การสืบทอดโขน : มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Inheritance of Khon: Humanity’s Intangible Cultural Heritage for Lifelong Learning

Authors

  • อินทิรา พงษ์นาค

Keywords:

การสืบทอด, โขน, มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้, การเรียนรู้ตลอดชีวิต, Inheritance, Khon, The Intangible Cultural Heritage, Lifelong Learning

Abstract

มรดกวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ในการดำรงรักษาความเป็นชาติไทย ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษมาช้านาน นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่คนไทยทั้งชาติควรรักษาสืบทอดให้ยั่งยืนสืบไปตราบนานเท่านาน แต่สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สังคมโลกมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดเป็นสภาพไร้พรมแดน (Globalization) เกิดการเลื่อนไหลของกระแสวัฒนธรรมโลก ที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต อาจนำไปสู่การสูญเสียคุณค่าทางวัฒนธรรมดั้งเดิมและเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในสังคมไทย การรักษาคุณค่ามรดกวัฒนธรรมไว้จำเป็นต้องใช้กระบวนการสืบทอดเป็นเครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้ตระหนักรู้ สร้างจิตสำนึกให้มีความหวงแหนมรดกวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของชาติที่แสดงถึงรากเหง้าของตน โขนเป็นมรดกวัฒนธรรมของไทยอันมีเอกลักษณ์โดดเด่นรวมศาสตร์และศิลป์ หลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน คุณค่าของโขนได้สะท้อนวิถีแห่งความเป็นไทยไว้อย่างซัดเจน องค์การยูเนสโกจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ซึ่งภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มความตระหนักเพื่อให้เกิดความเคารพและเรียนรู้คุณค่ามรดกวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษาและวิจัยองค์ความรู้และภูมิปัญญาเกี่ยวกับโขนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  Cultural heritage is unique in maintaining Thai society and nationality continuously. It is such a significant issue that the entire Thais inherited from ancestors for a long time should preserve a sustainable legacy as long as possible. However, the world situation is changing rapidly which the globe closely connects as a borderless state. Globalization flowing the world culture that blends with local culture has resulted in a lifestyle change. The loss of traditional cultural values and undesirable behaviors resulting in Thai society preserving cultural heritage values requires the use of the inheritance process to promote public participation, especially among children and youth, in raising awareness of their values. Creating the awareness of cherishing cultural heritage and national identity can represent one’s roots. Khon is a unique cultural heritage of Thailand that combines many fields of sciences and arts. The value of Khon reflects the Thai way of life. UNESCO has declared it a registered cultural heritage of humanity. Thailand must work to raise awareness, and respect, intangible cultural heritage values at the local, national, and international levels by the 2003 Convention on the Preservation of Intangible Cultural Heritage. Along with creative participation in the promotion and treatment might support and promote the study and research of knowledge and wisdom about Khon in various fields for Lifelong Learning.

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). โขน: มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติรายการแรกของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี. เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง). (2564, 25 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเษกษา. เล่ม 138.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ .(2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการชี้นำตนเอง: กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต, วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1). 9-13.

ผุสดี กลิ่นเกสร. (2562). การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับการพัฒนาทักษะชีวิต. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานา ชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14 ประจำปี 2562 วันที่ 19 ธันวาคม 2562. หน้า 1440.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (2542, 19 สิงหาคม) ราซกิจจานุเษกษา. เล่ม 116

มัทนียา พงศ์สุวรรณ. (2553) การนำเสนอแนวทางการสืบทอดพระปรีชาญาณแบบองค์รวมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักรินทร์ ชนประซา. วารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ประจำฉบับที่ 26 ปีที่ 14 (ประจำฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2019). หน้า 159.

ศิริพร จินะณรงค์. (2558) การพัฒนาต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกระบบสำหรับครูในมูลนิธิที่ดูแลเด็กด้อยโอกาส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานการประชุมทางวิชาการเรื่องทิศทางวัฒนธรรมกับการศึกษาในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง : สกศ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ.

สุธีรา อะทะวงษา. (2560), การสืบทอดวัฒนธรรมการฟ้อนสาวไหม และแนวทางการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์บริการการตลาดเพื่อสังคม. วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2560. หน้า 137.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2557). การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Education and Life long Leanning. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอื้องฟ้า ถาวรรักษ์ (2555). การอนุรักษ์ สืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านซาวกะเหรียง "รำตง" อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี.

Jian Yi (2017). Research on Inheritance of Intangible Cultural Heritage. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, volume 123

K. Dimitropoulos และคณะ (2018). A Multimodal Approach for the Safeguarding and Transmission of Intangible Cultural Heritage: The Case of i-Treasures. The original publication can be found in http://ieeexplore.ieee.org/document/8255779

UNESCO. (2003). Convention for the safeguarding of the intangible cultural heritage. From http://ich.culture.go.th/images/stories/ ich-pdf/2.1Convention-Safeguarding-Intangible-cultural-Heritage.pdf

Wen-Jie Yan and Shang-Chia Chiou (2021). The Safeguarding of Intangible Cultural

Heritage from the Perspective of Civic Participation: The Informal Education of Chinese Embroidery Handicrafts. Sustainability 2021, 13, 4958 https://www.mdpi.com/journal/sustainability

กรมกิจการเด็กและเยาวชน ( 17 พฤศจิกายน 2564). พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 สืบค้นจาก https://dcy.go.th/webnew/main/services/images/3_1.pdf

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564, จาก https:/www.t9.com/sry19/75149

กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นวันที่ 26 ตุลาคม 2564, จาก https:/ww.mculture.go.th/th/article_view.php? nid=21454)

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. สืบค้นวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564. จาก https://isee.eef.or.th/overview.html)

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน (2556). การสืบทอดทางวัฒนธรรม. สืบค้นวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564. จาก http://nattawats.blogspot.com/ 2013/04/cultural-inheritance.htm

Downloads

Published

2023-05-18