การเปรียบเทียบลวดลายพันธุ์พฤกษาเครื่องเคลือบดินเผาไทยและจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ในพื้นที่เตาเผาภาคเหนือของประเทศไทย

A Comparative Study of Common Plant Ornaments in Ceramic Paintings in Thailand and China in the 15-16th Century : Taking Kilns in Northern Thailand

Authors

  • WU WENKE

Abstract

เครื่องเคลือบดินเผาของไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 มีความสัมพันธ์การเชื่อมโยงในเชิงวัฒนธรรมระหว่างไทย และจีน ด้วยรูปทรงที่มีลักษณะเฉพาะ จากข้อสันนิษฐานของผู้เขียนสามประการ คือ 1) ข้อได้ เปรียบจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งประเทศจีน ผ่านทางเครื่องเคลือบดินเผาที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนา 2) สังคมไทยมีการตอบรับต่อวัฒนธรรมต่างชาติรวมทั้งการผสม ผสานของวัฒนธรรมพื้นเมืองท้องถิ่นต่าง ๆ และ 3) สืบเนื่องจากนโยบายการห้ามติดต่อการค้าทางทะเลในสมัยราชวงศ์หมิง ประเทศไทยจึงมีโอกาสเริ่มเข้าสู่กระบวนการค้ากับนานาชาติและสามารถเปิดตลาดการค้าด้านเครื่องเคลือบดินเผา ดังนั้นเครื่องเคลือบดินเผาของประเทศไทยในช่วงเวลานั้น ไม่เพียงเป็นภาพสะท้อนถึงการผสมผสานจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทั้งยังแสดงออกถึงก้าวแรกในด้านการค้าอีกด้วย          บทความนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบวัตถุเครื่องเคลือบดินเผาโบราณ และข้อมูลทางเอกสารจำนวนมาก โดยนำลวดลายพันธุ์พฤกษาของในยุคสมัยนั้น มาวิเคราะห์เปรียบเทียบการสร้างลวดลายที่ปรากฏในเครื่องเคลือบดินเผาของไทยและจีน และได้สรุปสังเคราะห์ลักษณะเฉพาะของลวดลายพันธุ์พฤกษาของเครื่องเคลือบดินเผา รวมทั้งการศึกษาคุณค่าทางความงาม ทางสังคมและวัฒนธรรมของลวดลาย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์อิทธิพลของเครื่องเคลือบดินเผาจีนที่มีต่อเครื่องเคลือบดินเผาของไทย รวมทั้งศึกษาอัตลักษณ์พื้นถิ่นของวัฒนธรรมเครื่องเคลือบดินเผาในไทยอีกด้วย      Thai ceramics in the 15-16th century are the special types formed in the process of material and cultural exchange between Thailand and China. The particularity of this type is based on the following reasons. First of all, benefiting from cultural exchanges with China and neighboring countries, Thai ceramics have shown a vigorous trend of development. Second, Thailand is a country that is very good at absorbing foreign cultures and integrating them with its national cultures. Third, due to the sea ban policy in Ming Dynasty,          Thailand opened the ceramic trade and globalization process. Therefore, the Thai ceramics of this period not only embodies the cultural exchange fusion, but also shows the initial characteristics of the global trade at that time, which has important research value. Through a large number of comparison of physical and literature records, this paper makes a comparative study of the ceramic plant patterns in Thailand and China at that time. In order to analyze the influence of Chinese ceramics on Thai ceramics and the national characteristics of Thai ceramic culture, this paper combs and summarizes the characteristics of Thai ceramic plant patterns in this period, and also discusses the aesthetic, social and cultural values behind the patterns.

Downloads

Published

2022-12-16