ประเพณีพิธีกรรมเรื่องข้าวของชาวไทยยวนรอบวัดหนองโนเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

Authors

  • ชัยชาญ จารุกลัส
  • ภรดี พันธุภากร

Keywords:

ไทยยวน, วัดหนองโนเหนือ, ประเพณี, พิธีกรรม, ข้าว

Abstract

           ชาวไทยยวนรอบวัดหนองโนเหนือเป็นกลุ่มเดียวกับชาวไทยยวนในอำเภอเสาไห้ ที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเชียงแสนในพุทธศตวรรษที่ 24 ชาวไทยยวนกลุ่มนี้มีอาชีพทำนาเป็นพื้นจึงมีภูมิปัญญาวัฒนธรรมเกี่ยวกับการทำนาปลูกข้าวอยู่ในวิถีชีวิตปฏิบัติเป็นประจำในแต่ละปี ปรากฏให้เห็นในรูปของประเพณี พิธีกรรม และคติความเชื่อที่ถือ โดยมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในพหุสังคมของพื้นที่นี้ สิ่งเหล่านี้นับเป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยยวนในพื้นที่นี้ ซึ่งในปัจจุบันกำลังเลือนหายไปเนื่องจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมสมัยใหม่ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับภูมิ-ปัญญาเหล่านี้ การศึกษาและการจัดการวัฒนธรรมเหล่านี้จึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมที่ยังหลงเหลือร่องรอยอยู่ เพื่อนำมาสร้างเป็นองค์ความรู้และนำไปใช้ในการบริหารจัดการวัฒนธรรมให้เกิดการพัฒนาสำหรับคืนสู่เจ้าของวัฒนธรรมและเผยแพร่ในสังคมไทย            Thai Yuan People around Nong No Nuea Temple are from the same clan of the Thai Yuan People in Sao Hai District, whose ancestors were brought from Chiang Saen Kingdom in 24th Buddhist Century. Thai Yuan People of this clan grow rice. Thus, they have wisdom and culture that are related to rice farming in their way of life, which have also been manifested as traditions, rites and beliefs that are withheld and annually held. Such traditions have also been mixed with cultures of other ethnic groups in the multicultural society in the neighborhood. Such things are cultural aspects that are valuable and unique of Thai Yuan People in the neighborhood, which are fading away nowadays due to the adjustment to modern society the people in which have become less aware of such wisdoms. The study and management of such cultural aspects are thus necessary. The especially important study is a study to collect data about the cultural traces that are remaining in order to restore the body of knowledge to be used for the management of culture in order to lead to development for the owner of the culture and to the further dissemination in Thai society.

Downloads