วิถี คติ ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวไทยเชื้อสายจีน กับการจัดพื้นที่ศาสนสถาน ชุมชน ศาลเจ้าจีน ในพื้นที่ วัฒนธรรมลุ่มน้ำบางปลาสร้อย – ชลบุรี เขตบางปะกง – ฉะเชิงเทรา

Authors

  • สมาน สรรพศรี

Keywords:

ภูมิปัญญา, การจัดพื้นที่, ศาสนสถานชุมชน, วัฒนธรรมลุ่มน้ำ

Abstract

          จากอดีตบรรพบุรุษชาวไทยเชื้อสายจีน ในยุคแรกของการอพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่ เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณชุมชนชายทะเลบางปลาสร้อยและปากอ่าวแม่น้ำบางปะกง มีอาชีพเป็นลูกจ้าง และชาวประมง ต่อมาเริ่มทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยใช้ฐานระบบเครือข่ายแบบตระกูลแซ่ ด้วยระบบเครือญาติที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่หมู่บ้านหรือเมืองเดียวกัน ทำให้ชุมชนชาวจีนมีฐานะดีขึ้น ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนชาวจีนซึ่งเกิดการย้ายพื้นที่และการขยายตัวของพื้นที่ตลาด จากปากแม่น้ำบางปะกงขยายตัวไปตามริมฝั่งแม่น้ำจนเข้าสู่เขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา รวมทั้งบางปลาสร้อยก็ขยายตัวจากซอยสะพานตามริมทะเลเข้าสู่ตลาดบนตลาดล่างชุมชนหน้าวัดใหญ่อินทารามทำให้บริเวณนี้กลายเป็นแหล่งชุมชนของชาวจีนที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้นการศึกษาคติความเชื่อและภูมิรู้ชาวไทยเชื้อสายจีน ในพื้นที่วัฒนธรรมลุ่มน้ำ กับการจัดการพื้นที่ศาสนสถานชุมชน ศาลเจ้าจีนในเขตบางปะกง ฉะเชิงเทรา – บางปลาสร้อย ชลบุรี จึงเป็นการศึกษาพื้นฐานความเชื่อความศรัทธาดั้งเดิมของชาวจีนในพื้นที่ที่มีต่อบรรพบุรุษ องค์เทพต่าง ๆ ทั้งแนวคิดเรื่องการไหว้ฟ้าดิน และความต้องการสถานที่อันเป็นศูนย์รวมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ โดยมีศาลเจ้าเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวจีน ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อในขนบประเพณี          จากการศึกษาพบว่าการพัฒนาการศาลเจ้าในวัฒนธรรมลุ่มน้ำ ประกอบด้วย แนวคิดที่ 1 เป็นกลุ่มสถานที่ไหว้ฟ้าดินเขตเมืองหลักสี่ทิศของอำเภอเมือง แนวคิดที่ 2 กำเนิดอาคารสิ่งก่อสร้างศาลเจ้า ในระยะเริ่มต้น บางแห่งนำเอาเฮียห้วย (ขี้ธูป) กระถางธูป หรือผงขี้เถ้าธูป มากจากเมืองจีน หรือจากศาลเจ้าใหญ่ นำมาบูชา เริ่มจากศาลเจ้าขนาดเล็ก หลังคามุงจากมาเป็นโครงสร้างไม้ จนพัฒนามาเป็นอาคารทรงตึก ก่ออิฐถือปูน ลักษณะรูปแบบของศาลเจ้า เป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างแต้จิ๋วเป็นต้นแบบในการพัฒนาและคลี่คลายขยายขนาดและจำนวนชั้นในช่วงหลังต่อมา มีรูปแบบ การสร้างสรรค์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ตกแต่งสวยงาม มีการรับอิทธิพลแบบแผนคติความเชื่อจากศิลปะศาลเจ้าจีนต้นแบบ มีคุณค่าทางความงามความวิจิตรของฝีมือช่างที่เป็นช่างท้องถิ่นและช่างรับเหมาจากนอกพื้นที่ โดยศาลเจ้าจีนปรากฏอยู่ทั่วไปนั้น นอกจากเป็นสถานที่พึ่งทางใจตามคติความเชื่อประเพณีดั้งเดิมศาลเจ้าจีน ยังมีคุณค่าทางศิลปกรรมความงามความวิจิตรเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมที่มองเห็นได้ คงอยู่เป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีของชาวจีนในวัฒนธรรมลุ่มน้ำ           According to the immigration from mainland, China, Thai-Chinese ancestors settled in the seaside of Bangplasoi and Ao Bang Pakong River working as employees, fishermen. Later they began trading goods by using network system of family surname “SAE” who migrated from the same village of mainland. This made Chinese community has a better life and increased in the number of Chinese people to expand the marketing area from Ao Bang Pakong River, along the river, to district of Chachoengsao including Bangplasoi. Bangplasoi was expanded the area by constructing bridges along the seaside into the market (Talaat Bon and Talaat Lang) and community in front of Wat Yai Intharam Royal Monastery which made this area become the largest Chinese community. Therefore, the study of beliefs and knowledge of Thai-Chinese people in the area of cultural watershed with space management, religion, and Chinese shrine of Bang Pakong – Chachoengsao and Bangplasoi – Chonburi is the study of the traditional faith beliefs of the Chinese in the area and the idea of worshiping the earth and the need to place a sacred center for rituals according to faith. The shrine is a cultural area of the Chinese community which occurs from the belief in tradition.          The study found that the development of the Shrine in Watershed culture consisted of two concepts as the following: the first concept is as a group of place that worshiping the earth in four main directions of city. The second concept is constructing shrines by using wood as structures to create small shrine and worshiping incense ash from China of main shrine. Then, the wooden structure of shrine was developed to brick building styles of the shrine which is the architecture of the Chaozhou as a model to develop and expand the size including the number of floors. Moreover, sculpture, painting, and beautiful decoration, which influenced by the traditional beliefs of Chinese art arranged in the shrine. This is valuable to the beauty of craftsmanship, local craftsmen, and contractors from outside area. In addition to being a spiritual place, according to traditional beliefs, Chinese shrines are also valuable in the arts, beauty, and magnificent as a visible cultural evidence including to remain a historical traces of Chinese culture and traditions in the watershed.

Downloads