การออกแบบอัตลักษณ์เชิงเรขศิลป์ สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่บางพระ

GRAPHIC IDENTITY DESIGN FOR RAJAMANGALA UNIVESIT OF TECHNOLOGY EASTERN BANG PHRA AREA

Authors

  • เผ่าไท เมาะราษี
  • ฆณการ ภัณณิพงส์
  • ธนาวุฒิ ทองปลี

Keywords:

การออกแบบอัตลักษณ์เชิงเรขศิลป์, องค์กรมหาวิทยาลัย, เขตพื้นที่บางพระ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1 ) เพื่อออกแบบตราสัญลักษณ์อักษรย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2) เพื่อกำหนดระบบค่าสีมาตรฐานสำหรับการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ และ 3) เพื่อออกแบบคู่มือมาตรฐานการใช้งานอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่บางพระ โดยการวิจัยในครั้งนี้ มีกระบวนการศึกษาวิจัยซึ่งแบ่งปัน 3 ระยะที่ 1 การรวบรวมข้อมูลทางภาคเอกสาร ภาคสนาม เพื่อศึกษาสภาพปัญหา วิเคราะห์ปัจจัยทั้งภายนอกและภายในองค์กร โดยการประชุมแบบระดมความคิด ระยะที่ 2 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบอัตลักษณ์ และระยะที่ 3 เป็นการนำผลสรุปข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1-2 มาวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อสร้างอัตลักษณ์องค์กร โดยผลการวิจัยในระยะที่ 1 จากการประชุมระดมความคิดพบว่า ปัญหาของตราสัญลักษณ์อักษรย่อภาษาอังกฤษ ณ ปัจจุบันเป็นรูปแบบเดียวกันกับองค์กรอื่น จึงเกิดการสับสนในเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและไม่มีตราสัญลักษณ์อักษรย่อภาษาไทย ที่ประชุมจึงมีมติให้ใช้อักษรย่อ รม. ในภาษาไทย และใช้อักษรย่ออาร์ ยู โอ เค (R U O K) ในภาษาอังกฤษ รวมทั้ง เดิมมีการระบุสีประจำขององค์กรมีการชื่อสีไว้ 2 สี คือ สีน้ำเงินทะเล (Sea Blue) สีเทอร์ควอยส์น้ำทะเล (Turquoise Sea) แต่ไม่มีระบบค่าสี หรือรหัสค่าสีที่ชัดเจน ที่ประชุมจึงมีมติใช้สีน้ำเงินน้ำทะเล (Sea Blue) รวมทั้งอัตลักษณ์ที่โดดเด่นขององค์กร ประกอบได้ด้วย 1) อัตลักษณ์ด้านภูมิศาสตร์ พบว่าเป็นมหาวิทยาลัยฯ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) และมีสถาบันวิจัยบัวที่โดดเด่น 2) อัตลักษณ์ด้านสังคม พบว่าองค์กรเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้เทคโนโลยี และ 3) ด้านอัตลักษณ์ด้านบุคคล คือ การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ในระยะที่ 2 จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านออกแบบตราอัตลักษณ์องค์กร สรุปได้ว่า อัตลักษณ์เชิงเรขศิลป์มีความสำคัญต่อองค์กร ทางด้านการสื่อสาร และการสร้างความเชื่อมั่นน่าเชื่อถือ ควรมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร ควรคำนึงถึงลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นง่ายต่อการจดจำ ใช้หลักภาพแทนเชิงสัญญะมาประกอบ ในระยะที่ 3 เป็นการนำข้อมูลทั้ง 2 ระยะมาวิเคราะห์สรุปหาอัตลักษณ์ขององค์กร โดยสรุปได้ว่า ใช้การออกแบบตราสัญลักษณ์อักษรย่อภาษาไทยออกแบบจากรูปต้นแบบเข็มราชมงคลฯ (รม.) ส่วนรูปแบบตราสัญลักษณ์อักษรย่อภาษาอังกฤษเป็นตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ อาร์ ยู โอ เค (R U O K) เป็นรูปแบบที่ทันสมัยมีสัญลักษณ์ภาพแทนเชิงสัญญะอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เพื่อการสื่อสาร และการสร้างความเชื่อมั่นน่าเชื่อถือ ง่ายต่อการจดจำ และจากการสร้างระบบค่าสีมาตรฐานได้ระบบค่าสี 2 ระบบคือ ระบบสีสื่อสิ่งพิมพ์ ซี เอ็ม วาย เค (C M Y K) และระบบสื่อมัลติมีเดีย (RGB) พร้อมคู่มือการใช้งานอัตลักษณ์มาตรฐานมหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่บางพระ  The purposes of this study were to 1) design Thai and English abbreviated symbols, 2) set a system of standard colors used for designing advertisement and 3) design a standard manual of graphic identity used for Rajamangala University of Technology Tawan-Ok Bang Phra Campus. Process of this study had been divided into 3 phases as following; 1st phase was to collect data from relevant documents, and brainstorming meeting in order to know inside and outside factors that could cause the problems. 2nd phase was to interview a specialist in designing graphic identity and 3rd phase was to analyze the result from 1st phase and 2nd phase to design graphic identity of the university. The results of the study from 1st phase revealed that a current English abbreviated symbol is similar to the symbol of other universities and this may create confusion among people and there is no Thai abbreviated symbol so the board announced to use an abbreviation รม in Thai and R U O K in English Moreover, There is no obvious color code for standard colors of the university that are Sea Blue color and Turquoise Sea color, so the board has a conclusion to use Sea Blue color. Remarkable identities of the university compose of 1) geographic identity which showed that the university is located in Eastern Economic Corridor (EEC) and has an outstanding Waterlily Institute 2) social identity which is a society of wisdom and technology and 3) personnel identity which is a university that create skilled students. The result of the study form 2nd phase revealed that after interviewing a specialist in designing graphic identity, he recommended that graphic identity design is very important for the image of the organization. To create the organization’s trustworthiness, the graphic design should be unique and easy to understand and should use sign to create an identity. The result of the last phase revealed an analysis of 1st and 2nd phases to create the organization’s identity. The conclusion was to use Thai abbreviated symbol from the pattern of univesity’s brooch (รม) and English abbreviated symbol is capital letters R U.O K. Both symbols are modern and has an outstanding sign representation in order to build confidence, and cognition. In addition, there are two type of standard color that are printed media color CMYK and multimedia color RGB, and there is a manual of standard identity of Rajamangala University of Technology Tawan-Ok Bang Phra Campus.

