หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสร้างสรรค์ประติมากรรม

Authors

  • รุจน์ ถวัลย์อรรณพ

Keywords:

หลักเศรษฐกิจพอเพียง, การสร้างสรรค์, ประติมากรรม

Abstract

บทความวิชาการฉบับนี้ได้แรงบันดาลใจจากการศึกษา พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. วิเคราะห์และสังเคราะห์หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเชื่อมโยงกับแนวความคิดและวิธีการทางศิลปะ 2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับองค์ความรู้ที่ได้ประยุกต์มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง, 3. เพื่อสื่อสารกับผู้ชื่นชมผลงานศิลปะ ได้เข้าใจแนวคิดการทำเกษตรตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงผ่านการวิเคราะห์กระบวนการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ภายใต้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง  นำไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์งานประติมากรรมสื่อสาระหลัก ผลการศึกษาพบว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีเนื้อหาประกอบด้วยพระราชกรณียกิจ หลัก 9 กลุ่ม เนื้อหา เรื่องราว และความหมายทั้งหมด ถูกนำมาถ่ายทอดผ่านลวดลาย สัญลักษณ์ ตัวเลขไทย ทั้ง 9 ตัว เพื่อบอกเล่าคุณูปการที่ในหลวงรัชการที่ 9 ทรงวางรากฐานการจัดการปัญหา ทรัพยากรของประเทศไทย ซึ่งแสดงถึงพระปรีชาสามารถและความห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์  สื่อสาระดังกล่าว ถูกประกอบสร้างเป็นงานประติมากรรมเพื่อสะท้อนแนวคิดและดึงดูดผู้สนใจ ได้หวลระลึกถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจที่พระองค์ทรงพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนในสังคมไทยเศรษฐกิจพอเพียง หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการทำงานที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ที่สุดด้วยความตั้งใจ วิริยอุตสาหะโดยแสวงหาความรู้ เพิ่มเติม ตลอดเวลาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และดำรงตนอย่างพอเพียง เป็นสุข พัฒนาคุณภาพชีวิต ไปพร้อมกัน (มูลนิธิชัยพัฒนา, 2560) The article is inspired by the study from the royal duties of a great King Rama IX. The objectives is (1) to analyze and synthesize the philosophy of sufficiency economy to associate with the concepts and methods of the art (2) to create a sculpture complying with knowledge derived from the philosophy of sufficiency economy  (3) to communicate with people and more understanding the concept of agriculture based on the philosophy of sufficiency economy through analysis of the process of the work of King Rama IX under the sufficiency economy philosophy and  leading to the process of creating a sculpture. The study found that the sufficiency economy philosophy contains 9 groups of the royal duties. The content, stories, and meaning are communicated as patterns, symbols, and 9 Thai numerals to inform the foundation of Thailand's resource management of King Rama IX. All contents are assembled to create a sculpture to reflect the concept and attract people interested to remember the economic philosophy that King Rama IX developed a sustainable society in Thailand. Sufficiency Economy The sufficiency economy philosophy refers to working with worthwhile sources to produce the most complete work piece with good attention, effort and continuous learning and improvement so that we have got quality product and live our lives with sufficiency, happiness and better quality of living at the same time.

Downloads