การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ
Packaging Design for Seniors
Keywords:
การออกแบบบรรจุภัณฑ์, ผู้สูงอายุ, บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุAbstract
บทความวิชาการนี้ กล่าวถึงหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อมวลชนที่มีความเหมาะสมสำหรับกรนำไปใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งภายใต้หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อมวลชนทั้ง 9 หลักการ ได้แก่ 1. ง่ายต่อการรับรู้และจำแนกผลิตภัณฑ์ 2. สะดวกในการจับถือ 3. เปิดใช้งานง่าย 4. หยิบหรือเทของออกได้ง่าย 5. มีความเข้าใจได้ง่าย 6. ใช้งานง่าย 7. เก็บรักษาได้ง่าย 8. กำจัดทิ้งได้ง่าย 9. มีความปลอดภัยในการใช้งาน สอดคล้องกับคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่ผู้สูงอายุต้องการ และยังสอดคล้องกับหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เข้าถึงการใช้งานได้อย่างไร้อุปสรรคทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความง่าย ด้านการรับรู้ไว และด้านความปลอดภัย เอื้อประโยชน์ต่อความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและการรับรู้ของผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมถอยลง ดังนั้นการออกแบบ บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุจะต้องให้ความสำคัญทั้งการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ เช่น การเลือกรูปทรงและขนาดที่เหมาะสมต่อกรหยิบจับ ใช้งานและเปิดปิดได้ง่าย ส่วนการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานบรรจุภัณฑ์ของผู้สูงอายุ ก็จะต้องคำนึงถึงขนาดตัวอักษร ภาพประกอบที่สื่อสารได้ชัดเจน สีที่ไม่มีผลต่อการมองเห็นคลาดเคลื่อน และการแจงข้อมูลที่เข้าใจง่ายชัดเจน เป็นต้น เหล่านี้ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีการใช้งานบรรจุภัณฑ์ได้สะดวกสบาย เป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อมวลชนและผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง This academic article discusses about the principles of universal design packaging that are suitable for use in packaging design for seniors. Which under 9 principles of universal design packaging as follows 1. Easy to identify product 2. Easy to hold 3. Easy to open 4. Easy to take out 5. Easy to understand 6. Easy to use 7. Easy to store 8. Easy to dispose 9. Injury prevention. Corresponds to the packaging properties that seniors need. It contributes to the physical and cognitive changes of the aging elderly. Therefore, packaging design for the elderly must focus on the design of the packaging structure, such as selecting the appropriate shape and size for handling. Easy to use and open. The graphic design on packaging that responds to the packaging usage of seniors. Will have to take into account the font size Illustrations that communicate clearly. Colors that do not affect vision are inaccurate and the elucidation of information that is easy to understand, etc. These will make seniors have a comfortable use of the packaging. It is truly the universal packaging for seniors.References
เต็ตตรา แพค. (2560). บรรจุภัณฑ์เรื่องใหญ่ส่วนวัยเป็นเพียงตัวเลข. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.tetrapak.com/th/about/cases-articles/senior-white-paper-article
บรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก “Easy drink”. (2554). สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2563, จาก (2554). สืบค้น www.bunjupun.com
ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2563). แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสังคมผู้สูงอายุตัวอย่างที่อุตสาหกรรมต้องเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563, จาก https://packaging.oie.go.th/.
วรรณรัตน์ วิรัชกุล. (2564). การเปลี่ยนแนวคิดสู่การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.thaiprint.org วิกิพีเดีย. (2562). การออกแบบเพื่อทุกคน. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). ประเทศไทยกับสังคมผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563, จาก http://il.mahidol.ac.th/th/i-Learning-Clinic/general-articles/
Kate Bertrand Connolly. (2563). Small packs that talk big come to the aid of seniors. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://packagingdigest.com
Rick Lingle. (2563). Inverted pouch trend upends food packaging: Chico Huney. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://packagingdigest.com/packaging-design/
Rick Lingle. (2563). Push-button jar lid redefines ‘easy open’. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุุมภาพัันธ์์ 2563, จาก https://packagingdigest.com/packaging-design/
Scott Super. (2562). Reclose/reseal raises the food packaging bar. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563, จาก https://www.packagingstrategies.com/articles/