การขึ้นทะเบียนโขน : ตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
Khon Masked Dance Drama in Thailand Inscribed on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity
Keywords:
โขน, โขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้, อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษาวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546, มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติAbstract
การขึ้นทะเบียนโขน : ตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโขนซึ่งได้รับเลือกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติจากองค์การสหประชาชาชาติ โดยอาศัยข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ บทความทางวิชาการ และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การขึ้นทะเบียนโขนไทย: มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ สามารถแบ่งได้ 2 กระบวนการ คือ 1) การขึ้นทะเบียนโขนในประเทศไทย ด้วยการประกาศให้โขนขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นรายการแรกของสาขาศิลปะ การแสดงของประเทศไทย 2) การขึ้นทะเบียนโขนไทยในระดับนานาชาติ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยท้ายที่สุด โขนไทยได้รับการขึ้นบัญชีรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ทั้งนี้ บทความนี้นำเสนอกระบวนการขึ้นทะเบียนโขนไทย ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์ สืบทอดและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ด้านศิลปะการแสดงของไทย เพื่อให้ศิลปะไทยอย่างโขน สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาที่งดงาม ให้คงอยู่กับสังคมไทยในยุคปัจจุบันอย่างยั่งยืนต่อไป Khon Masked Dance Drama in Thailand Inscribed on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity is a qualitative research. The purpose of this research is to study Khon Masked Dance Drama in Thailand Inscribed on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity by data collection procedures of the article such as document, book, academic article and others media. The study results is that Khon Masked Dance Drama in Thailand Inscribed on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity has 2 process included 1) Khon Masked Dance Drama in Thailand Inscribed on the Representative List of the Intangible Cultural of Thailand and 2) Khon Masked Dance Drama in Thailand Inscribed on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity. Finally, Khon Masked Dance Drama in Thailand Inscribed on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity. Conclusion, the article is presented the process of Khon Masked Dance Drama in Thailand Inscribed on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity which can be based upon the enhancing Thai arts for stand still in the present day and sustain period.References
กรมศิลปากร. (2552). โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย นครปฐม : รุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2552) โขน มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติรายการแรกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). ศิลปะการแสดง : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). โขน มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติรายการแรกของประเทศไทย นครปฐม : สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ณัฐชัย ณ ลำปาง. (2558). วิจัยเรื่อง การคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 : กรณีศึกษาของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคี. ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ. (2542) โขน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2496). โขนภาคต้นและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์ พระนคร.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2500). โขน พิมพ์ในงานพระราทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 มิถุนายน 2500. หน้า 43. มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ, วิวัฒนาการเรื่องแต่งกายโขน - ละคร สมัยรัตนโกสินทร์
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ. (2562) "อนาคตโขนไทย." ในโครงการประชุมวิชาการระดับชาติและเสวนานานาชาติ เรื่องโขน: คุณค่าและความสำคัญในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ. วันที่ 29 สิงหาคม 2562 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. "ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย". https://www.sac.or.th/ databases/archaeology/ terminology/ปราสาทขอมในประเทศไทย-0, โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. "ปราสาทขอมในประเทศไทย." สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 30. (ออนไลน์), 2548. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2466) ประวัติการฟ้อนรำ. ในการละครไทยอ้างถึงใน หนังสืออ่านประกอบคำบรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทยตอนดนตรีและนาฏศิลป์ไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระนคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรพล วิรุฬรักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 - 2477. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรัตน์ จงดา. (2562). การพัฒนาเครื่องโขนในรัชกาลที่ 9. ในโครงการประชุมวิชาการระดับชาติและเสวนานานา ชาติ เรื่องโขน: คุณค่าและความสำคัญในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ. วันที่ 29 - 30 สิงหาคม 2562 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
The Associated Press. (2014). World's oldest masks displayed in Israel. CBCnews, https://www.cbc.ca/news/world/world-s-oldest-masks-displayed-in-israel-1.2568316 (สืบค้นวันที่ 29 กรกฎาคม 2562, accessed Mar 11, 2014.
UNESCO, (2003). The Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Norwegian Ministry of Foreign Affairs.