การออกแบบชุดเครื่องมือดำเนินการวิจัยแบบคอลเจอรอล พรอพ เพื่อการวิจัยสถานที่ : กรณีศึกษา พื้นที่ย่านตลาดน้อย และถนนเจริญกรุง

Cultural Probe Design for The Site Research : A Case Study of Talat Noi and Charoenkrung Road, Bangkok, Thailand

Authors

  • ฝนทิพย์ รังสิตสวัสดิ์

Abstract

บทความนี้เป็นการนำเสนอการศึกษา ทดลอง และพัฒนาออกแบบเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ ในรูปแบบชุดเครื่องมือคอลเจอรอล พรอพ เพื่อการวิจัยสถานที่ โดยมีพื้นที่ย่านตลาดน้อย และถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ตัวอย่าง และการดำเนินการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยที่นำไปสู่การวิเคราะห์ และสรุปผลข้อมูลเชิงคุณภาพที่จะนำไปใช้ในการออกแบบภาษาภาพต่อไป          จากการศึกษา ทดลอง และพัฒนาชุดเครื่องมือคอลเจอรอล พรอพ เพื่อการวิจัยสถานที่ย่านตลาดน้อยและถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร พบว่า คอลเจอรอล พรอพ เป็นวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีข้อมูลเฉพาะเจาะจง แตกต่าง และแปลกใหม่ เมื่อทดลองและพัฒนาชุดเครื่องมือคอลเจอรอล พรอพ และนำไปใช้สำหรับการวิจัยสถานที่ข้อมูลจะมีความหลายหลาก หากมีการวางแผนและออกแบบชุดเครื่องมืออย่างละเอียดรอบคอบ จะได้ข้อมูลการวิจัยที่เป็นประโยชน์สูง ในขณะเดียวกันหากชุดเครื่องมือยังหละหลวม ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยจะสามารถนำมาวิเคราะห์ได้อย่างยากลำบาก          ดังนั้นในขั้นตอนของการออกแบบชุดเครื่องมือดำเนินการวิจัยแบบคอลเจอรอล พรอพ เพื่อการวิจัยสถานที่ ชุดเครื่องมือจึงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนการดำเนินกิจกรรม ช่วงระหว่างการดำเนินกิจกรรม และช่วงหลังการดำเนินกิจกรรม โดยก่อนนำชุดเครื่องมือไปใช้จะต้องมีการวางแผนและกำหนดจุดประสงค์ของการวิจัยอย่างชัดเจน หลังจากนำชุดเครื่องมือจากกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีข้อมูลกลับมาจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลอีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป          This research presents the experimental study and the development of the design of probe kit for the site research, using Talad Noi and Charoenkrung Road, Bangkok as a sample area, lead to analysis and summarize the qualitative data that will be used in the visual language design in the future.          According to the study research, probe kit tool’s experiment, and probe kits development for the site research found that the cultural probe method is the qualitative research, which gain the specific data, a variety of information, and differentiation. After the experiment and development of the cultural probe tools, leading to data analysis, the researcher is required to plan and design the process of the method carefully for gathering the potential information, whereas lacking of the cautiously planning, the researcher will get confused with the data analysis.          However, this research article focus on presenting the development and design of the research toolset to find an effective way to design the research tool and to be applied to further related quality research. It can be divided the structure of the probe kits into 3 parts as pre-process, during the process, and port-process, through careful planning and design of the probe kits. Then the data collection will return to the researcher for further analysis and synthesis of the data and information.

Downloads

Published

2022-12-16