การจัดการเพื่อสงวนรักษาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน : ศึกษากรณีลิเกป่าคณะรวมมิตรบันเทิงศิลป์ จังหวัดกระบี่

Authors

  • ภาณินี อนุกูล

Keywords:

ลิเก - - ไทย - - กระบี่, ศิลปะการแสดง - - ไทย - - กระบี่, การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม - - ไทย - - กระบี่

Abstract

การศึกษาเรื่อง “การจัดการเพื่อสงวนรักษาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน : ศึกษากรณีลิเกป่าคณะรวมมิตรบันเทิงศิลป์ จังหวัดกระบี่” เพื่อ 1. ศึกษาประวัติความเป็นมา และสถานการณ์ปัจจุบันของลิเกป่าคณะรวมมิตรบันเทิงศิลป์ จังหวัดกระบี่ 2. ศึกษาประสัติความเป็นมาและอุปสรรคของการจัดการแสดงลิเกป่า คณะรวมมิตรบันเทิงศิลป์ จังหวัดกระบี่ และ 3. เสนอแนะแนวทางในการสงวนรักษาลิเกป่าอย่างเหมาะสม โดยเก็ฐรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการประกอบกับการสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกประชากรกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่าคณะรวมมิตรบันเทิงศิลป์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 เกิดจากการรวมตัวของผู้ที่มีใจรักในศิลปะการแสดงลิเกป่า มิได้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยการนำของนายตรึก ปลอดฤทธิ์ หัวหน้าคณะ ปัจจุบันลิเกป่าในจังหวัดกระบี่คงเหลือเพียง 3 แห่ง คือ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันเตา ลิเกป่ามีการปรับรูปแบบของการแสดงเครื่องดนตรี การแต่งกาย บางส่วนให้เข้ากับสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสการแสดง สำหรับการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการแสดงลิเกป่า ในปัจจุบันพบว่า พื้นที่สำหรับการแสดงลิเกป่ามีน้อย ทำให้ลิเกป่าไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เนื่องจากรูปแบบการแสดงไม่เป็นที่นิยมคนในปัจจุบัน อีกทั้งงบประมาณในส่วนการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรมมไม่มีความชัดเจนและแน่นอน                 นอกจากนี้ยังพบว่า แนวทางในการจัดการเพื่อสงวนรักษาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน “ลิเกป่า” ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดถือเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริม และสนับสนุนด้านงานวัฒนธรรมของจังหวัด ควรกำหนดนโยบายในการอนุรักษ์ พัฒนา ส่งเสริม และเผยแพร่ “ลิเกป่า” ให้มีความชัดเจนและต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วม ชุมชน สถาบันการศึกษา และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทศิลปะการแสดงพื้นบ้าน “ลิเกป่า” ของภาคใต้นี้ให้สามารถอยู่คู่ชุมชนสืบไป  Management for Safeguarding Local Performing Arts: A Case Study of the Likay Pha Ruamit Bunterng Bunterng Silpa Troupe, Karbi Province. This study focuss on : 1) The study of the history and current situation of the Likay Pha Ruammit Bunterng Silpa Troupe ,Krabi Province. 2) The study of the problems and obstacles faced by the Likay Pha Ruammit Buterng Sipa Troupe, Krabi Province. 3) The proposition of guidelines to safeguard “LikayPha”. The researcher applied the qualities research methodology, participant observation, and in-depth interviews of key informants. The result of the study revaled that the Likay Pha Ruammit Bunterng Silpa Troupe was established in 1981. The troupe was formed by an aggregation of people who lovw Likay Pha and was not inherited from the antecessor by Mr. Teuk Podrid, the leader of the Troupe. Now, Likay Pha have been found in three places, in Krabai province including Nuaklong, Klongthom and Koh Lanta districts. Likay Pha has been changing some of the costumes and instruments have been modified to conform to the present day. With respect  to the problems and obstacles in the management of Kikay Pha performances, we found that only few people know Likay Pha, and there are just a few places where performances take place, because these performance are not interesting to the modern generation. Budgets provided by the government are uncertain and inconsistent. They also found that management guidelines should include the involvement of all parties: the provincial office of culture which is the main organization which supports local culture should clearly specify policies which support the preservation, development and promotion of “Likay Pha” and local communities, educational institutions and administrations to seriously cooperate for the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage Type of local performing arts “Likay Phu” of Thailand Southern to remain within the communities in the future.

Downloads