การจัดนิทรรศการชั่วคราวและกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องภาษา และวัฒนธรรมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมิวเซียมสยาม

Authors

  • เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง

Keywords:

พิพิธภัณฑ์, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อาเซียน, นิทรรศการชั่วคราว, กิจกรรมการเรียน

Abstract

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษารูปแบบการจัดนิทรรศการชั่วคราวเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติหรือมิวเซียมสยาม 2. ศึกษารูปแบบการดำเนินกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษา และวัฒนธรรมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือมิวเซียมสยาม และ 3.เสนอแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดนิทรรศการชั่วคราวและกิจกรรม เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แก่สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือมิวเซียมสยามเพื่อเป็นต้นแบบให้แก่พิพิธภัณฑ์อื่น โดยศึกษาระหว่างปีพุทธศักราช 2558-2561 ทั้งก่อนและหลังจากเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเชิงเอกสาร สังเกตการณ์ภาคสนาม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากบุคลากรของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติหรือมิวเซียมสยาม จำนวน 8 คน นักวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาจำนวน 10 คน และผู้เข้าชมมิวเซียมสยาม จำนวน 22 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แนวคิดการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ในการวิเคราะห์และอภิปรายผล ผลการวิจัยพบว่า มิวเซียมสยามจัดนิทรรศการชั่วคราว ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) นิทรรศการของมิวเซียมสยามที่จัดขึ้นภายในอาคารสถานที่ของมิวเซียมสยาม ได้แก่ นิทรรศการประสบการณ์หูสู่อาเซียน นิทรรศการพม่าระยะประชิด นิทรรศการประสานอาเซียน “หลงรัก” ฯลฯ 2) นิทรรศการของหน่วยงานอื่นที่มาจัดในอาคารสถานที่ของมิวเซียมสยาม ได้แก่ นิทรรศการเล่าเรื่องด้วยภาพ เรียนรู้ความต่าง มองประชาคมอาเซียน ฯลฯ และ 3)  พิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ ได้แก่ นิทรรศการพิพิธอาเซียนสัญจร ฯลฯ ขณะที่กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งกิจกรรมในเชิงวิชาการ ได้แก่ การประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ในอาเซียน ฯลฯ และกิจกรรมในเชิงนันทนาการ ได้แก่ กิจกรรมงานวันเด็ก ตอน หนูน้อยตะลุยอาเซียน เป็นต้น สำหรับข้อเสนอสำคัญในการพัฒนานิทรรศการชั่วคราว คือ การขยายเนื้อหาสาระให้ครอบคลุมทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนด้านกิจกรรมควรขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทั้งเยาวชน กลุ่มคนทำงาน และผู้สูงอายุ           The purposes of this qualitative research were studied the temporary exhibitions and learning activities on languages and cultural of Southeast Asia of Museum Siam and recommend the way to developing temporary exhibitions and learning activities in this museum. This research were between 2015-2018 and  after entering the ASEAN Economic Community. The data of this study were collected from field observations and in-depth interviews in which there 40 participations by purposive sampling technique. Data analysis with the museum administration concept. The research result showed that the temporary exhibitions consist of 3 kinds which are 1) the exhibition of Museum Siam which display at the own building such as SA The collective exhibition, Burmese exhibition, and Gloss, Glitter, and Glamour Lacquer as the Glue of ASEAN exhibition etc. 2) other organization exhibition which display at Museum Siam such as ASEAN in Mind exhibition etc. 3) mobile museum such as a journey through ASEAN exhibition etc. Meanwhile, learning activities on languages and cultural of Southeast Asia of Museum Siam consist of academic and recreation activities such as ASEAN Museum Forum conference and Children day activity on kid and ASEAN title. Lastly, recommendation for developing are expand the content to cover all of member countries in Southeast Asia and also expand the target group who cover with youth, worker and older.

Downloads