การพัฒนาเศษวัสดุเซรามิกอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่ง (Upcycling) ด้วยแนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

The Upcycling Product Design from Waste Ceramic Materials through Environmental Design Concept

Authors

  • ฝนทิพย์ รังสิตสวัสดิ์

Keywords:

การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม, เศษวัสดุเซรามิก , Environmental Design, Waste Ceramic Upcycle

Abstract

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเศษวัสดุเซรามิกอย่างสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ upcycling ด้วยแนวคิดการออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อมมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม และแนวคิด upcycling ที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเซรามิก 2) เพื่อศึกษาและทดลองเทคนิคในการแปรรูปเศษวัสดุเซรามิกที่จะนำมาซึ่งข้อค้นพบเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ upcycling และ 3) เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเซรามิกด้วยแนวคิดการออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่จะเป็นทางเลือกใหม่ชะลอการเกิดขยะและสามารถเพิ่มมูลค่าของเศษวัสดุเซรามิกได้ จากการศึกษาพบว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้วยแนวคิดการออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ใช้เศษวัสดุเซรามิกเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต ผ่านกระบวนการที่ทำให้มีคุณภาพและประโยชน์เพิ่มมากขึ้น แนวคิดที่สอดคล้องกับการ Upcycle ซึ่งการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความสวยงาน และคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยโดยใช้แนวคิดสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) หลักการ 4R (Reduce, Reuse, Recycle แ ละ Repair) 2) การยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์และวัสดุ และ 3) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานและในงานวิจัยนี้มีผลการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 5 ชิ้น ในประเภทผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เจาะจงเฉพาะบุคคลหรือกลุ่ม ไม่เหมารวมแบบทุกเพศ ทุกวัย แต่จะผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อคนที่มีลักษณะรูปแบบการใช้ชีวิตแบบนั้น ๆ สอดคล้องกับการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเข้ากับยุคสมัยปัจจุบันซึ่งผลิตภัณฑ์ ต้นแบบประกอบด้วย ที่ดริปกาแฟ จำนวน 2 รูปแบบ ถาดรอง จำนวน 1 รูปแบบ และเก้าอี้ จำนวน 2 รูปแบบ ด้วยการเลือกเทคนิคจากทดลองประสาน 2 วัสดุ โดยการร้อยสาน และเซาะร่องไม้ และการประสานเศษเซรามิก และไม้ด้วยยางรัก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเกิดรูปแบบที่น่าสนใจเป็นการผสมผสานการใช้ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ผลงาน เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ อีกทั้งเป็นการจำกัดหรือลดการใช้วัสดุให้น้อยที่สุดในงานออกแบบ เนื่องจากการใช้วัสดุหลายประเภททำให้กระบวนการทำลายคัดแยกขยะ ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ผลจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling จากเศษวัสดุเซรามิก ด้วยแนวคิดการออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อมนี้เป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้งานที่ต้องการความแปลกใหม่ รูปแบบที่แตกต่าง เป็นการชะลอการเกิดขยะ และสามารถเพิ่มมูลค่าของเศษเซรามิกเหลือทั้งจากกระบวนการผลิตได้ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่กำหนดไว้  The study of The Upcycling Product Design from Waste Ceramic Materials through Environmental Design Concept has the objective following this; 1) To study the concepts of environmental design and the concept of Upcycling that will be useful in the development and design of products from ceramic waste; 2) To study and experiment on the techniques for enhancing the ceramic waste materials that discovering the advantages and disadvantages of various techniques, which applied in upcycling product design; and 3) to develop and design products from ceramic waste with an environmental design concept that will be a new alternative method, reducing a waste ceramics while can value-added them. The study found that the product design of waste ceramic from the manufacturing process through an environmental design concept for increases the quality and benefits is consistent with upcycling. It is the development and design with creativity to create the aesthetic product and functional consideration. There is 3 keys consisted concepts: 1) the 4R principle (Reduce, Reuse, Recycle and Repair), 2) consideration of the life-long of products and materials, and 3) modifying the usage and functions. Additionally, there are 5 prototypes in the lifestyle category, corresponding to the target group. The prototypes consist of 2 designs of coffee drippers,1 design of tray, and 2 designs of chairs through techniques from the experimental process which is the combination of 2 materials by weaving, grooving and lacquer gluing. It is a combination of using wisdom to create works, adding value to the product and minimizing the uses of materials. Finally, the development and design of upcycling products from waste ceramic with an environmental design concept is a new alternative, showing different styles and reducing waste ceramic while adding -value to answer the objectives of this established research.

