การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะดิจิทัล “ราชธานีศรีวะนาไล” ด้วยสื่อเทคโนโลยีโลกเสมือนผสมผสาน
Digital art creations “Ratchathani Sriwanalai” by Mixed Media Reality Technology
Keywords:
ประเพณีแห่เทียนพรรษา ทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุบลราชธานี, พหุสัมผัส, ศิลปะดิจิทัล, เทคโนโลยีความจริงเสมือน, เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, เทคโนโลยีโลกเสมือนผสมผสาน, The candle festival cultural capital of Ubon Ratchathani, Multisensory, Digital art, Technology VR, Technology AR, Mixed Media RealityAbstract
บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะดิจิทัล จากประเพณีแห่เทียนพรรษา ทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุบลราชธานี ด้วยสื่อเทคโนโลยีโลกเสมือนผสมผสาน (Mixed Media reality ผ่านการรับรู้แก่ผู้ชมด้วยวิธีพหสัมผัส ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน และการตอบสนองทางความรู้สึก สู่สุนทรียะเชิงสัมพันธ์ ผู้วิจัยได้ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นทีสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ ช่างทำเทียน จากนั้นนำช้อมูลมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะดิจิทัลที่ชื่อว่า "ราชธานีศรีวะนาไล" ด้วยสื่อเทคในโลยีโลกเสมือนผสมผสาน (Mixed Media reality) 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนจัดแสดงด้วยการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน VR (Virtual Reality) ผู้ชมจะเข้าสู่การชมประติมากรรมเทียนยักษ์เป็นจุดแรก และสามารถเลือกไปทางซ้าย หรือ ทางขวาก่อนก็ได้ ในจุดต่าง ๆ รับชมผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า แว่น Oculus และส่วนจัดแสดงด้วยการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม AR (Augmented Reality) นิทรรศการภาพถ่ายที่เปลี่ยนการดูภาพแบบเดิมให้สนุกสนานมากยิ่งขึ้น จากการใช้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์ที่เป็นระบบ android สแกนชมผลงาน โดยจัดแสดง ณ ลานทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ผลการประเมินพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ศิลปะดิจิทัล "ราชธานีศรีวะนาไล" อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยระดับการรับรู้เท่ากับ 4.76 ในขณะที่การประเมินผลงานสร้างสรรค์ศิลปะดิจิทัล ที่ก่อให้เกิดการรับรู้และสร้างประสบการณ์แก่ผู้เข้าชมงานพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ในทุกประเต็นเฉลี่ย 4.23 ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะดิจิทัล "ราชธานีศรีวะนาไล" นับได้ว่าเป็นการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อดิจิทัลที่ช่วยส่งเสริมให้จังหวัดอุบลราชธานีก้าวเข้าสู่การเป็นเมืองแห่งดิจิทัล ก่อให้เกิดภาพจำของเมืองแห่งความทันสมัยที่สอดแทรกเรื่องราวประเพณีแห่เทียนพรรษา อันเป็นมรดกของชาวจังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับศิลปะร่วมสมัย และสามารถต่อยอดสู่ระดับนานาชาติต่อไป This article based on concepts related to the creation of digital art from the candle festival cultural capital of Ubon Ratchathani Province using virtual reality technology VR (Virtual Reality) and augmented reality technology AR (Augmented Reality) through the perception of the audience through a multi-sensory approach, including vision, hearing and sensory response to relational aesthetics. The researcher studied collect information from field, visits and interview with experts, philosophers and candle-makers then analyze the data and synthesized to create a digital art called “Ratchathani Sriwanalai” with media technology, a virtual world that combines Mixed Media Reality in 2 parts, namely the exhibition part using VR (Virtual Reality) technology, the audience will enter to see the giant candle sculptures for the first time and audience can choose to go left or right first. Various points are viewed through a device called Oculus glasses, and when you get to this point, this part of the exhibition using AR (Augmented Reality) augmented reality technology, more fun from using a mobile phone or android device to scan the works by exhibiting at the Thung Si Muang courtyard, Mueang District, Ubon Ratchathani Province. The results showed that the target group was satisfied with the digital art exhibition “Ratchathani Sriwanalai” is at the highest level. There is an average level of perception was as high as 4.7 while the evaluation of digital art creations was found that the target group had an average perception of all issues at 4.23. The digital art creations “Ratchathani Sriwanalai” can be considered as an activity that uses digital media that helps Ubon Ratchathani province promoting to become a digital city. It creates a memory of a modern city that inserts the story of the candle parade tradition which is the heritage of the people of Ubon Ratchathani Province, together with contemporary art and can continue to expand to the international level.References
ธนภัทร รุ่งธนาภิรมย์. (2560). ทฤษฎีความงาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แอทโฟร์พริ้นท์.
สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี. (2563) .คำขวัญจังหวัดอุบลราชธานี สืบค้นวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563. จาก http://ubonratchathani.go.th
สารสนเทศท้องถิ่น ณ อุบลราชธานี (2020). ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานีในความทรงจำ. สืบค้น วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http:/www.esanpedia.oar.ubu.ac.th
ไกด์อุบล. (2563). งานประเพณีแห่เทียนพรรษา. สืบค้น วันที่ 26 มิถุนายน 2563. จาก https://www.guideubon.com
คณะกรรมการจัดทำหนังสือ วิวัฒนาการประวัติประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี (2550). เลิศล้ำเลอค่า เทียนพรรษาเมืองอุบล. อุบลราชธานี โรงพิมห์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อุบลราชธานี 200 ปี. (2535). กรุงเทพ ฯ: ชวนชมการพิมพ์.
Downloads
Published
2023-05-18
Issue
Section
Articles