กลองมโหระทึก: มรดกภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง
Keywords:
Kettle drum, culture, the basin of Mekong River, กลองมโหระทึก, วัฒนธรรม, ลุ่มน้ำโขงAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบ คติสัญลักษณ์ ของกลองมโหระทึกในประเทศกลุ่มลุ่มน้ำโขง ที่ปรากฎตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) วิเคราะห์ถึงบทบาทของกลองมโหระทึกในวิถีชีวิตคนในสังคม เกษตรกรรมลุ่มน้ำโขง และ 3) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงบทบาท และสถานภาพของกลองมโหระทึกในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์สืบสาน และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้ดำรงอยู่สืบไป โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กลองมโหระทึก เป็นมรดกภูมิปัญญาที่สืบสานขับเคลื่อนเชื่อมโยงทางด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างภาคใต้ของประเทศจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลองมโหระทึก ได้แพร่กระจายอยู่ภาคใต้ของประเทศจีนและบรรดาประเทศ อาเซียน ได้แก่ ประเทศจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม บทบาทสำคัญคือการใช้ประกอบในพิธีกรรมตามความเชื่อที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ เกียรติยศ ความร่ำรวย ฐานันดร การใช้สำหรับส่งอาณัติสัญญาณในการระดมพล การสงคราม การแจ้งข่าว รวมถึงการใช้เป็นเครื่องดนตรีในงาน บันเทิงและงานประเพณีต่าง ๆ ด้วย ปัจจุบันแม้ว่ากลองมโหระทึก จะยังมีใช้อยู่ทั้งในงานพระราชพิธี ประเพณีสำคัญ รวมถึงการใช้ ในการประกอบพิธีกรรมของกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ของหลายประเทศ ทว่าได้ลดบทบาทและความสำคัญลง ที่สำคัญยังคงอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญหายอย่างมากทั้งในมิติของศิลปะรวมถึง วัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกลองมโหระทึกที่เกิดขึ้นทั่วไปในกลุ่ม ประเทศที่ทำการศึกษา ดังนั้นจึงควรมีการนำผลวิจัยนี้ไปใช้ เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ สืบทอด และฟื้นฟูวัฒนธรรม กลองมโหระทึกให้ดำรงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อไป Objectives of the research included 1.) To study the Kettle drum’s and its unique among the Mekong sub region’s countries that have been shown evidences from its long historical and up to the present time 2.) To analyses how the drum related to farmers lifestyle in this region and 3.) To analyses changing trend of its roles in Thailand in order to preserve, continue and development this cultural valued to be continued in accordance with this research for further development and disseminations. The research findings found that the Kettle drum was one of the indigenous knowledge of Chinese and Southeast Asia cultural heritages, as the Kettle drum was spread in the southern part of China and some countries in Asia such as China, Myanmar, Laos, Thailand, Cambodia and Vietnam. Roles of the Kettle drum was strongly involved with belief and daily practices as well as honor, wealthy and power. The Kettle drum was also be used in gathering people for joining wars, making announcements and to be used as music instrument in traditional events. At the present time many countries still use the Kettle drum as music instrument to important events in particular for the Kings and ethnic significant events. Recently there is a level of concern of losing the use Kettle drum in many aspects, therefore we should use this research findings to be a guidance for using, preservation and renovation of the Kettle drum for beneficial of our future generation.Downloads
Issue
Section
Articles