ทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง สู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัย

The Cultural Capital of Hmoob Ethnic to Contemporary Fashion Products

Authors

  • สุระเกียรติ รัตนอำนวยศิริ

Keywords:

ผลิตภัณฑ์แฟชั่น, ชาติพันธุ์ม้ง, ผ้าเขียนเทียน, การออกแบบร่วมสมัย, fashion product, Hmoob ethnicity, Hmoob batik, contemporary design

Abstract

กลุ่มชาติพันธุ์ม้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายประเพณีจากบรรพบุรุษ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งเปลี่ยนแปลงไป กลุ่มชาติพันธุ์ม้งใช้ทุนทางวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายประเพณีของชาติพันธุ์ม้ง ต่อยอดด้วยการสร้างสรรค์สินค้าแฟชั่นร่วมสมัย เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ โดยแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัยเพื่อเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ โดยแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ม้งอย่างร่วมสมัยเพื่อการพาณิชย์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) อัตลักษณ์ของทุนทางวัฒนธรรมการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง (2) ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (3) นวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นกับทุนทางวัฒนธรรม และ (4) แนวโน้มกระแสนิยม โดยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นกับทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ม้งยังคงความงามทางสุนทรีย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งยึดถือแนวทางที่สอดคล้องกับแนวคิดของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และความเชื่อที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ อาทิ ที่มาและความหมายของลวดลาย, แนวทางการสร้างสรรค์ลวดลายจากการลอกเลียนธรรมชาติ, จากตำนานความเชื่อ และจากอักขระโบราณ, การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยรูปร่างเรขาคณิต, เทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์ลวดลายหรือเรียกว่า “การเขียนเทียน”, กระบวนการย้อมสีธรรมชาติ และการเลือกวัสดุที่มาจากธรรมชาติ เป็นต้น  Hmoob ethnic group who have lived in Thailand. They have inherited cultural heritage such as traditional costumes from ancestors. At present, the change of current social context is affecting the change of the Hmoob ethnic group way of life. Hmoob ethnic groups have extended the cultural capital in terms of Hmoob ethnic group’s traditional costumes to create contemporary fashion products, in order to generate income. By the guidelines to create the contemporary fashion products from cultural capital of Hmoob ethnic group for commercial purposes with four important components: (1) Identity of the cultural capital of the Hmoob ethnic group’s traditional costumes. (2) Target group (3) Innovation in fashion product design and cultural capital and (4) Trend The Creation of fashion products from the Hmoob ethnic group’s cultural capital can maintain the aesthetic of the Hmoob ethnic group. The relationship with the concept of living with nature and beliefs that are inherited from their ancestors such as the origin and meaning on the fabric patterns. Guidelines for creating patterns by nature imitation. From legend and ancient characters, to create patterns with geometric shapes. Techniques for patterns creation which is called “Hmoob batik”, The natural dyeing process and the selection of natural materials, and etc.  

References

จำนงค์ ปัญญาแก้ว. การสร้างกระบวนทัศน์สินค้าชุมชนร่วมสมัยจากทุนวัฒนธรรมกรณีศึกษา : ชนเผ่าม้ง ตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์. สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

บ้านจอมยุทธิ์. การแต่งกายเผ่าม้ง. สืบค้นวันที่ 1 สิงหาคม 2564, จาก https:/www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/06_1.htm

ฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตศิลป์สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และศักยภาพ. ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และการสร้างสรรค์ผ้าปักม้ง, สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2563, จาก Https:/WWww.Sacict.Or.Th/Uploads/Items!Attachments/ Ca889Fd9B844559Dc1D47B4A52D5E40B/ 43Ff0E22954Ffe9583E67Ef39B87Dc44.Pdf

มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์, ประเพณีการแต่งกายของชาวเขาเผ่าม้ง. สืบค้นวันที่ 1 สิงหาคม 2564. จาก http://www.hmongkheknoi.pcru.ac.th/layouts/banner/

ศิวรี อรัญนารถ. (2558). นวัตกรรมตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ : ทุนวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอเชีย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง. สืบค้น วันที่ 1 สิงหาคม 2564. จาก https:/vmw.sac.or.thdatabases/ethnic-groups/ethnic Groups/84

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. ผ้าปักม้ง เอกลักษณ์ชนเผ่าที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ. สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2563 จาก Https:/WWw.Sacict.Or.Th/Th/Detal/2018-09-14-11-35-V-Bza

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน). (2557). เอกลักษณ์และศิลปะลวดลายผ้าชาวเขา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). พระนครศรีอยุธยา: บริษัท สยามคัลเลอร์พริน จำกัด. สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2563 จาก Https://Fliphtml5.Com/WadxNszx Basic

สไบทิพย์ ตั้งใจ. (2558). การจัดการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะผ้าปักของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งบ้านผานกกก ตำบลโป่งแยง อำเภอแมริม จังหวัดเชียงใหม่. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2555). คู่มือการผลิตผ้าย้อมคราม. (พิมพ์ครั้งที่2). กทม: บริษัท มูฟเม้นท์ เจน ทรี จำกัด. สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2563, จาก http://puparn.rid.go.th/industry/PDF/19-19.pdf

หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลปี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (FAC-RU) .(2563). โครงการนวัตกรรมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์จากจังหวัดน่านสู่สากลเพื่อการท่องเที่ยวเซิงสร้างสรรค์กรณีศึกษา ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว จังหวัดน่าน. (รายงานการดำเนินการวิจัย). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง ผ้าเขียนเทียน Hmong Batik กราฟีกบนผืนผ้า. สืบค้นวันที่ 1 สิงหาคม 2564. จาก https://www.nairobroo.com/travel/tips-traveles/hmong-batik

Go Online Thailand. (2020). เจาะลึก 5 Generations.. ...เข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น. สืบค้นวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://goonlinethailand.com/blogionline-marketing/generations-for-marketing/

TCDC RESOUECE CENTER. (มปพ). คู่มือการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ World Global Style Network Database Manual. สืบค้นวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564, จาก http:/lresource.todc.or.thruploacshare/ wgsn.pdf

WGSN. (2022). Womenswear Forecast AVW 22/23: Rerooted Nature [pdf fle]. จาก https://www.wgsn.com/en

สัมภาษณ์

รัตนาพร ศิลป์ท้าว. ผู้ประกอบการร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน. สัมภาษณ์. 16 ธันวาคม 2563.

Downloads

Published

2023-05-18