จิตรกรรมฝาผนังล้านนาสู่จิตรกรรมร่วมสมัยสะท้อนวิถีชีวิตไทย

Lanna Mural Painting towards Contemporary Painting Reflecting Thai Way of Life

Authors

  • ภัคจิรา องค์ศิริพร
  • สมพร ธุรี

Keywords:

จิตรกรรมฝาผนังล้านนา, จิตรกรรมร่วมสมัย, วิถีชีวิตไทย

Abstract

          การวิจัยเรื่อง จิตรกรรมฝาผนังล้านนาสู่จิตรกรรมร่วมสมัยสะท้อนวิถีชีวิตไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ตีความ จิตรกรรมฝาผนังของล้านนา รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยที่มีลักษณะเฉพาะตนเองและสร้างผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยที่สะท้อนวิถีชีวิตไทย กระบวนการสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรม 2 มิติ ในรูปศิลปะแบบร่วมสมัย โดยใช้เทคนิคสีอะคริลิค (Acrylic) บนผ้าใบ (Canvas) เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากแรงบันดาลใจจากการศึกษาจิตรกรรมฝาผนังล้านนา โดยมีเนื้อหาที่สะท้อนการดำรงชีวิต ความอบอุ่น การพึ่งพาอาศัยและความสุข โดยนำเอาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนามาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจิตรกรรมฝาผนังล้านนา ทั้งในด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และประเพณีอันดีงาม มาพัฒนาในการสร้าง สรรรค์ผลงานให้เกิดความเป็นร่วมสมัย โดยการนำเอาศิลปะตะวันตกและตะวันออกมาผสมผสานเพื่อให้เกิดศิลปะรูปแบบใหม่ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน โดยในการสร้างผลงานที่มีเนื้อหาที่สื่อถึงความสุข ความสนุก สนานของผู้คนที่ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย ความอบอุ่นของผู้คนที่แสดงออกผ่านสีหน้าท่าทางอารมณ์ความรู้สึกใบหน้าที่ยิ้มแย้ม สื่อให้เห็นถึงความรู้สึกที่บริสุทธิ์ภายในจิตใจการสื่อสารของผู้คนที่ตรงไปตรงมาทั้งท่าทางและอารมณ์บริบทของสังคมล้านนานั้นถือเอาความเชื่อประเพณีเป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติในการสร้างศีลธรรม ให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในสังคมอย่างดี  ผลการสร้างสรรค์แสดงออกถึงความสุขสนุกสนานความอบอุ่น ได้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของไทยที่สืบต่อกันมาโดยแสดงให้ถึงความสุขผ่านทางใบหน้าของผู้คนและองค์ประกอบที่แสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่ทำให้เห็นถึงการผสมผสานของเส้น สี รูปทรง น้ำหนักและความกลมกลืนของรูปทรงและเนื้อหาช่วยถ่ายทอดให้งานเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่สนุกสนาน โดยถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของคนไทย  The objectives of this study were to study, analyze, interpret Lanna's mural painting, to create knowledge in creating unique contemporary paintings and to create contemporary paintings that reflect the Thai way of life.  The creative process was a 20 painting work in contemporary art form by using acrylic paint technique on canvas. It was a creation of works inspired by the study of Lanna murals, with content reflecting life, warmth, dependence and happiness by using Lanna's unique culture as inspiration to create unique and outstanding works of Lanna's mural painting in terms of lifestyle, living and beautiful traditions to develop in creating a contemporary work, with combination of Western and Eastern art to create a new, unique style of art. The creation of works mainly focus on conveying the joy and fun of people who live a simple life, the warmth of the people expressed through facial expression, emotion, feeling, smiling face which convey pure feelings within the mind, as well as the communication of people that is straightforward, both in gesture and emotion, in the context of the Lanna society, based on belief and tradition as a practice to creates morality for people in society.  The creative works symbolized happiness, joy, warmth to see the Thai way of life, which have been passed down by showing happiness through the faces of people and the elements that show unity, through the combination of drawing lines, colors, shapes, weights and harmony of shapes and content, helping to convey the work to create fun emotions by conveying various stories that occur in Thai people's way of life.

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2562, จาก : http://www.culture.go.th/culture_th/article_attach/publication.pdf

เกรียงไกร เมืองมูล. (2556). ประวัติความเป็นมา จิตรกรรมฝาผนังล้านนา (Lanna Mural Painting). สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563. จาก : http://culture.mome.co/muralpainting/

ฉัตรสุรางค์ แก้วเป็นทอง. (2556). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์กับจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัวจังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาณุพงษ์ เลาหสม. (2541). จิตรกรรมฝาผนังล้านนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สรยุทธ ดวงใจ (2546). การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากจิตรกรรมล้านนา (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร

Downloads

Published

2022-12-20