การอนุรักษ์บ้านตระกูลคีรีรัตน์และสภาพแวดล้อมเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ณ ชุมชนทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

Authors

  • กอบเกียรติ สุพรรณพงศ์

Keywords:

พิพิธภัณฑ์ชุมชน - - ไทย - - ตรัง. สถาปัตยกรรม - - การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา. สถาปัตยกรรมกับประวัติศาสตร์.

Abstract

     รายงานการศึกษาวิจัยเรื่องการอนุรักษ์บ้านตระกูลคีรีรัตน์และสภาพแวดล้อมเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ณ ชุมชนทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ1. เพื่อศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ของศิลปสถาปัตยกรรมรูปแบบชิโน-โปรตุกีสและภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง2. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหาร จัดการและบูรณะบ้านตระกูลคีรีรัตน์เพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยใช้วิธีการสร้างศึกษาเอกสารงานวิจัยการสัมภาษณ์และการพัฒนา (Research & Development) เพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น       ผลจากการวิจัยพบว่า ตรังมีความเป็นชุมชนมาตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ โดยมีหลักฐานปรากฎของภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ พระพิมพ์ดินดิบ จารึกตัวอักษรเทวนาศรีชุมชนทุ่งค่ายนั้น มีชื่อปรากฎในประวัติศาสตร์ ฐานะเป็นที่ตั้งของค่ายทหารปราบกบฎแขกโจรสลัดในอดีต ต่อมาในยุคที่พระยารัษฏานุประดิษฐ์ เป็นเจ้าเมืองตรังได้พัฒนาเมืองตรังโดยนำแบบอย่างการพัฒนา มาจากชาติตะวันตกเช่น การวางผังเมือง ในช่วงเวลานี้ศิลปสถาปัตยกรรมรูปชีโน-โปรตุสก็ได้แพร่หลายเข้ามาจังหวัดตรัง โดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนที่ไปค้าขายกับเมืองปีนังเมืองภูเก็ต นายกีวดก็ได้ไปค้าขายกับเมืองปีนังเช่นกัน จึงนำรูปแบบสถาปัตยกรรมชีโน-โปรตุกีส มาก่อสร้างบ้านตระกูลคีรีรัตน์ ในปีพ.ศ. 2545 ทายาทได้มอบบ้านตระกูลคีรีรัตน์ให้เป็นสมบัติของชาติ โดยทางกรมศิลปาการได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ (Restoralion) แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2554        ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ชุมชนทุ่งค่ายและหน่วยงานราชการมีศักยภาพเพียงพอในเรื่องการดำเนินงานจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านตระกูลคีรีรัตน์ แต่ยังขาดการจัดทำแผนการในดำเนินงานผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยเพื่อนำเสนอแผนงานการบริหารการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตระกูลคีรีรัตน์แก่หน่วยงานราชการและชุมชนทุ่งค่ายในการดำเนินการจัดการสรรงบประมาณมาสนับสนุนแผนงานการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทอ้งถิ่นป้านตระกูลคีรครัตน์เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและศิลปวัฒนธรรม แหล่งใหม่ของจังหวัดตรังต่อไปในอนาคต      The two main purposes of this research were to1. Study the architecture of Chino-Portuguese in terms of background, beliefs, and disciplines for the conservation processes, and the local history of Thung Khai community, in Yan Ta Khao district Trang.2. Study the feasibility for setting up the Khirirat family’s house to be a local museum. This study used Participatory Action by investigating research and interviewing in order to analysis concerning factors and develop acheired goals      The results of this study were as followed; firstly, Trang has a long history identified by Archaeological evidence, such as rock paintings, votive tablets in unburnt clay, Devangari script, And “Thung khai”, which also an important fortification quashingmutiny. During the governor “Praya Ratthanupradit ”, the architecture of Chino-Portuguese pattm influenced Trang through Chinese merchants,who traded with Penang. Altogether, the Khiriat family’s houses showed the influence of the Chino-Portugese architecture at that time; moreover, in 2011 the Fine Art Department had declared the Khirirat family’s houses in the Royal Gazette together with the Restoration project. Secondly, Thung khai community and government organizations agreed to set up the local museum at the Khirirat family’s houses, and the author proposed the feasibility management plan to them for doing a master plan of setting up and managing of this local museum Lastly, Thung khai community and their local administration had potential to manage the museum as proposed in a feasibility plan in order to develop this museum to be a new cultural and ecotourism site in Trang province, as well as to promote this museum to be a model for other cultural and ecotourism sites in Trang in the future.

Downloads