วัฒนธรรมแตรวงชาวบ้าน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • รณชัย รัตนเศรษฐ

Keywords:

วงดนตรีไทย, ดนตรีไทย, แตรวง, วัฒนธรรม, ชลบุรี - - ความเป็นอยู่และประเพณี

Abstract

งานวิจัยเรื่อง  “วัฒนธรรมแตรวงชาวบ้าน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี”มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประวัติ พัฒนาการ วิถีชีวิต อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาทางดนตรี การสืบทอด และแนวทางการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมแตรวงชาวบ้าน  อำเภอพานทอง  จังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ตามแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการทางด้านดนตรีวิทยาเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทางด้านดนตรี โดยสามารถสรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้                 ในด้านประวัติ  พัฒนาการ   และวิถีชีวิตของวัฒนธรรมแตรวงชาวบ้าน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี  คณะแตรวงในพื้นที่ฯ ได้รับองค์ความรู้มาจากแตรวงทหาร และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้สืบทอดกันต่อๆกันมา มีบทบาทกับวิถีชีวิตในชุมชนโดยการเข้าร่วมในประเพณี พิธีกรรมต่างๆที่ผูกติดกับความเชื่อของคนในชุมชน ซึ่งยังคงดำเนินมาถึงในปัจจุบัน                 ในอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาทางด้านดนตรี การสืบทอด และแนวทางในการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมแตรวงชาวบ้าน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี คณะแตรวงในพื้นที่ฯ ได้สร้างองค์ความรู้ด้านการประสมวง การบันทึกโน้ต จากภูมิปัญญาชาวบ้าน  และสามารถปรับใช้ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดยมีแนวทางการสืบทอดต่อๆกันมาในแต่ละรุ่นจนถึงในปัจจุบัน คำสำคัญ: วัฒนธรรม  แตรวงชาวบ้าน                                                                                                                            This research study“Folk-brass band culture in Phanthongdistrict,Chonburi” Aims to study history, development, ways of life, identity, musical intellectual property, inHeritance of music and the existence of Folk-brass band culture from Phanthong district,Chonburi. The research was conducted by using the qualitative research method in socio-Cultural. The methods were used to analyze and synthesize information of the MusicologyOf music. The findings were as follows.                 In term of history, development, and ways of life of this Folk-brass band culture inPhanthong district, Chonburi, this brass band gained knowledge from military brass bandAnd the knowledge was carried on from generation to generation. They have roles in thecommunity which continue to the present.                 In term of identity, musical wisdom, inheritance,  and the existence of Folk-brassBand culture from Phanthong district, Chonburi, the Folk-brass band has built the body ofKnowledge on the combining of bands, recording music notation from the folk wisdom, andThe band can adapt the music to the changing society. The knowledge was passed downTo the younger generation until today. Key words: Culture Folk-Brass Band    

Downloads