งานทดลองการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยสมัยใหม่ (โนรา)

Authors

  • จุฬาลักษณ์ เอกวัฒนพันธ์

Abstract

ในปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ การเป็นประชาคมอาเซียน ตามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหนึ่งในข้อตกลงได้พูดถึง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนสำหรับผู้ทำงานสร้างสรรค์ในด้านศิลปะการแสดง การที่ประเทศไทยนั้นจะสามารถดำรงความเข้มแข็งในด้านสังคมวัฒนธรรมได้นั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนที่มีการสืบทอด และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โนรา ถือว่าเป็นการรำที่งดงาม มีความเป็นพื้นถิ่นแต่ขณะเดียวกันก็มีลักษณะร่วมกับงานศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาคของตอนใต้ของไทย รัฐทางเหนือของมาเลเซีย การศึกษาเรื่อง โนรา ในครั้งนี้เพื่อค้นหาแนวการพัฒนางานร่วมสมัยจากโนราของภาคใต้ มุ่งเน้นการพัฒนางานที่มีความพ้องกับงานดั้งเดิม โดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์และแนวคิดแบบสากล สร้างสรรค์ผลงานทดลอง 3 ชิ้น 1. บิน 2. คล้องหงส์ 3. กรายท่า 1ผลการทดลอง พบแนวทางการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนส่วนที่ 1 นักแสดง นักศึกษา ที่มีพื้นฐานจากโนราจะมีต้นทุน (ท่าโนรา) จึงสามารถปรับใช้งานได้ สิ่งสำคัญสำหรับนักแสดงแบบประเพณีคือการเปิดใจยอมรับ และทำความเข้าใจจึงจะสามารถพัฒนากระบวนการจากแนวความคิดได้ สำหรับ นักแสดง อาจารย์ ศิลปิน การนำอาจารย์ศิลปินที่มีองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน ทำให้มีการพูดคุยเเลกเปลี่ยนทัศนคติในการทำงาน ทำให้เกิดการเสริมสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจต่องานศิลปะร่วมสมัยส่วนที่ 2 การแสดง ผู้สร้างสรรค์ได้ค้นพบแนวทางการพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์และแนวคิด-หลักการออกแบบมาใช้เพื่อสร้างงานศิลปะใหม่ที่พัฒนามาจากวรรณกรรมของไทยนาฏศิลป์ไทย เเละนาฏศิลป์โนราพื้นบ้านที่ไม่ใช่การทำซ้ำกับงานแบบประเพณีก่อให้เกิดรูปแบบการสร้างฟอร์มใหม่ รูปแบบการดำเนินเรื่องใหม่ และการสร้างมิติให้กับการแสดงและตัวละครผลการทดลองสร้างงานทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะสามารถสร้างอัตลักษณ์ทางความคิดที่สัมพันธ์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมเดิมในการอนุรักษ์ รักษาและพัฒนาไป เพื่อตอบสนองสังคมประชาคมอาเซียนในโอกาสต่อไป

Downloads