เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมทองคำ กรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ อยุธยา : การสันนิษฐานรูปแบบเต็มองค์ของเจดีย์

Golden Octagonal Chedi at the Main Prang of Wat Rachaburana Ayutthaya: Assumption of the complete components of Chedi

Authors

  • ศรินยา ปาทา

Keywords:

รูปแบบสันนิษฐาน, เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม, เครื่องทอง, ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ

Abstract

          เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมทองคำ (จำลอง) จากกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ อยุธยา วัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เมื่อ พ.ศ. 1967 หรือราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เจดีย์องค์เป็นเครื่องทองคำสำคัญที่ถูกคนร้ายลักลอบขุดกรุโจรกรรมไปเมื่อ พ.ศ. 2499 และตามคืนกลับมาได้ เดิมคงประดิษฐานในกรุชั้นที่ 2 ร่วมกับเครื่องทองที่กษัตริย์ถวายเป็นพุทธบูชาเจดีย์จำลองตรวจสอบพบ 5 ชิ้น ไม่ครบองค์มีรูปแบบลวดลายและเทคนิคที่ใกล้เคียงกัน ไม่ทราบรูปแบบสมบูรณ์  เมื่อศึกษารูปแบบลวดลายและเทคนิค กับรูปแบบเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมในประเทศไทยช่วงสมัยต่าง ๆ พบว่าเจดีย์องค์นี้คงมีต้นแบบจากรัตนเจดีย์ วัดจามเทวี (วัดกู่กุด) ลำพูน อายุราวพุทธศตวรรณที่ 17 – 18 สืบสายวิวัฒนาการไปตามดินแดนพุทธศาสนาทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก จากเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่นิยมสร้างในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ประกอบด้วย ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ที่นิยมในศิลปะล้านนา รองรับเรือนธาตุที่มีซุ้มหน้านางแบบอย่างศิลปะสุโขทัยส่วนบนที่หายไปนั้นคงเป็นส่วนรองรับองค์ระฆังกลม ที่มียอดทรงกรวยจากชุดบัวคลุ่ม ปล้องไฉนและปลียอด ตามแบบอย่างเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีวิวัฒนาการอยู่ในภาคกลางและตะวันตก ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เช่น เจดีย์วัดไก่เตี้ย สุพรรณบุรี เจดีย์รายวัดพระแก้ว สรรคบุรี ชัยนาท เจดีย์ในวัดถ้ำเขาหลวง เพชรบุรีราย วัดพระราม และเจดีย์วัดสังขปัต ในบึงพระราม อยุธยาเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมทองคำนี้คงสร้างในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ช่วงการสร้างวัดราชบูรณะ อยุธยา และพระราชประสงค์และพระราชนิยมที่นำรูปแบบเจดีย์ในระยะแรกการสถาปนากรุงศรีอยุธยามาบรรจุถวายเป็นพุทธบูชา  The golden octagonal Chedi (replica) from the main chamber of Wat Ratchaburana, Ayutthaya built in King Rama II’s reign (Chao Sam Phraya) in 1424 or around the end of the 20th century Buddhist Era. This Chedi is one of the important gold pieces that the thieves smuggled in September 1956, and the police can follow back. Originally it was enshrined on the second floor of the chamber, where gold jewelry, Royal utensils, and Royal regalia which the King brought for a Buddha offering, were found. This replica was designed to disassemble; by examination, it has been split into 5 pieces. However, this Chedi is an incomplete and unknown pattern. Comparing to the octagonal chedi found in Thailand during different periods, it is found that this golden octagonal chedi (replica) has its original prototype, starting from Rattana Chedi, Wat Chamadevi (Wat Ku Kut), Lamphun, dated back to 17 – 18 century Buddhist Era. The octagonal chedi, which was popularly built-in central and western regions of Thailand, were blended by several art styles; Lanna, Sukhothai, and Ayutthaya. Lanna Art expresses a tall shape with a pointed torus molding base, supported by Rueanthat with a facade from Sukhothai art. But did not create a channel arch to enshrine the Buddha image like architecture. The missing upper part is probably the relic chamber in the round bell shape with the spire base carries the spire, the circular tiers, and the upper part of the spire. The evolution of this kind of octagonal Chedi emerged in the 19 – 20 century Buddhist Era, obviously at Wat Kai Tia in Suphanburi, Wat Phra Kaew Sankhaburi in Chainat, Wat Tham Khao Luang in Phetchaburi including at Wat Phra Ram and Wat Chedi Sangkhlapat in Ayutthaya. The dated of this golden octagonal pagoda  (replica) assumed to be in the late century 20-century Buddhist Era consistent with the time Wat Ratchaburana was built, and it was probably the wish of the king who brought the form of chedi in the early stages of the establishment of Ayutthaya to offer it as a Buddha worship.

References

กลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (2550) เครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ ศิลปะของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลปการพิมพ์.

จิตร ภูมิศักดิ์. (2547) “อโยธยาศรีรามเทพนคร”. ใน สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน.

จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา. (2541). พระเจดีย์เมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : กลางเวียงการพิมพ์.

ธนธร กิตติกานต์. (2549). “เจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรี จังหวัดชัยนาท.” หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญเตือน ศรีวรพจน์ และประภัสสร โพธิ์ศรีทอง. (2542). เครื่องทองรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา.

ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. (2558). เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม : กรมศิลปากร.

“พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์.” ใน คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ์อักษรนิติ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา, 2507.

วรวิทย์ สินธุรหัส. (2555). รูปแบบและลวดลายเครื่องประดับทองคำ จากกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ. การค้นคว้าอิสระ การศึกษาตามหลักสูตรปริญญา ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2555.

ศูนย์ศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์. เจดีย์หมายเลข 1 ในคูหาที่ 3 ถ้ำเขาหลวง อ.เมือง จ.เพชรบุรี. เข้าถึงได้ จาก http://scaasa.org/?p=3567

สมพร อยู่โพธิ์. (2511). “วัดใหญ่ชัยมงคล.” ใน พระราชวังและวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนคร : สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.

สันติ เล็กสุขม. (2538). “เจดีย์แปดเหลี่ยมวัดสะดือเมืองเมืองเชียงใหม่.” ศิลปวัฒนธรรม 16, 4 (กุมภาพันธ์ 2538).

สันติ เล็กสุขม. (2548). “วัดขุนเมืองใจ.” เมืองโบราณ 31, 2 (เมษายน – มิถุนายน 2548).

สันติ เล็กสุขม. (2544). วิวัฒนาการของชั้นประดับลวดลายสมัยอยุธยาตอนต้น. กรุงเทพฯ อมรินทร์การพิมพ์.

สันติ เล็กสุขม. (2538). ศิลปะภาคเหนือ หริภุญไชย-ล้านนา. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

สันติ เล็กสุขม. (2540). ศิลปะสุโขทัย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

สันติ เล็กสุขม. (2544). ศิลปะอยุธยา. งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

Downloads

Published

2022-12-20