเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์การแสดงระบำเพื่อพัฒนางานนาฏศิลป์ให้ยั่งยืนต่อไป This thesis aims to study and explore the history , works, components and principles of the dance choreography of the Suan Sunandha dance school.The research methods used to analyze the theories which include dance choreography, body movement, and dance performance components, are based on related documents, interviews, obseevation and the direct experiences of the researcher as the choreographer of some of the repertoires of the school. According to the obtained research results, it can be concluded that, sine is beginning of creating new dance pieces in 1950 until the present, the Suan Sunandha dance school has always been recognized for its group dance repertoires, which can be categorized into two groups: the classical Thai-style and those which are a fusion of other dance disciplines. Their presentation features narrative element narrative element, components of which include concepts, music composition, costume design, choreography, use of stage properties, and line and blocking arrangements. Basically, each of them is made up 8-12 performers, and lasts for 5-12 minutes. The signature principles of the Suan Sunandha dance school are as follows: concise choreography, the mimicry of movement of natural beings, the adaptation of traditional dane patterns for the creation of solo or duo dancing, the feet tapping during the process of forming geometric configurations, the adjustment of the dancers’ alignment to match the narrative content of reach choreography, and the body rotation before or after moving to another position for the following group configuration. Furthermore, stage properties are regularly considered as an integral part of the costume set. The significant factors in promoting innovative creations are freedom of thought, Administrative skills the acknowledgement of personal proficiency, knowledge integration and pedagogy with well-defined direction. All are involved in the delivery of the dancing principles of the Suan Sunandha dance school,nad encourage it to be a sustainable thai dance development.Downloads
Issue
Section
Articles