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2562). อะไรคือ ‘อัพไซเคิล’ UPCYCLE. Think Trade Think DITP ชี้ช่องการค้า. สืบค้นจาก https://thinktradethinkditp.com/what-is-upcycle/

กรีนเน็ตเวิร์คไทยแลนด์ (2562). Upcycle และ Recycle วิถีแห่งความยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.greennetworkthailand.com/upcycle-upcycling-recycleคืออะไร/

คชินท์ สายอินทวงศ์. (ม.ป.ป.). เซรามิก Ceramic. Thai Ceramic Society. สืบค้นจาก http://www.thaiceramicsociety.com/ab_cer.php

จักรสิน น้อยไร่ภูมิ และสิงห์ อินทรชูโต. (2560). กระบวนการพัฒนานวัตกรรมวัสดุอัพไซเคิลในประเทศไทย

(Innovation Development Pattern of Upcycled Materials in Thailand). Journal of Architectural Research and Studies, 14(1), 47–60.

จีซี. (2563ก). GC เปิดโครงการ Upcycling Upstyling ต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์ ECO-Design. สืบค้นจาก https://gccircularliving. pttgcgroup.com/th/news/better-living/493/gc-%E0%B9%80%E0%B8%9B% E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8% 84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0% B8%B2%E0%B8%A3-upcy cling-upstyling-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0% B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8% 81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8 %93%E0%B8%91%E0%B9%8C-eco-design

จีซี. (2563ข). เปลี่ยนขยะพลาสติกให้กลายเป็นหลอดกันกระแทกตอบโจทย์การขนส่งสินค้ากับโครงการ Upcycling Upstyling. สืบค้นจาก https://sustainability.pttgcgroup.com/en/newsroom/featured-stories/569/เปลี่ยนขยะพลาสติกให้กลายเป็น-หลอดกันกระแทก-ตอบโจทย์การขนส่งสินค้า-กับโครงการ- upcycling-upstyling

จีซีโชว์ผลงานจากขยะพลาสติกครบทั้งฟังก์ชัน-ดีไซน์. (15 กรกฎาคม 2563). เดลินิวส์. สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/article/ 784905/

ฉัตรชัย จันทร์เด่นดวง. (2558). การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม. ECO SHOP ศูนย์การเรียนรู้งานออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก http://www.greenscentsorganic.com/article/129

ณปภัช พิมพ์ดี. (2560). เคมีกับเซรามิกส์. SciMath. สืบค้นจาก https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7140-2017-06-04-08-43-52

ณัฐฐินันท์ นันทสิงห์. (2563). เมืองรีไซเคิล : การออกแบบหมุนเวียน (Circular Design) สร้างชีวิตคนเมืองได้อย่างไร?. จาก https://kindconnext.com/kindworld/circular-design/

เดอะ สแตนดาร์ด ทีม. (2562). ของเสียแต่ไม่เสียของด้วย ‘Upcycle’ กระบวนการอัพมูลค่าขยะไร้ค่าให้กลายเป็นของแต่งบ้านดีไซน์เก๋. สืบค้นจาก https://thestandard.co/ichitan-green-factory-zero-waste/

ไทยพับลิก้า. (2561). Upcycling the Ocean วิถีความยั่งยืนของธุรกิจแฟชั่น. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2018/08/ upcycling-the-ocean-fashion-sustainabilitycircular-economy/

นริศา สุมะมานนท์. (2562). ‘Kintsugi’ ศิลปะแห่งการแตกร้าว ร่องรอยสวยงาม แห่งความบอบช้ำ. Urban Creature. สืบค้นจาก https://urbancreature.co/kintsugi/

แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2564-2566. (2564). สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/ research/industry/summary-outlook/industry-summary-outlook-2021-2023

บริษัท บาริโอ จำกัด. (ม.ป.ป.). Kintsugi ศิลปะแห่งความไม่สมบูรณ์. Retrieved from https://www.bareo-isyss.com/service/art-culture/kintsugi/

ปอ เปรมสำราญ. (2561). วิถีแห่ง ‘วะบิ-ซะบิ’ ความงามที่มีรอยตำหนิและกาลเวลาเป็นกัลยาณมิตร. The Momentum. สืบค้นจาก https://themomentum.co/wabi-sabi/

ปรีดา ศรีสุวรรณ์ และพัดชา อุทิศวรรณกุล. (2562). การออกแบบแฟชั่นยั่งยืน THE CREATION OF SUSTAINABLE FASHION. Veridian E-Journal, 12(5), 711–728.

พชรวรรณ สนธิมุล. (2563). แนวทางการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมเซรามิกสมัยใหม่ให้ก้าวทันอุตสาหกรรมอนาคต (OIE SHARE ed., Vol. 68). กลุ่่มประชาสััมพัันธ์์และบริการห้้องสมุุด สำนักงานเลขานุการ กรมสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.

มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2555). คู่มือ Lean Management for Environment สำนักอุตสาหกรรมเซรามิก.

รักเร่ เกลื่อนเมฆ. (2547). อุตสาหกรรมเซรามิก. สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่.

