กระบวนการปรับตัวของชุมชนท่าสะอ้านในกระแสระบบทุนนิยม

Authors

  • ธีระพงษ์ ทศวัฒน์
  • นิกร กาเจริญ

Keywords:

กระบวนการปรับตัว, คุณค่าทางวัฒนธรรม, กระแสทุนนิยม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปรับตัวของชุมชนในรูปแบบของการใช้วัฒนธรรมชุมชนเป็นเครื่องมือในการสร้างอัตลักษณ์และระบบคุณค่าของชุมชน อีกทั้งงานวิจัยชิ้นนี้ยังเป็นการศึกษาที่ย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของชุมชน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และวิถีชีวิตวัฒนธรรมชุมชนที่ยังแฝงรากลึกเอาไว้และก่อเกิดให้เป็นพลังในกระแสการพัฒนาท้องถิ่นโดยนำเอาทุนทางสังคมที่มีอยู่นั้นเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนและการแก้ไขปัญหาของชุมชนภายใต้การเข้ามาของกระแสระบบทุนนิยม          ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนท่าสะอ้านมีกระบวนการในการปรับตัวด้านเศรษฐกิจของชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางการประกอบอาชีพ การสร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงการอนุรักษ์คุณค่าทางวัฒนธรรม โดยคนในชุมชนมีกระบวนการในการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ของชุมชน ประเพณีที่สำคัญและอัตลักษณ์ของชุมชนร่วมกัน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในระบบการศึกษาและการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนหลากหลายมิติ และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน การพัฒนา การแก้ไขปัญหาของชุมชนและการสร้างเสริมด้านความมั่นคงในการดำรงชีวิต อีกทั้งกระแสการท่องเที่ยวของชุมชนที่กำลังก่อตัวขึ้นนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของชุมชนที่จะดึงนำมาเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งในการสร้างรายได้และการพัฒนาชุมชนควบคู่ไปกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนได้อีกด้วย          ดังนั้นชุมชนจึงได้นำเอาต้นทุนทางสังคมที่มีอยู่เดิมแล้วในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมชุมชนมาประยุกต์ใช้และผสมผสานในการปรับตัวของชุมชนท่าสะอ้านให้กลายเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมในการขายสินค้าของชุมชน การจัดลานค้าชุมชนและการอนุรักษ์บ้านไม้เก่าเพื่อยังคงรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนเอาไว้           The research was to study community adaptation by community culture to create identity and values system. This research is also a study the community history, local history, way of life and the local development process in situation of the capitalism to manage social capital into the community development and solving community problem.          The research result found that the adaptation of the community economic should be have a process that creates a stable cultural preservation, occupation and community income. The people in the community and their families had a can learn local culture, community history important traditions and community identities through the process of learning in the education system and community activities in a variety of dimensions.          The participation of community cloud be take the major role in activities or learning process in the context of the community for the community preparation to become a new tourist attraction in Chachoengsao, increate community income and cultural conservation.          Therefore, the community has adopted the existing social capital, local wisdom and community culture to establish the community of Tha Sa An to become a cultural area as a community space to sell community products and preserve old wooden houses to maintain the identity of the community.

Downloads