การพัฒนาหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำทดแทนหน้ากากอนามัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์

Development of the Waterproof Mask Fabric for Healthcare Professionals

Authors

  • ธนิกา หุตะกมล
  • อรพรรณ โพชนุกูล
  • เพ็ญวิสาข์ พิสิฏฐศักดิ์

Keywords:

การพัฒนา, หน้ากากสะท้อนน้ำ, COVID19, โควิด19

Abstract

          ด้วยสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรน่า COVID-19 ในทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนกากอนามัย (Surgical Mask) ซึ่งบุคลากรทางแพทย์ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก็ประสบปัญหานี้ เช่นกัน ซึ่งคุณสมบัติของหน้ากากอนามัยจำเป็นต้องป้องกันสารคัดหลั่งได้เบื้องต้น ทางผู้วิจัยจึงได้พัฒนานวัตกรรมซึ่งทำจากวัสดุที่มีในประเทศ ด้วยการใช้ผ้าที่เคลือบสารสะท้อนน้ำ และออกแบบหน้ากากรวมทั้งพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อใช้ทดแทนหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลนในปัจจุบัน จากการทดสอบการสวมใส่พบว่า ต้นแบบหน้ากากที่ 4 เหมาะสมการนำมาผลิตหน้ากากทางการแพทย์มากที่สุด โดยการออกแบบหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำ ประกอบด้วย 3 ชั้น โดยชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นผ้าสะท้อนน้ำเพื่อป้องกันสารคัดหลั่ง และผ้าชั้นที่ 3 ใช้ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์ เพื่อสามารถดูดซับความชื้นของสารคัดหลั่งที่แทรกซึมผ่านได้ ทั้งนี้ในส่วนของชั้นที่ 3 ผู้วิจัยออกแบบให้สามารถใส่แผ่นกรอง เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 และแบคทีเรียได้  According to the situation of the COVID-19 Corona epidemic worldwide including Thailand, which causing the shortage of surgical masks (Surgical Mask) for medical personnel who are at risk and also face this problem. The basic requirement of surgical mask is to prevent secretions. Therefore, the researchers have developed a new innovation from local materials, using waterproof coatings and mask designs as well as developing suitable forms to use for medical personnel. The ware test showed that the 4th model of the mask was best suited to the manufacture of the medical masks. In order to replace the current shortage of sanitary masks by designing a reflective fabric mask consisting of 3 layers of fabric which the 1st and 2nd layers are reflective fabrics to prevent secretions and the 3rd layer fabric is used mixed polyester cotton to be able to absorb moisture of the secretions that penetrate through it. In the 3rd layer, the researchers designed to fit a filter to protect against PM 2.5 dust and bacteria.

References

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19). กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

โครงการระบบฐานข้อมูลอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์. (2561). รายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 2. สถาบันพลาสติก. สืบค้นจาก http://medicaldevices.oie.go.th/box/Article/pdf

พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน). พระมหาอรุณปญฺญารุโณ และ กัญจิราวิจิตร วัชรารักษ์. (2020). สังคมเมืองในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 8(1), 263-276.

วรรณยศ บุญเพิ่ม. (2559). กระบวนการสร้างนวัตกรรมเชิงความหมายของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

M. Suraiya, I. Sopon and U. Sumonmal. (2020). “Coronavirus Disease-19 (Covid-19)” Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, Vol. 14 (2), SE1-10, May-August.

Downloads

Published

2022-12-20