การออบแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่การต่อยอดสินค้าของฝากประจำจังหวัดและการพัฒนาหลักสูตรชุมชนด้านการจัดการด้านการออกแบบและการเพิ่มช่องทางการตลาด : กรณีศึกษา ชุมชนหนองน้ำใส จังหวัดสระแก้ว

Local branding and packaging design to the extension as provincial products and community curriculum development on design management and marketing channels expansion: A Case Study of Hnong Namsai Community, Sa Kaeo Province.

Authors

  • รสา สุนทรายุทธ

Keywords:

การสร้างตราสินค้า, การออกแบบบรรจุุภัณฑ์, การมีส่วนร่วมของชุุมชน, หลักสูตรชุมชน

Abstract

การออกแบบตราสินค้้าและบรรจุุภััณฑ์์ผลิิตภััณฑ์์ท้้องถิ่นสู่การต่่อยอดสินค้้าของฝากประจำจังหวัด และการพัฒนาหลักสูตรชุมชนด้านการจัดการออกแบบและการเพิ่มช่่องทางการตลาด : กรณีศึกษา ชุุมชนหนองน้ำใส จังหวัดสระแก้้ว มีวัตถุุประสงค์์เพื่อศึกษาและค้้นคว้้าวิธีการดำเนินงานของชุุมชนโดย การใช้การคิดเชิงออกแบบ ตัวนำการดึงเอาคนในชุุมชนเข้ามาเพื่อการพัฒนาที่่ยั่งยืน ทำการออกแบบตราสินค้าและบรรจุุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่สามารถสื่อสารและเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า อีกทั้งยังนำไปสู่การออกแบบหลักสูตรชุมชน ท้องถิ่นในระยะสั้นด้านการจัดการ การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากประจำจังหวัด โดยการดำเนินงานจะใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ที่ประกอบไปด้วย อาจารย์ นักออกแบบ ผู้นำกลุ่มผู้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรวมจำนวน 150 คน เพื่อกำหนดแนวทางและประเมินความคิดเห็นที่มีต่องานออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า นอกจากนั้นจะใช้วิธีการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการรวมกลุ่มร่วมสร้างสรรค์กับชาวบ้านในชุมชนและผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยชุมชน จังหวัดสระแก้วในการออกแบบหลักสูตรชุมชนให้เหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด  ผลการวิจัยและการออกแบบครั้งนี้ ผู้วิจัยและคณะได้ออกแบบตราสัญลักษณ์ “น้ำใส” ที่สามารถ สื่อสารถึงภาพลักษณ์ใหม่ที่ทันสมัยของตราสินค้าขนมทองม้วนและขนมเกลียวกรอบ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นกันเอง ลักษณะของความเป็นท้องถิ่น การมีสุขภาพที่ดี และความสะอาดปลอดภัย ชิ้นงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบเป็นลักษณะกล่องที่สามารถผลิตได้จริง มีภาพลักษณ์ที่สื่อสารถึงความสนุกสนาน สดใส ความกระทัดรัด และสะดวกสบาย ซึ่งผลจากการออกแบบและผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่นี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น สร้างรายได้ให้กับชุมชน และยังมีโอกาสได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่นักท่องเที่ยวสามารถซื้อหาเพื่อเป็นของฝากได้อีกด้วย นอกจากนั้น จากกระบวนการร่วมสร้างสรรค์เพื่อทำการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์กับกลุ่มชาวบ้านชุมชนหนองน้ำใส ทำให้ได้ข้อมูลเพื่อการออกแบบหลักสูตรชุมชนระยะสั้น 2 หลักสูตรด้วยกัน คือ หลักสูตรการจัดการด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน และหลักสูตรการเพิ่มช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนและการออกแบบตราสินค้า โดยการจัดหลักสูตรให้ชุมชนนี้เป็นการมุ่งเน้นไปที่ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดความคิดและการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนต่อไป  This research on local branding and packaging design to the extension as provincial products and community curriculum development on design management and marketing channels expansion: A Case Study of Hnong Namsai Community, Sa Kaeo Province aims to study and research how the local community works by using the idea of design thinking and the way of bringing people together for sustainable developments, designing a local product branding and packaging that can communicate and increase market share of the products. It also led to the design of short-term local community courses on management, branding and packaging design in order to upgrade the products to be as provincial souvenir products. The process will be conducted using semi-structured interviews and questionnaires from a sample group consisting of professors, designers, a leader of local product group and target customers in total of 150 people. For the results of this research and design, the researcher and the team designed the “Nam Sai” logo that can communicate the modern image of the brand of the products - crispy rolls and crispy spirals, which represents the feeling of prosperity, friendliness, locality, healthy and cleanliness. The prototype packaging design is a box that can actually be produced. There are images that communicate fun, bright, compact and convenient. These new packaging designs would help the products in being sold at a higher price than before. It would make more money for the community and also open for the opportunity to be products that tourists can buy as a souvenir as well. In addition, from the creative co-creation process to design the brand and packaging with the villagers of Hnong Nam Sai community. This provides information for designing two short-term community courses, which are a course in management of community product packaging design and a course on increasing marketing channels for community products and branding design. These 2 courses focus on the learning nature of the villagers in order to lead to the development of new ideas for products and more projects on sustainable development of the community in the future.

References

กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. (2543). สรรสาระพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนการศึกษานอกระบบ. กรุงเทพฯ : กรมการศึกษานอกโรงเรียน

ชลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบของศิลปะ : Composition of Art. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์.

ชัยพร อุดมชนะโชค. (2561). Market Segmentation เรื่องสำคัญที่หลายธุรกิจมักมองข้าม. สืบค้นวันที่ 30 มิถุนายน 2561, จาก https://www.maxideastudio.com/blog/market-segmentation.

ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ : คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรรม.

ณัฐชานันท์ สมบัติประธาน และนาวี เปลี่ยวจิตร. (2557). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องประดับ สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ในจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์ (2558). Service Design Process & Methods. กรุงเทพฯ: จัดทำโดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC), ดาวโหลดได้จาก

http://tcdc.groov.asia/method/assets/PDF/ServiceDesignBook.pdf

วัลนิภา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน Mixed Methods Research. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124-132.

ศิริวรรณ เพชรไพร. (2560). การสื่อสารการตลาดเชิงพลวัต ความได้เปรียบทางการตลาดประสิทธิภาพในการดำเนินงานทางการตลาดและความยั่งยืนทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1), 112-124.

สมใจ ทองเรือง. (2552). การเรียนรู้ตามสภาพจริงกับการสอนผู้ใหญ่. สืบค้นวันที่ 28 ตุลาคม 2561, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=9217&Key=hotnews.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2560). โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ One Tambon One Product (OTOP). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2560, จาก https://cep.cdd.go.th/.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). Packaging Design การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ : บริษัท วาดศิลป์ จำกัด.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์ : Corporate Identity. กรุงเทพฯ : ดอ บุ๊ค ดิสทริบิวชั่น.

Shutherland, R. and Karg, B. (2004). Graphic designer’s colourhandbook. Gloucester, MA: Rockport.

Downloads

Published

2022-12-20