การพัฒนาสีจากบัวสายสีแดงและบัวฉลองขวัญสำหรับการวาดภาพ
The development of pigment produced from the explants of Nymphaea rubra Roxb. and Nymphaea ‘Chalongkwan’ for painting
Keywords:
พืชวงศ์บัวอุบลชาติ, รงควัตถุ, การวาดภาพAbstract
การศึกษาการพัฒนาสีที่ได้จากบัวดอกบัวสายสีแดง ดอกและเหง้าบัวฉลองขวัญ พบว่าการสกัดโดยวิธีการต้มในน้ำเดือด และแช่ในตัวทำละลายที่มีสาภาวะความเป็นกรด ด่างต่างกัน แล้วนำไปทำสารสกัดเข้มข้น ทำให้ได้สารสกัดที่มีสีต่าง ๆ การแปรรูปเป็นผงสีโดยการใช้สารดูดซับ 3 ชนิด พบว่าดินสอพองสามารถดูดซับสีได้ดีที่สุด ร้อยละ 55.40 รองลงมาคือซิลิกาเจล และดินเบนทอไนท์ ร้อยละ 48.38 และ 38.11 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการดูดซับของสาร 3 ชนิด ร่วมกับวิธีการสกัด 4 วิธี พบว่าค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% การวัดค่าสีสามารถคัดเลือกสีที่ใกล้เคียงกับสีมาตรฐานจากการคำนวณค่าความถูกต้อง ได้สีจำนวน 15 สี การทดสอบคุณลักษณะสีตามคุณลักษณะที่กำหนดจากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 103 คน ประเมินความพึงพอใจด้านความโปร่งใสของสี ความกึ่งทึบแสงของสี ระดับค่าของสี และคุณภาพโดยรวมของสี ได้ผงสีที่มีคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมของสีสูงสุดจำนวน 5 สี และนำไปใช้ในการประเมินคุณลักษณะของสีจากกิจกรรม Art workshop ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจต่อการวาดภาพด้วยสีจากบัวประดับ พบว่าคะแนนความพึงพอใจด้านความกึ่งทึบแสงของสี มีมากที่สุดร้อยละ 76.6 รองลงมาคือความทึบแสงของสีร้อยละ 75.33 และความโปร่งใสของสีร้อยละ 72.00 ตามลำดับ ส่วนระดับค่าของสี มีคะแนนความพึงพอใจร้อยละ 70.00 และคุณภาพโดยรวมของสี มีคะแนนความพึงพอใจร้อยละ 74.67 This study was aimed to develop the pigment produced from the explants of Nymphaea rubra Roxb. and Nymphaea ‘Chalongkwan’. Using the extraction by boiling in the water, soaking in the concentrated solvents that has different pH conditions, The crude Extracts were evaporated. The pigment powders were absorbed the moisture through three absorbents, The results revealed that the best absorption percentage was marly lime stone (55.40%), compared to silica gel (48.38%) and bentonite (38.11%). When considering the absorption of 3 substances with 4 extraction methods. Found that the average absorption percentage within three absorbents was not significant level (p>0.05), whereas the different extraction methods were significantly resulted. The color measurement of fifteen selected pigments were evaluated by correlation coefficient, comparing to the standard. Testing the quality of pigments were demonstrated by 103 respondents, who satisfied in each feature, for example the transparency, the semi opaque, the value scale and color quality of pigments. The maximum satisfaction rating of five pigments used for painting in the art workshop. The results showed that the highest satisfaction rating in semi opaque was 76.6%, followed by the opacity (75.33%) and the transparency (72.00%), respectively. While the satisfaction rating in value scale and color quality were 70% and 74.6%.References
ขวัญตา สุดเสน่ห์. (2557). ความสัมพันธ์ของสีพฤกษาและอินทรียรูป. วิทยานิพนธ์การศึกษาหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คชินท์ สายอินทวงศ์. เบนโทไนท์ (Bentonite) แหล่งที่มา http://www.thaiceramicsociety.com/rm_Paint_bentonite.php สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559
จินตหรา เล็กประยูร นวลจันทร์ มัจฉริยกุล และศิริลักษณ์ เอี่ยมธรรม. (2553). สารสกัดแอนโทไซยานินจากพืชเพื่อใช้เป็นสีย้อมโครโมโซม: แหล่งที่มา ความเข้มข้นและโครงสร้างทางเคมี การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7 ณ อาคารศูนย์เรียนรวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม. 7-8 ธันวาคม 2553. 1615-1623 น.
