การสร้างชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน ชุมนุมดนตรีสากล โรงเรียนวัดยานนาวา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

The Construction of Learning Activities Package in Basic Practical Electric Guitar for the Music Club hight school student in Watyannawa School

Authors

  • ตติ แซ่แต่
  • พิมลมาศ พร้อมสุขกุล
  • ชาลินี คุณาเทียน
  • วรสรณ์ เนตรทิพย์

Keywords:

ชุดกิจกรรม, ปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้า , ชุมนุมดนตรีสากล, นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐานชุมนุมดนตรีสากลโรงเรียนวัดยานนาวาและหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐานชุมนุมดนตรีสากล โรงเรียนวัดยานนาวา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทำวิจัยในครั้งนี้ คือนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนวัดยานนาวาที่เรียนในรายวิชาปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าชุมนุมดนตรีสากล จำนวน 25 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง จากนักเรียนที่สมัครใจเลือกเล่นกีตาร์ไฟฟ้าทั้งหมดในชุมนุมดนตรีสากล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน ชุมนุมดนตรีสากล 2) แผนการจัดกิจกรรม และ 3) แบบทดสอบก่อนเรียนระหว่างเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย Independent t-test  ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน ชุมนุมดนตรีสากล โรงเรียนวัดยานนาวา มีประสิทธิภาพ 86.7/87.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์จากการทดสอบของผู้เรียนหลังเรียนชุดกิจกรรมปฏิบัติกีตาร์ขั้นพื้นฐาน ชุมนุมดนตรีสากล โรงเรียนวัดยานนาวา พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5  The purposes of this research were 1) to investigate the efficiency of Learning  Activity Package in Basic Practical Electric Guitar for the Music Club in Watyannawa School   2) to compare achievement before and after using an Learning Activity Package. The sample included 25 students. They were selected by the purposive random sampling technique   from students who voluntarily chose to play all electric guitars at an international music  convention. The instrument were 1) Learning Activity Package in Basic Practical Electric  Guitar for the music club. 2) Activity Plan and 3) The pre-test, formative-test, post-test. Data  was statistically analyzed in percentage, arithmetic mean, standard deviation, Independent t-test  The findings revealed as follows: 1) The mean scores of  procedure’s students of  Learning Activity Package in Basic Practical Electric Guitar for the Music Club in Watyannawa School included three lesson plans which had the efficiency of 86.77/88.4 and had  higher than a standard level with the 80/80 efficiency index. 2) The achievement of the  Learning Activity Package in Basic Practical Electric Guitar for the Music Club in Watyannawa School was higher than the counterpart significantly at 0.05 level.

References

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2536). พฤติกรรมการสอนดนตรี (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2545). ดนตรีสำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาคาร แพทย์วงษ์. (2541). การศึกษาแผนการฝึกและการคัดเลือกนักดนตรี สำหรับวงโยธวาทิตในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ศิลปศาสตร(ดนตรี) : มหาวิทยาลัยมหิดล.

นัติเทพ การิเทพ. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาปฏิบัติกีตาร์ 1 สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพฯ : สุวีริยาศาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สุวีริยาศาส์น.

เพลินจิตต์ เวฬุวรรณวรกุล. (2550). การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ชุดกิจกรรมเรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. สถิติวิทยาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สุวีริยาศาส์น.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ รุจิร์ ภู่สาระและเตือนใจ เกตุษา. (2538). การประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2550). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

Downloads

Published

2022-12-20