แนวปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 กับรูปแบบการวิเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย

The Discourse of Four Foundations with Thai Contemporary Painting Creation

Authors

  • ธนากรณ์ อุดมศรี

Keywords:

สติปัฏฐาน 4, จิตรกรรมไทยร่วมสมัย, สุนทรียภาพ

Abstract

          พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ในตนเอง เพื่อยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเรา เพราะเมื่อได้ประจักษ์กับความจริงแท้ของตนเองโดยตรงแล้ว เราย่อมสามารถขจัดความเข้าใจผิดที่ส่งผลให้ประพฤติมิชอบจนนำความทุกข์มาสู่ตัวเอง เมื่อได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริงแล้ว เราย่อมสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า มีประโยชน์และมีความสุข  บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธปรัชญาเรื่องสติปรัชญาเรื่องสติปัฏฐาน 4 เพื่อถ่ายทอดผลงานการสร้างสรรค์ศิลปกรรมที่เน้นสื่อถึงเนื้อหาทางหลักธรรมของพุทธศาสนา สาระสำคัญของผลงานสร้างสรรค์จิตรกรรมไทยร่วมสมัยชุดนี้ เป็นการแสดงรูปลักษณ์ เกี่ยวกับการเจริญสติและสมาธิที่ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต ผลงานดังกล่าวได้ถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ รูปแบบ เนื้อหา แนวความคิด เพื่อถ่ายทอดผลงานสร้างสรรค์ “ดุลยภาพแห่งชีวิตกับการเจริญสติปัฏฐาน 4” ได้แก่ ผลงานภาพ “กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน” “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” และ “ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” โดยผลการวิเคราะห์จากชิ้นงานสร้างสรรค์ดังกล่าว ส่งผลต่อข้อสรุปที่เป็นประเด็นสาระสำคัญขององค์ความรู้ทั้งในด้านพุทธธรรมคุณค่าด้านความรู้ ซึ่งสามารถทำให้ผู้ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณค่าด้านศิลปะ เป็นการสอดแทรกคติธรรมจากพุทธปรัชญาแสดงอัตลักษณ์ทางศิลปะของผู้วิจัย ด้วยรูปแบบผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย และด้านสุนทรียภาพ ผ่านความคิดที่มีเอกภาพ เป็นสุนทรียธาตุทางการแสดงออกด้วยรูปทรงแบบอุดมคติ จากความเป็นนามธรรมสู่รูปธรรมด้วยสุนทรียภาพเฉพาะตัว  Buddha Sutra is self development for self changing. When we are the truth, we can eliminate misunderstanding that in misbehave and suffering. When we learn procedure that consistent with the truth.  This article aims to study Buddha Philosophy, The Discourse of four foundations of Mindfulness, from art creation means to Buddha Sutra. An essential of Thai Contemporary Painting is appearance of consciousness and meditation with life. The painting of mine express abstract to substantial, emphasize critical, form, content and concept. 2 pieces of my creation art work The balance of life with the Discourse of four foundations of Mindfulness are Mindfulness of the Body and Mindfulness of the feelings. Analysis results of my creation art work is the knowledge of Buddhism, art and aesthetics.

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2555). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอคทีฟ พริ้น จำกัด.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อัมรินทร์.

ทิพย์ธิดา ณ นคร. พระมหาโสภณ วิจิตฺตธมฺโม., สติปัฏฐาน 4 กับการพัฒนาตนในชีวิตประจำวัน, วารสารพุทธจิตวิทยา ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562) หน้า 116-128., มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พศิน อินทรวงศ์ (2561). สมถะเท้าขวา วิปัสสนาเท้าซ้าย. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์ธรรมะ.

พุทธทาสภิกขุ. (2538). คำอธิบายปริศนาธรรมไทยชุดกายนคร. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พุทธทาสภิกขุ. (2547). แก่นพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบรรลือธรรม.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต) (2532). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระอาจารย์มิซูโอะ คเวสโก (2550). ทุกขเวทนา. กรุงเทพมหานคร: วิริยะการพิมพ์.

วิลเลียม ฮาร์ทโก (2554). ศิลปะการดำเนินชีวิต สอนโดยท่านอาจารย์โกเอ็นก้า. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดี

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน. (2552). สติปัฏฐาน 4. กรุงเทพมหานคร: บจก.ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์.

หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2545). สมุดภาพปฤษณาธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อาทิตย์ โพรดักส์กรุ๊ป จำกัด.

ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง. (2012). ความหมายของคำว่า พระโยคาวจร. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563, จาก https://web.facebook.com/LoveMoralBuddha/posts/142361505909667/?rdc=1&rdr

Downloads

Published

2022-12-20