การออกแบบสื่อสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น : เจดีย์ของวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Keywords:
การออกแบบ, ผู้พิการทางการมองเห็น, ประวัติศาสตร์, ศิลปะไทยAbstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อออกแบบสื่อสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น กระตุ้นให้ผู้พิการทางการมองเห็นเกิดจินตภาพทางโบราณสถานในรูปแบบของเจดีย์ทรงต่างๆ ของวัดราชบูรณะพระนครศรีอยุธยา และประเมินผลความ พึงพอใจต่อการออกแบบสื่อสำหรับผู้พิการทางการมองเห็นโดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมและการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ใช้กับกลุ่มผู้พิการทางการมองเห็น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือผู้พิการทางการผู้พิการทางการมองเห็น ตาบอดแต่กำเนิด จำนวน 3 คน และผู้พิการทางการมองเห็นที่ไม่ได้ตาบอดแต่กำเนิด 3 คน ผลการวิจัยพบว่าขนาดของสื่อไม่มีผลต่อการสัมผัสของผู้พิการทางการมองเห็น และการบรรยายลักษณะของเจดีย์ควรอ้างอิงกับรูปทรงเรขาคณิตจะสามารถทำให้ผู้พิการทางการมองเห็นจินตภาพได้ และเข้าใจสื่อโดยเห็นคุณค่าทางศิลปะและเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย The research aims to focus on designing the medias for the impaired visual people with goals to stimulate the experience of recognition, together with activation and creation of historical imagery as well as archaeological place in case study of Wat Ratburana with evaluation of the success of visual media designed for the visually impaired groups. Based on participatory research and experimental design, the visually impaired had been provided an opportunity for being participant and testing perspective and imagery needed for visually impaired. The collecting information of media designed was gathered to test its utilization by the two visually impaired groups referring to the people who were blind from birth and who become blind after. The result showed that as descriptions of the chedi's characteristics based on geometric shapes, that would enable the visually impaired to create their perspective and imagery. The visually impaired people could understand medias and value of Thai art, aware and proud of being Thai.Downloads
Issue
Section
Articles