ความสัมพันธ์ของรูปทรงสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ

The relationship of life form with nature

Authors

  • กฤศ จินดารัตน์

Keywords:

สัมพันธภาพ, สิ่งมีชีวิต, ธรรมชาติ

Abstract

          การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมสื่อผสม เรื่องความสัมพันธ์ของรูปทรงสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ นำมาสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมสื่อผสม รูปทรงกึ่งนามธรรม และสร้างองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์อัตลักษณ์เฉพาะตนในผลงาน มีวิธีดำเนินการสร้างสรรค์โดยการรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมได้แก่ ธรรมชาติ ป่า ระบบนิเวศ ช้าง ข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับทฤษฎีทางศิลปะและอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรมที่เป็นแรงบันดาลใจนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหา รูปทรง สัญลักษณ์ สื่อแทนตามแนวเรื่องเทคนิควิธีสร้างสรรค์โดยใช้ทัศนธาตุ วัสดุ กลวิธี หลักการทางทัศนศิลป์ และเทคนิคทางช่างเชื่อมการประกอบไม้ สแตนเลส เป็นผลงานประติมากรรมสื่อผสมที่มีลักษณะ เฉพาะตน ผลการสร้างสรรค์พบว่า ในเรื่องการใช้เทคนิคเส้น รูปร่างรูปทรง สี วัสดุ พื้นผิว ในการสร้างรูปทรงกึ่งนามธรรมที่สามารถประสานสัมพันธ์กันอย่างมีเอกภาพ โดยใช้รูปทรงหลักเป็นรูปทรงของช้างเพื่อนำเสนอสื่อแทนถึงสิ่งมีชีวิต ภายในรูปทรงใช้เทคนิคการเชื่อมโลหะสร้างทัศนธาตุในเรื่องของจุด เส้น ช่องว่าง ร่องรอยพื้นผิว รูปร่างของต้นไม้ สายน้ำ สายลม สายฝน เพื่อสะท้อนถึงความหมายของความสัมพันธ์ของชีวิตกับธรรมชาติ ผลจากการสร้างสรรค์ดังกล่าว รูปทรง และพื้นผิวที่สร้างขึ้นบนรูปทรง เป็นสิ่งที่แสดงถึงอัตลักษณ์เฉพาะตนของผู้สร้างสรรค์  The creation of mixed media sculptures entitled. The Relation of Life Form with Nature" aimed to study the relationship of organisms in the ecosystem then created the semi-abstract form of mixed media sculptures. Moreover, it was to create knowledge in creating personal uniqueness in the work. The creation methodology was from data collecting from environment which were nature, forest, ecosystem, elephants, document data related to art theories and the influence of sculpture works to be the inspiration for the analysis of data, content, forms, signs, story media. The creation techniques used visualization, materials, methods, visual art principles and welding technique, the assemble of woods, stainless, to be the mixed media sculptures with unique identity. The result found that for the line technique, form, color, material and texture of semi-abstract shape of mixed media sculpture that was able to combine with unity by using elephant form as the main shape. The shape represented living things. Inside the shape, there was the metal welding tech­nique creating visualization in terms of dots, lines, spaces, traces of surface, tree shapes, water, wind, rain to reflect the meaning of relationship between life and nature. The result of such creation represented the creator's personal identity.

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2559). สุนทรียศาสตร์. กรุเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พยูร โมกสิกรัตน์. (2548). ความรู้เกี่ยวกับประติมากรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุชาติ เถาทอง. (2538). หลักการทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์.

Downloads

Published

2022-12-20