ชนะพงษ์ ค้าทันเจริญ และเอกชัย โถเหลือง. การจัดกลุ่มสีของบัวเพื่อนำไปใช้ในโปรแกรมออกแบบ. เทคโนโลยีการพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน.
ญาณี จินดามัง และปิยวิทย์ ทิพรส. (2555). ความคงตัวของสารสีแอนโธไซยานินจากกากกลีบดอกกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa Linn.) วารสารสุทธิปริทัศน์ ปีที่ 26(80): 129-146.
ดวงรัตน์ แซ่ตั้ง. (2559). การพัฒนาเครื่องดื่มสารสกัดจากอัญชันและกระเจี๊ยบแดง. วิทยานิพนธ์ คหกรรมศาสตร์. สาขาคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ทัศนีย์ นลวชัย และจิตรา ดวงแก้ว. (2559). ผลของสารสกัดสมุนไพรไทยต่อการยับยั้งเจริญเติบโตของเชื้อAromonas hydrophila. แก่นเกษตร 44 ฉบับพิเศษ 1:24-129.
นันทิพย์ หาสิน และฉัตรดาว ไชยหล่อ. (2552). การศึกษากระบวนการสกัดสีธรรมชาติจากพืชเพื่องานมัดย้อม. สาขาวิชาธุรกิจคหกรรมศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
นันทิยา วงศ์แสงตา ศรีสมพร ปรีเปรม นาฎศจี นวลแก้ว และอรุณศรี ปรีเปรม. (มปป.) การสกัดแยกแอนโทไซยานินจากกลีบดอกอัญชันสีน้ำเงิน. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น
บุศรารัตน์ สายเชื้อ. (2545). การสกัดแอนโธไซยานินส์จาก ดอกอัญชัน (Clitoria ternatea L.). วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (เทคโนโลยีทางอาหาร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย. 92 น.
บุศรารัตน์ สายเชื้อ. (2545). แอนโธไซยานินส์จากกระเจี๊ยบแดง Hibiscus sabdariffa L. เพื่อใช้เป็นสีผสมอาหาร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยพร พยัฆพรม. (2558). การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพร. องค์การเภสัชกรรม. ปีที่ 22 ฉบับที่ 4 ประจำเดือน ตุลาคม – ธันวาคม. 2-7.
ปุณณมา ศิริพันธ์โนน. (2557). การพัฒนาแร่ดินเหนียวเหล็กออกไซด์ฟิลลาร์ที่มีรูพรุนขนาดนาโน สำหรับการบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนสีย้อม. คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พรพิมล ม่วงไทย. (2552). การเตรียมผงสีจากพืช (Preparation of Dye Powder from Plant) ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา http://cms2.swu.ac.th/Portals/155/ภาควิชาเคมี/เอกสารอ้างอิง/CHEM_55_สกอ.5.2_5_2.pdf. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559.
พรพิมล ม่วงไทย สุจิตรา ศรีสังข์ นงนุช พรมรงศ์ และชุติมาพร วรรณวงษ์. (2553). การเตรียมผงสีย้อมจากเปลือกผลมังคุดบนสารดูดซับ. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7.
ภาณุพงษ์ หงษ์ภักดี. (2556). บัวหลวง: ศักยภาพไม้ดอกไทยสู่ตลาดอาเซียน. แก่นเกษตร. 41 (3): 213-220.
ยุพาพร ผลาขจรศักดิ์. (2547). การสกัดและความคงตัวของแอนโธไซยานินส์ที่สกัดได้จากเปลือกมังคุด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบันฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมาคมวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย. (2559). สารานุกรม “เบนทไนต์ สำหรับงานวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม”. สมาคมวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย.
เสรี สุขุมาลพันธ์. (2544). การพัฒนาผงสีธรรมชาติจากกระเจี๊ยบแดงเพื่อนำมาใช้เป็นสีย้อมกระดาษสา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร). มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย.
สุดารัตน์ ขุนเมือง. (2551). การวิเคราะห์แอนโทไซยานินในดอกบัวบางพันธุ์ในกลุ่มอุบลชาติ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อนงค์พรรณ หัตถมาศ และสุวภางค์ ศรีเทพ. (2555). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฝ้ายย้อมสีจากมะขามหวาน. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
อรุษา เชาวนลิขิต และ ธีรารัตน์ อิทธิโสภณกุล. (2554). สีธรรมชาติจากเปลือกมังคุด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Mutturee, Y., Tengjaroenkul. B., Pimpukdee, K., Sukon, P. and Tengjaroenkul. U. 2012. Effect of Bentonite to Adsorb Aflatoxin B1. KKU Vet J. Vol. 22(2): 234-241.