กระบวนการเรียนรู้และจัดการความรู้เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีชุมชนริมน้ำบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Authors

  • วชิรพงษ์ มณีนันทิวัฒน์
  • นพดล ใจเจริญ

Keywords:

กระบวนการเรียนรู้, สื่อเรียนรู้, ภาคีเครือข่าย, วัฒนธรรม, มรดกทางวัฒนธรรม

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสังเกตวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมในการศึกษาและการสัมภาษณ์ และมีรายละเอียดในการศึกษาค้นคว้า เรื่อง กระบวนการเรียนรู้และจัดการความรู้เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีชุมชนริมน้ำบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง 2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเพื่อการอนุรักษ์องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ผลการวิจัยสรุปพบว่ากระบวนการเรียนรู้องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง มีความหลากหลาย แต่ยังไม่มีการจดบันทึกองค์ความรู้ที่เกิดจากวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงอย่างมีระบบ มีเพียงการถ่ายทอดด้วยมุขปาฐะของบรรพบุรุษ สู่ลูกหลายหรือข้อปฏิบัติตามผู้มีอายุในชุมชน และมีระบบการถ่ายทอดโดยอาศัยการจดจำและดำเนินกิจกรรมโดยหน่วยงานภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ แต่องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลมีน้อยมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญหาย ภาครัฐและสถานศึกษาเป็นหน่วยงานหลัก ที่มีการสนับสนุนและจัดโครงการกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเพณีงานบวช ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีแห่หลวงพ่อพระพุทธโสธรทางน้ำ ประเพณีตรุษจีน ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีทอดกฐิน เป็นต้น ด้วยการสนับสนุนให้บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ สถานศึกษาร่วมมือโดยนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นประจำ และได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทางด้านวัฒนธรรม          จึงสมควรสนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้และวิธีการอนุรักษ์ถ่ายทอดทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงอย่างมีระบบ มีการจัดเก็บให้อยู่ในรูปแบบแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน เช่น หนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง เพื่อให้คนในชุมชนเกิดจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อไป           This research was conducted through was qualitative research methodology by observing the in-depth interview. The researcher participated to the study and interview as well as the details of research entitled “The Learning Process and Knowledge Management for Cultural and Tradition Preservation of the Bang Pakong and the Bang Pla Soi Riverbank Communities: A Case Study of Bang Pakong Sub-district, Bang Pakong District, Chachoengsao Province”. This research was aimed 1) to study the learning process of the body of knowledge on culture, tradition and ways of life of those who lived at the river bank communities of the Bang Pakong River, 2) to study a management process in preserving the body of knowledge on culture, tradition and ways of life of those who lived at the river bank communities of the Bang Pakong River, and 3) to use as a learning source of the body of knowledge on culture and tradition of the Bang Pakong and the Bang Pla Soi Riverbank Communities. The findings could be summarized as follows:          The findings revealed that the process of the body of knowledge on culture, tradition and ways of life of those who lived at the river bank communities of the Bang Pakong River was diverse. However, it had not been systematically recorded in writing, but it was passed on through their ancestors’ oral literature to the younger generation. Also, it was transmitted through the elderly in the community through remembrance. Importantly, the public sectors took part to preserve this body of knowledge. When the body of knowledge was scarcely produced, it was likely risky to be disappeared.          Interestingly, the support was mostly provided by the public sectors, cultural alliance network and schools where their students had been regularly participated. They supported and promoted many activities relevant to culture, tradition and ways of life of the riverbank communities of the Bang Pakong River, e.g., the ordination tradition, the wedding tradition, the waterborne procession of Luang Phor Sothorn Buddha Image, Chinese New Year tradition, Songran Thai new year tradition, Kathin-robe offering ceremony etc.          By this, it was appropriate to support systematically a learning process and preservation process in a transmit of culture, tradition, ways of life of the riverbank communities of the Bang Pakong. The learning process should be preserved in the various kinds of learning media suitable for the present-day society like book, e-media, etc. in order to serve as a learning source concerning culture, tradition and ways of life of those who lived at the river bank communities of the Bang Pakong River. Also the learning process took part to arouse people’s awareness and realization on the importance of the ancestors’ cultural inheritances.

Downloads