ปรากฏการณ์ความเชื่อใหม่ของรูปเคารพที่ปรากฏในลุ่มน้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา : ดินแดนแห่งวัฒนธรรมสามน้ำ

Authors

  • พนัชกร เพชรนาค
  • พงศ์พัฒน์ เจริญวารี

Keywords:

ปรากฏการณ์, ความเชื่อ, รูปเคารพ, ลุ่มน้ำบางปะกง

Abstract

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะและรูปแบบของรูปเคารพตามความเชื่อที่ปรากฏ 2) ศึกษามิติมุมมองของปรากฏการณ์ทางความเชื่อใหม่ของรูปเคารพและวัฒนธรรม 3 น้ำ บริเวณลุ่มน้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของประติมากรรมที่มีผลต่อชุมชนในพื้นที่ โดยใช้วิธีการศึกษาภาคสนาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษารูปเคารพตามความเชื่อที่ปรากฏในลุ่มน้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 6 วัด ได้แก่ วัดโสธรวรารามวรวิหาร วัดจีนประชาสโมสร วัดอุภัยภาติการาม วัดสาวชะโงก วัดหัวสวน และวัดสมานรัตนาราม แล้วอธิบายด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์          จากการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะรูปแบบของรูปเคารพตามความเชื่อที่ปรากฏเป็นรูปเคารพตามความเชื่อที่หลากหลาย คือ รูปเคารพตามความเชื่อแบบพุทธไทย – พุทธจีน รูปเคารพตามความเชื่อทางศาสนาพุทธร่วมกับพิธีกรรมแบบพราหมณ์ และรูปเคารพของศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะของรูปแบบเคารพที่พบนั้นสรุปได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางความเชื่อของวัฒนธรรมลักษณะร่วมหรือหน่วยเชิงซ้อนทางวัฒนธรรม ที่เกิดการผสานกันกับวัฒนธรรมของพื้นที่ดั้งเดิมของท้องถิ่น 2) ด้านมิติ มุมมองของปรากฏการณ์ทางความเชื่อใหม่ของรูปเคารพที่ปรากฏ เป็นรูปเคารพตามความเชื่อที่เข้ามามีบทบาทต่อคนในพื้นที่มาช้านาน ในรูปแบบของความคิดเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพบว่ารูปเคารพตามความเชื่อของสังคมที่สร้างขึ้นในพื้นที่ก่อเกิดเป็นพัฒนาการทางความเชื่อของสังคม ที่เชื่อในอานุภาพว่ามีบารมีคุ้มครองให้เกิดความสุข เกิดความเจริญรุ่งเรืองและยึดเหนี่ยวจิตใจ และ 3) เกิดรูปเคารพตามความเชื่อใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อดึงดูดให้ผู้คนแวะเวียนมากราบไหว้ขอพร และเข้ามาบริจาคทำบุญในพื้นที่           The purpose of this research aimed 1) to study characteristics and models of holy icons following the beliefs, 2) to study dimensions and perspectives of the new ideological phenomenon concerning the holy icons and the three-water ways culture in the area of the Bang Pakong Basin, Chachoengsao Province and also 3) to study the relation of sculpture affecting the local community by fieldwork participant observation, informal interview for collecting data. According to study the holy appearing icons in the area of the Bang Pakong Basin, there are six temples: Sothornwararam Worawiharn Temple, Chinpracha Samosorn Temple, U-phiaphatikaram Temple, Sao Changok Temple, Hua Suan Temple and Samarn Ratanaram Temple with descriptive analysis.          It was found that 1) the caracteristics and models holy icons have been molded in various forms. They were built in both the Thai-Buddhist beliefs and the Chinese-Buddhist ones. Moreover, the holy icons were molded following a combination of the Buddhist and Brahman beliefs. According to the holy icons found in the six temples, it could be summarized that they were the ideological phenomenon of holistic culture of cultural complex which had been generated by a combination of primitive local culture, 2) For the dimension on the new ideological phenomenon, it was found that the holy icons following the local people’s belief had played an important role in determining the local people’s ways of life in Chachoengsao province for long time ago by the holy icons appearing in each local community which had generated a development of social belief, power of merit with happiness, glory and trust, and 3) the new holy icons were built to attract a wide range of visitors to pay homage and make a wish as well as donate for the temples.

Downloads