แนวทางการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟนในระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟนในระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร 2) สร้างแนวทางการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟนในระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบสอบถามผู้สอนเรื่องสภาพการจัดการเรียน การสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้สอนการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ในระดับอุดมศึกษา วิธีวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่ 1) ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยเปรียบเทียบข้อมูลและสังเคราะห์เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟนในระดับ อุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ในระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉลี่ยอาจารย์ผู้สอนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.6, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาทั้ง 5 ด้าน พบว่ามีเพียง 1 ด้านที่ผู้สอนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (M= 4.47, S.D. = 0.57) 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟนแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) การกำหนดวัตถุประสงค์ ควรครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติแซ็กโซโฟน และมีเจตคติต่อการฝึกปฏิบัติแซ็กโซโฟน (2) เนื้อหาสาระสามารถจำแนกออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่ บทเพลง เทคนิค และความเป็นดนตรีในการปฏิบัติแซ็กโซโฟน (3) กิจกรรมการเรียนการสอนควรมุ่งเน้นพัฒนาการฝึกซ้อมในเรื่องบทเพลง เทคนิค และความเป็นดนตรี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาต่าง ๆ ได้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (4) สื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ แบบฝึกหัดด้านเทคนิคต่าง ๆ อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกฝน เว็บไซด์ ซีดีเพลง เครื่องบันทึกเสียง และการตั้งกล้องเพื่อบันทึกการปฏิบัติของผู้เรียน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของห้องเรียน และ (5) การวัดและการประเมินผล ควรมีวิธีการ ช่วงเวลา และเครื่องมือที่ใช้การวัดและประเมินผลที่หลากหลาย The aims of this research were 1) to study the nature of music instruction management in Saxophone practicum courses for higher education Bangkok 2) to construct guideline for music instruction management in Saxophone practicum courses for higher education Bangkok. This research is a mixed method between quantitative research and qualitative research. The research tools were 1) A questionnaire of nature of music instruction management in Saxophone practicum courses 2) An interview of music instruction management in Saxophone practicum courses for higher education. The data analytic method was divided by data type 1) the quantitative data was analyzed by means and standard deviation 2) the qualitative data was analyzed by content which is data comparison and synthetic data to be guideline for music instruction management in Saxophone practicum courses for higher education Bangkok. The results revealed that 1) the nature of music instruction management in Saxophone practicum courses for higher education Bangkok, the average of teachers’ performance was at a highest level (M=4.6, S.D. = 0.55). When the data were considered with 5 parts, it was found that one parts of teachers’ performance were validate at a high level, music instruction management activity (M=4.47, S.D. = 0.57). 2) The guideline for music instruction management in Saxophone practicum courses was divided for 5 parts consist of 1) objectives specification should cover knowledge, Saxophone skill and attitude with Saxophone practicing 2) The content was able to classify in three topics, lyrics, technique and musical in Saxophone 3) the music instruction management activity should emphasize to develop practicing of lyrics, technique and musical that students can link with content by student center 4) the instructional media consist of print media, technique exercises, implementation for practicing, website, CD, tape recorder and camera setting for students’ performance recording including classroom environment and 5) the measurement and evaluation should be on process, period and various measurement and evaluation tools.Downloads
Published
2022-12-16
Issue
Section
Articles