การสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ร่วมกับสื่ออินเทอร์แอคทีฟ กรณีศึกษา : สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเกม AR สำหรับสาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม

Authors

  • ณัฐกมล ถุงสุวรรณ

Keywords:

สื่ออินเทอร์แอคทีฟ, เกม, สื่อประชาสัมพันธ์, เทคโนโลยีความจริงเสริม

Abstract

          การวิจัยจากผลงานสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเกม AR ของสาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาการออกแบบ และการสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ โดยการใช้สื่อในรูปแบบเกม AR (Augmented Reality หรือความจริงเสริม) 2. เพื่อสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ที่สามารถนำเสนออัตลักษณ์ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม 3. เพื่อสร้างสรรค์สื่อที่ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูล และส่งเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้ได้ วิธีดำเนินการวิจัย คือการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย จากการศึกษาทางด้านทฤษฎี และผลงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องทางด้านการออกแบบ และเทคโนโลยี รวมถึงการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรในกลุ่มเป้าหมาย จากการพูดคุย สัมภาษณ์ความคิดเห็น เกี่ยวกับสื่อประชาสัมพันธ์ของสาขา ที่เคยใช้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบ และสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งได้ผลออกมาเป็นงานสร้างสรรค์นี้ และผลความพึงพอใจจากการใช้สื่อ มีคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับพอใจมาก ถึง พอใจมากที่สุด (4.13 – 4.80) ในหัวข้อหลักของการวัดผล คือด้านความสวยงาม ด้านการสื่อสาร ด้านการนำเสนออัตลักษณ์ของสาขา ด้านการใช้งาน และการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอ           The purpose of this research is to: 1) create an advertising media application. Utilizing AR technology (deployed by The Department of Interactive and Game Design, School of Digital Media, Sripatum University). 2) to study the pedagogical potential of AR technology in advertising media that might be demonstrated and 3) to develop a design framework to guide the creation of an AR application that could enhance users’ learning capability through ‘experiential learning’. Research methods and data collection procedures of the target group(s) include, but not limit to, content analysis, demographic analysis, design and augmented technology theories. Further data collection methods include open-end interview, opinion elicitation (on department’s advertising strategy) to gain insights on how the AR application design could be improved further. Preliminary outcomes ranged from ‘Satisfied’ to ‘Very Satisfied’ (4.13-4.80). The main categories responsible for high score include: artistic style, communicability, department’s identity, usability, and presenting technology.

Downloads