วณัส คะเนเร็ว. (2562). อิทธิพลจาก Freitag ‘ฟรายถาก’ กับเทรนด์ Upcycle ของแบรนด์ไทย. สืบค้นจาก https://craftnroll.net/craftinsight/insight/freitag-upcycle-thailand/

วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์. (2561). รีไซเคิลแบบมีสไตล์ FREITAG แบรนด์ขวัญใจคนรักษ์โลก. สืบค้นจาก https://www.smethailandclub.com/marketing/2858.html

ศรุติ พรหมภิบาล. (2563). เมื่อแฟชั่นไม่ได้เป็นแค่วิถีการแต่งกายแต่หมายถึงอีกขั้นของความห่วงใยโลก. สืบค้นจาก https://kindconnext.com/kindworld/เมื่อแฟชั่นไม่ได้เป็นแ/

สุรศักดิ์ ไวทยวงศ์สกุล. (2560). เคมีกับเซรามิกส์. SciMath. สืบค้นจาก https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7140-2017-06-04-08-43-52

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2564). Upcycle เทรนด์ใหม่ของคนสายกรีน. สืบค้นจาก https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4396/

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2557). สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2557 (เมษายน – มิถุนายน 2557) (อุตสาหกรรมเซรามิก). สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com /s/oie/ 1981746

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (ม.ป.ป). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP. สืบค้นจาก http://otop.dss.go.th/index.php/en/knowledge/ informationrepack/359-2020-01-24-08-42-46?showall=&start=1

แสงรวี สานใจวงค์. (2563). ทรรศนะความยั่งยืนต่อการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศไทย.

อินโนเวชัน ฮับเคเคยู (Innovation Hub KKU). (2562). Freitag-แบรนด์กระเป๋าสตรีแฟชั่นที่สร้างจากผ้าใบรถบรรทุก. Retrieved from https://www.innohubkku.com/con tent/12456/freitag-แบรนด์กระเป๋าสตรีแฟชั่น-ที่สร้างจากผ้าใบรถบรรทุก.

อรุณี ศิลปการประดิษฐ์. (2563). ขยะ + ไอเดีย = Upcycling. MGR Online. สืบค้นจาก https://mgronline.com/mutualfund/detail/9630000080801

เอ็ม ดีไอ ซี. (2563). Wreck เฟอร์นิเจอร์จากเซรามิกเหลือใช้โดย Bentu Design. Retrieved from https://hr.tcdc.or.th/en/Articles/Detail/wreck

เอสเอ็มอีไทยแลนด์. (2563). เกาะกระแส “Circular Design” ดีไซน์เปลี่ยนโลก เพิ่มโอกาสธุรกิจสินค้าออกแบบยุคใหม่. สืบค้นจาก https://www.smethailandclub.com/design-5979-id.html

ไอเออเบิน. (ม.ป.ป.) Reduce, Reuse, Recycle, Repair และ Upcycle คืออะไร. Retrieved from https://www.iurban.in.th/diy/reduce-reuse-recycle-repair-upcycle/

Aouf, R.S. (2020). Lucas Muñoz designs Mo de Movimiento restaurant interior using waste materials. Retrieved from https://www.dezeen.com/2021/11/18/ mo-de-movimiento-sustainable-restaurant-interior-lucas-munoz/

Braungart, M., & McDonough, W. (2002). Cradle to cradle: Remaking the way we make things (2nd ed.). United Kingdom: Vintage books.

Ermolenko, D. (2020). WHEN HISTORY HAS A FUTURE - LUFTHANSA UPCYCLING COLLECTION 2.0. 50skyshades. Retrieved from https://50skyshades.com/news/airlines/ when-history-has-a-future-lufthansa-upcycling-collection-20#google_vignette

Grand View Research. (2019). Ceramics Market Size, Share & Trends Analysis Report By Product (Traditional, Advanced), By Application (Sanitary Ware, Abrasives, Tiles), By End-Use; By Region, And Segment Forecasts, 2019 - 2025 (No. 978–1-68038-621–9). Retrieved from https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/ceramics-market

Lovelady, C.H. (n.d.). (2021). Upcycling For a Better World. Retrieved from https://www.ncrealtors.org/upcycling-for-a-better-world/

Lufthansa. (n.d.). (2021). The exclusive collection for aviation enthusiasts. Retrieved from https://www.worldshop.eu/en/lufthansa-aviation/lufthansa-upcycling-collection/?p=GOraa87Z MVI&etcc_cmp_onsite=upcycling&etcc_med_onsite=lp_upcycling_cta_zur_upcycling_cat&etcc_ cu=onsite

Globetrender. (2020). Lufthansa upcycles old aircraft parts into homeware collection. Retrieved from https://globetrender.com/2020/10/01/lufthansa-upcycling-collection/

Mantovani, A. (2019). KINTSUGI AND THE ART OF REPAIR: life is what makes us. Medium. Retrieved from https://medium.com/@andreamantovani/ kintsugi-and-the-art-of-repair-life-is-what-makes-us-b4af13a39921

Thornton, K. (1994). Reiner pilz, salvo in Germany. UK: SalvoNEWS

World Health Organization (WHO). (2021). Climate change and health. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/climate-change-and-health

Downloads

Published

2022-12-21