ชีวิตที่สองของบรรจุภัณฑ์

Authors

  • สุพิศ เสียงก้อง

Keywords:

บรรจุภัณฑ์, กระดาษ, โลหะ, แก้ว, พลาสติก, บรรจุภัณฑ์นำกลับมาใช้ใหม่, Reuse, Recycle, Upcycle

Abstract

          บทความวิชาการนี้กล่าวถึงชีวิตที่สอง ของบรรจุภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้น หลังจากการใช้งานบรรจุภัณฑ์ในครั้งแรก โดยที่บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ทำมาจาก 4 วัสดุหลักได้แก่ กระดาษ โลหะ แก้วและพลาสติก ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์มักจะใช้งานครั้งเดียวแล้วถูกทิ้งเป็นขยะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ก่อปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพลาสติกซึ่งบางชนิดไม่ย่อยสลายในธรรมชาติ ทำให้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก การสร้างชีวิตที่สองให้กับบรรจุภัณฑ์ก็เป็นแนวทางหนึ่งของการกำจัดขยะ หรือลดจำนวนขยะและยังได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ใช้งานได้ โดยที่เกิดประโยชน์หลายทางทั้งลดการใช้พลังงาน ลดการใช้วัสดุใหม่ และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในที่สุด ในการเกิดชีวิตที่สองของบรรจุภัณฑ์นั้นทำได้ใน 3 แนวทาง ได้แก่ 1. การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ (Reuse) เช่น การนำขวดแก้วใช้แล้วมาบรรจุผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ใช้งานต่อไป 2. การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอีกครั้ง (Recycle) เช่น การนำขวดน้ำดื่มพลาสติกใช้แล้วมาหลอมขึ้นรูปเป็นเส้นใยทอพรม หรือผ้าร่มใช้งานได้อีกครั้ง 3. การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วมาแปรสภาพ (Upcycle) เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น นำถุงปุ๋ยมาตัดเย็บเป็นหมวก กระเป๋า หรือ นำขวดแก้วใช้แล้วมาทำเป็นโคมไฟ เป็นต้น โดยที่ทั้งสามวิธีการ สามารถทำได้ตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงระดับองค์กร ในปัจจุบันก็มีการส่งเสริมทั้งภาครัฐและเอกชน ในการจัดการกับขยะบรรจุภัณฑ์ซึ่งจะได้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม และก่อเกิดชีวิตที่สองของบรรจุภัณฑ์ใช้งานได้อีกครั้ง           This academic article discusses the second life of packaging that will occur after the first usage. Most of the packaging is made from 4 materials: paper, metal, glass and plastic. The packaging is often used only one time then dumped as garbage. Environmental problems especially plastics garbage, which some material types aren’t recycle and can contribute to the environmental issue of landfills. Creating a second life for packaging is one way to get rid of garbage or reduce the amount of waste and to get new products that can be used in new benefits. There are many ways to reduce energy consumption, reduce the use of new materials, and finally reduce the environmental problems. In the second life of the packaging can be done in three ways: 1. Reuse packaging such as the use of glass bottles to fill in other products for extending usage time. 2. Recycle product such as the plastic bottle melt it and change to be the carpet fiber. 3. Upcycle changed from disposal packaging to a new product such as sack modify to new hat, bag or glass bottle to make a lamp. It can be done from individual household and expand to corporate level. At present, there is a promotion from both government and enterprise sector to dealing with packaging waste, which will benefit the environment and create a second life of the packaging of higher quality and value than the original packaging

Downloads