การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม : จังหวะ สีสัน รูปลักษณ์ ลวดลายในวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมภาคใต้

The Creation of Painting: Rhythm Colors Looks and Pattern in Southern way of life Customs and Culture

Authors

  • เจริญ ผิวนิล
  • สมพร ธุรี

Keywords:

วิถีชีวิตภาคใต้, วิถีชีวิต, จิตรกรรม, จังหวะ, สีสัน

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์จังหวะสีสันรูปลักษณ์ของวิถีชีวิตวัฒนธรรม ประเพณีของชาวใต้ วัฒนธรรมเป็นเครื่องหล่อหลอมสมาชิกของสังคมให้เกิดความผูกพันสามัคคี และอบรมขัดเกลาให้มีทัศนคติความเชื่อและค่านิยมสอดคล้องกัน นอกจากนี้วัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่มิได้หยุดนิ่ง แต่หากเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไปตามยุคสมัย นำมาซึ่งแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านจิตรกรรมสีอะคริลิกและสื่อผสมที่เกี่ยวกับจังหวะสีสันรูปลักษณ์ในวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมของภาคใต้ และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีอะคริลิก และสื่อผสมที่สื่อความหมายในการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทยที่มีเอกลักษณ์แสดงออกถึงอิสรภาพและเสรีภาพ ซึ่งวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ พฤติกรรมของคนจะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ๆ วัฒนธรรมจะมีทั้งความศรัทธา ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐานนำมาวิเคราะห์สู่กระบวนการสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะนั้นจำเป็นจะต้องมีการทดลองค้นคว้าหาวิธีในการแสดงออกที่ต้องอาศัยระยะเวลาเพื่อค้นหารูปแบบและพัฒนาไปเป็นลำดับ  จากการวิจัยและพัฒนาเทคนิคจิตรกรรมสีอะคริลิกและสื่อผสม ชุดการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม จังหวะ สีสัน รูปลักษณ์ ลวดลายในวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมภาคใต้ เป็นกระบวนการทางเทคนิคการใช้สีสันประกอบกับการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ มาผสมผสานเข้าด้วยกันเกิดเป็นผลงานรูปแบบศิลปะร่วมสมัยด้วยการประสานแนวความคิดเก่าและใหม่ เชื่อมโยงระหว่างการอนุรักษ์และการสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามกระบวนการตามขั้นตอนการทำงานการสร้างสรรค์รูปแบบและแนวทางในการแสดงออกที่ตรงกับจุดมุ่งหมายโดยให้ความสำคัญกับเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและโดดเด่นของลวดลายนำมาซึ่งความประทับใจที่มุ่งเน้นจังหวะ สีสัน น้ำหนัก ระนาบของแสงเงา นำมาคลี่คลายตัดทอนรูปทรง ของการแสดงหนังตะลุงมโนราห์ ด้วยการสร้างรูปลักษณ์ จากจังหวะ ระนาบแสงเงาประกอบกัน เกิดผลงานสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์ใหม่สื่อความหมายถึงความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงประเพณีของชาวใต้ อันก่อให้เกิดสุนทรียภาพเชิงบวกแก่ผู้ดูและเป็นการเปิดมิติทางความคิดจากรูปแบบงานที่มีลักษณะเหมือนจริง (Realistic) แล้วคลี่คลายไปสู่รูปแบบงานที่มีลักษณะเป็นกึ่งนามธรรม (Semi-Abstract) ในการจัดองค์ประกอบตามทัศนคติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน  This research has the objectives 1) to stubby rhythmal colors of the people in Southern of Thailand. Culture can combine people in society to be more cooperative and preach the people to ham the same belief and virtue. Moreover, culture is something dynamic and changing along trends and period of time which in spine the creation of acrylic painting and mixed media about rhyme them and looks in Southern culture to create new knowledge. 2) to study values which concern with culture. Some “value” become “core” of Thai couture. In other word, most of Thai people are unique the reflect the freedom. From the research and development of psychic techniques, acrylic paints and mixed media, a series of The Creation of Painting: Rhythm Colors Looks and Pattern in Southern way of life Customs and Culture. It is a technical process, the use of color combined with the choice of materials. They combine them together to create works of contemporary art style by harmonizing old and new ideas, linking between conservation and creation, which is the practice of the process of working, creating styles and guidelines in a coherent expression with a focus on emotions and the unique and distinctive feeling of a pattern evokes a rhythm-oriented impression. Color, weight, plane of light, shadow to unravel and shorten the shape of the Nang Talung, Manora show by creating the appearance from the rhythm of the plane of light and shadow combined. The creation of a new identity that conveys the movement and change of the traditions of the southern people. This creates a positive aesthetics for the viewer and opens up a conceptual dimension from a work that looks realistic and then opens to a work style that is a semi-abstract in the arrangement. Unique attitude-based elements.

References

กีรติ บุญเจือ. (2562). ปรัชญาศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2555). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชลูด นิ่มเสมอ. (2535). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์.

สุชาติ เถาทอง. (2553). การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์. ชลบุรี : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย.

อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมชั้นสูง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์.

Downloads

Published

2022-12-20