ลักษณะกายภาพอาคารหอศิลป์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Physical characteristics of art galleries in Bangkok
Keywords:
หอศิลป์, ลักษณะภายภาพAbstract
บทความนี้ศึกษาลักษณะกายภาพอาคารหอศิลป์ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมปัจจัยทางกายภาพของอาคารหอศิลป์ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดพื้นที่ภายในอาคารหอศิลป์ในเขตกรุงเทพฯ โดยนำผลวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจและผลสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการมาผ่านกระบวนการวิธีการวิเคราะห์และเปรียบเทียบ เพื่อประเมินหาประเภทของปัจจัยทางลักษณะกายภาพที่ส่งผลต่อขนาดพื้นที่ภายในอาคารหอศิลป์ ทั้งนี้ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ โครงสร้าง วัสดุ โทนสี องค์ประกอบตกแต่ง รูปลักษณ์ อาคาร ลักษณะการใช้งานอาคาร โดยทำการสำรวจกรณีศึกษาจำนวน 6 อาคาร แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดมากกว่า 10,000 ตารางเมตร จำนวน 2 อาคาร คือ อาคารหอศิลปวัฒนธรรมและอาคารหอศิลปไทยร่วมสมัย MOCA อาคารขนาดใหญ่ ขนาดมากกว่า 2,000 ตารางเมตร จำนวน 2 อาคาร คือ อาคารหอศิลป์ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์และอาคารศูนย์ประติมากรรม และอาคารหอศิลป์ขนาดทั่วไป จำนวน 2 อาคาร ขนาดน้อยกว่า 2,000 ตารางเมตร คือ อาคารหอศิลป์ Bangkok city gallery และอาคารหอศิลป์ Yenakart villa จากการศึกษาลักษณะกายภาพอาคารหอศิลป์ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 6 อาคารพบว่า มีปัจจัยทางลักษณะกายภาพ อาคารหอศิลป์ในเขตกรุงเทพฯ มีลักษณะกายภาพ 6 ปัจจัยครบในทุกอาคาร ซึ่งในส่วนของรายละเอียดแต่ละปัจจัยจะมีความเหมือนแตกต่างกันตามแต่ละอาคารและจากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคาร คือ ลักษณะการใช้งานของอาคาร ส่วนปัจจัยอื่นพบว่าปรากฏอยู่ในทุกอาคารแต่ไม่ส่งผลต่อขนาดพื้นที่ของอาคารหอศิลป์ This article was submitted as a partial fulfillment for the requirements of thesis entitled “Physical Characteristics of Art Galleries in Bangkok”. The purposes of this article were to study and gather physical characteristic factors affecting area size of art galleries in Bangkok. Data from surveys and interview with entrepreneurs were analyzed through the analysis and comparison processes in order to evaluate and determine physical characteristic factors affecting area size of art galleries in Bangkok. For factor analysis, there were six physical factors namely: structure, materials, color tone, decorative elements, building image and building usage. In this study, six buildings were observed and investigated, which were categorized into 3 patterns, 1) two conventional buildings larger than 10,000 square meters which were Art and Culture and Museum of Contemporary Art (MOCA), 2) two large buildings larger than 2,000 square meters which were S.A.C. Subhashok The Arts Centre and Museum Thailand. 3) two buildings smaller than 2,000 square meters which were Bangkok city gallery and Yenakert villa. From fieldwork observation of a case study of physical characteristics of six art gallery buildings in Bangkok, the results indicated that those 6 buildings had complete six physical factors. For the part of the detail of each factor, there was any similarity of difference according to each project and size. The results also revealed that the most important factor affecting the building’s area size was building usage while other factors were found in every studied building but did not affect the art gallery’s sizeReferences
เสริชย์ โชติพานิช (2553) “การบริหารทรัพยากรกายภาพ หลักการทฤษฎี” คณะสถาบัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กิติมา อมรทัต. (2530). “ความหมายของศิลปะ. กรุงเทพฯ.” โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ศิริวัฒน์ แสนเสริม. (2546). การเรียนรู้สหวิทยาการจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะ. BU ACADEMIC REVIEW. Vol. 2 No. 1: 109-119.
ศิริวัฒน์ แสนเสริม. (2549). บทความวิชาการ. “การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ศิลปะและหอศิลป์ร่วมสมัยเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต. “สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/july_dec2006/Siriwat.pdf.
Blocker, H. G. & Jeffers, J. M. “Contextualizing aesthetics: from Plato to Lyotard.” Belmont, Calif: Wadsworth Pub, 1999.
Eilean Hooper-Greenhill. “Museums and the Interpretation of Visual Culture.” London: Routledge, 2000.
Gary Edson and David Dean. “the Handbook for Museums”. London: Routledge, 1996.
Kant, Immanuel. “Groundwork of the Metaphysics of Morals”. Cambridge: Cambridge University Press, 2005.