ภาพสะท้อนทางวัฒนธรรม จากวรรณกรรมเพลงยาว เรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ และเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ

Authors

  • มัชฌิมา วีรศิลป์

Keywords:

หม่อมเป็ดสวรรค์, พระอาการประชวร, กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ, กลอนเพลงยาว

Abstract

          กลอนเพลงยาว เรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ และเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสร สุดาเทพ ผู้แต่งคือ คุณสุวรรณ ซึ่งเป็นกวีหญิงที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งวรรณกรรมทั้งสอง เรื่องนี้ ปรากฏภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมไทย ทั้งในส่วนของวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ และวัฒนธรรมที่ ไม่ใช่วัตถุ วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ ที่ปรากฏในกลอนเพลงยาว เรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ และเรื่องพระ อาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ คือ อาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ ที่ปรากฏในกลอนเพลงยาว เรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ และเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสร สุดาเทพ คือ ความเชื่อ และค่านิยม วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ ที่ปรากฏใน กลอนเพลงยาว เรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ และเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เป็นวัฒนธรรมที่ยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้วรรณกรรมกลอนเพลงยาวทั้งสองเรื่องนี้ เปรียบ เสมือนจดหมายเหตุแห่งยุคสมัย ที่บันทึกเรื่องราวในอดีตส่งต่อมาถึงปัจจุบัน           The Thai octameter poem about Mom Ped Sawan and the illness of Krommamun Apsorn Sudathep were written by Khun Suwan, a famous female poet during the reign of King Rama III. Both manuscripts reflect Thai cultures in terms of material culture and nonmaterial culture. The material culture that appeared in the Thai octameter poem about Mom Ped Sawan and the illness of Krommamun Apsorn Sudathep involved food and tools. The nonmaterial culture that appeared in the musical poems about Mom Ped Sawan and the illness of Krommamun Apsorn Sudathep involved beliefs and trends. Both material and nonmaterial cultures which appeared in the Thai octameter poem about Mom Ped Sawan and the illness of Krommamun Apsorn Sudathep are cultural heritage that has been passed down to the present, making both Thai octameter poems manuscripts comparable to archives of an era that record stories from the past to the present.

Downloads