References

ณัฏฐิกา เมณฑกา. (2550). ศึกษาการออกแบบสัญลักษณ์เพื่อการปรับภาพลักษณ์องค์กร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์, ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐวดี ศรีคชา. (2561). การออกแบบอัตลักษณ์องค์กรการศึกษากรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปี การศึกษา 2561, (หน้า 2,469-2,479) ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.

ทองเจือ เขียดทอง. (2548). การออกแบบสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ : สิปประภา.

ธนาทร เจียรกุล. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการบริหารแบรนด์ของมหาวิทยาลัยไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, ภาควิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิศากร เพ็ญสมบูรณ์. (2549). ศิลปะสร้างสรรค์ : ศึกษาทฤษฎีสัดส่วนของกรีกโบราณ และกรณีศึกษาผลงานจิตรกรรมของโรเบิร์ต แมนโกลล์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 -1999. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ทัศนศิลป์-ศิลปะสมัยใหม่), คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประชิด ทิณบุตร. (2554). การออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์มาตรฐาน สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารจันทรเกษมสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 17(33) 42-52.

พรพิมล ศักดา และคณะ. (2558). การออกแบบกราฟฟิกในแบบฉบับเอกลักษณ์ท้องถิ่นสำหรับบรรจุภัณฑ์กล้วยอบแผ่นของกลุ่มอาชีพสตรีผลิตกล้วยอบแผ่น ตำบลบางรักน้อย จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วิกิพีเดีย. (2546). เอกลักษณ์องค์กร. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki.

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย. (2564). ระบบสี (The Color System). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564, เข้าถึง ได้จาก http://www.thaiprogrammer.org.

สิริกานต์ ทองพูน และคณะ. (2563). อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านลานคา จังหวัดสุพรรณบุรี. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11, (หน้า 948-953). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สิริธร บุญประเสริฐ และคณะ. (2558). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้แหล่งการเรียนรู้โบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 8(1), 511-523.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2564). องค์ความรู้ศิลปะร่วมสมัยสาขาเรขศิลป์. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564, เข้าถึงได้จาก : https://ocac.go.th/.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ : Core Function.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). อัตลักษณ์ (indentity). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

Downloads

Published

2022-12-20