การศึกษาอัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบตราสินค้า : กรณีศึกษากลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านบ้านธารปราสาทใต้
A Study of the Cultural Identity in the Design of Product Branding: A Case Study of South Than Prasat Handicrafts Local Groups
Keywords:
การออกแบบอัตลักษณ์, การออกแบบตราสินค้า, Identity design, Logo designAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านธารปราสาทใต้และออกแบบตราสินค้าให้มีความเหมาะสมกับสินค้ากลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านบ้านธารปราสาทใต้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำกลุ่มสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านฯ ผู้นำชุมชน นักพัฒนาชุมชนประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) กลุ่มสมาชิกผู้เข้าร่วมปฏิบัติออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์หัตถกรรม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์การประชุมกลุ่มย่อย และแบบประเมินความพึ่งพอใจต่อรูปแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบอัตลักษณ์ชิงวัฒนธรรมของตราสินค้าที่มีความเหมาะสมกับสินค้ากลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้าน บ้านธารปราสาทใต้ โดยตั้งชื่อสินค้า "ถักทอเส้นใย" เป็นชื่อที่อธิบายถึงคุณลักษณะกระบวนการผลิตและวัสดุที่ใช้ในการผลิต ตราสินค้าอยู่ในประเภท Combination Mark คือ การวางตัวอักษรชื่อ ถักทอเส้นใย วางคู่กับภาพของหม้อปากแตร ด้วยกระบวนการสานเส้นใยพืช ตรงกลางหม้อปากแตรเป็นลายสานที่เป็นเอกลักษณ์ ใช้โทนสีน้ำตาลสะท้อนภาพลักษณ์สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ตราสินค้ามีลักษณะเฉพาะตัว Unigueness มีเอกลักษณ์เฉพาะ กะทัดรัด สั้น จดจำง่าย และบ่งบอกถึงคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ได้ดี ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบตราสินค้า พบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.46 ค่า S.D 0.50 The objective was to study the cultural Identity of South Than Prasat community and design the suitable product branding for the handicrafts local groups with 2 samplings: 1) key informants; group leader, community leader, and community developer of local government organization and: 2) participants; group members in the product branding design practices. The instruments used in this research: questionnaire, focus group, and product branding patterns’ satisfaction assessment. The study found that the cultural identity design of product branding suited for the handicraft local groups called “thread weaves” describing the characteristic of manufacturer process and materials. The identity used Combination Mark type: placing name letters, weaving threads, pairing with the picture of trumpet shaped pot. Thread weaves process used in the middle of trumpet shaped pot being unique patterns with brown tones in which reflected the eco-friendly branding’s image. The brand had a uniqueness; compact, short, easy to remember, and indicated to important features of the products. The results found a good overall satisfaction mostly (means = 43.46 and S.D. = 0.50).References
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไท. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.
ชัยรัตน์ อัศวางกููร. (2550). ออกแบบให้โดนใจ. กรุุงเทพ : Within Book.
ยุรฉัตร บุญสนิท. (2546). ลักษณะความสัมพันธ์ของวรรณกรรมกับสังคมในพัฒนาการวรรณคดี. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2530). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ : คอร์ฟังค์ชั่น
อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2541). การออกแบบตราสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ : ภาควิชานฤมิตศิลป์
Berryman, Gregg. (1984). Note on Graphic Design and Visual Communication. Los Altos, Calif.: William Kaufmann, Inc.
Hornby, A. S. (2001). Oxford Advanced Learner’s Dictionary (6th ed.). Oxford: Oxford University Press.