การศึกษาฮูปแต้มอีสานกลาง เพื่อการสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยอีสาน ชุด พระเวสสันดรชาดก

The study of mural paintings in the central northeastern area for the creation of contemporary Isan paintings in the Vessantara Jataka series

Authors

  • มนัส จอมปรุ

Keywords:

ฮูปแต้มอีสาน หรือ จิตรกรรมฝาผนังอีสานกลาง , การสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยอีสาน, พระเวสสันดรชาดก, Isan mural painting in the middle section of the northeastern region (Hoob tam Isan), Isan contemporary painting creation , The Vessantara Jataka

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบมูลฐานทางศิลปะจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของของธูปแต้มพื้นบ้านดั้งเดิม เรื่องพระเวสสันดรซาดก ในเขตอีสานกลางที่สร้างโดยช่างพื้นบ้านก่อน พ.ศ. 2500 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจ จากกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานธูปแต้มอีสาน นำมาสู่การวิเคราะห์ ค้นหาคุณลักษณะที่สามารถนำไปสู่แนวคิดในการบูรณาการสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยอีสาน เรื่อง พระเวสสันดรชาดก โดยใช้แนวคิด กรรมวิธี สื่อและวัสดุปัจจุบัน รวมถึงสร้างองค์ความรู้และแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในเชิงสร้างสรรค์แก่ผู้ที่สนใจ ผลการวิจัยพบว่า ด้านองค์ประกอบมูลฐานทางศิลปะจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของธูปแต้ม พบว่าฮูปแต้มเรื่องพระเวสสันดรชาดกในกลุ่มกรณีศึกษา มีรูปแบบที่แสดงออกด้วยคุณลักษณะที่เรียบง่าย อิสระไม่มีระเบียบแบบแผนตายตัวหรือไม่มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์และไม่ซับซ้อน อันเป็นคุณสมบัติ เอกลักษณ์ของศิลปะพื้นบ้าน ด้านพัฒนาการทางรูปแบบและองค์ประกอบพบว่ามีการจัดวางองค์ประกอบภาพคล้ายการเล่านิทานที่ยึดเอาตัวละครหลักเป็นศูนย์กลาง มีการสอดแทรกการใช้ภาพวิถีชีวิตชาวบ้านร่วมประกอบเสริมภาพให้เกิดความสมบูรณ์ ด้านการสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยอีสาน เรื่อง พระเวสสันดรชาดก พบว่า การทดลองสร้างสรรค์โดยการบูรณาการจากรูปแบบพื้นบ้านดั้งเดิมสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดมิติทางพัฒนาการในหลาย ๆ ด้านและสามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานธูปแต้มร่วมสมัยได้อย่างมีหลักการด้านการสร้างองค์ความรู้และแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน พบว่าการทดลองสร้างสรรค์ตามแบบอย่างพื้นบ้านอีสานในเบื้องต้น จะสามารถพัฒนารูปแบผลงานได้ทั้งในเชิงอนุรักษ์ และพัฒนาตามแนวคิดก้าวหน้าได้  The objective of this study was to learn about the fundamental aspects of art from the traditional folk Isan mural painting or hoop tam. Using a quality research approach, the narrative of Vessantara Jataka in the middle northeastern region, which was built by local craftsmen before 1957. Interviews and surveys can be used to gather information to bring analysis from the target group involved in the Isan mural painting event and look for characteristics that could lead to the idea of incorporating current concepts, methods, media, and materials into the creation of contemporary Isan painting titled Phra Vessantara Jataka, as well as developing a theory of knowledge and guidelines for those interested in creating creative works of art. The story of Vessantara Jataka in a case study group was discovered to have the essential ingredients of art from the local wisdom of Isan mural painting. It has a simple design with an expressive aesthetic. It’s simple, it’s free, there’s no scheduling, no rules, and it’s not complicated. as a hallmark of the folk art’s originality. In terms of the evolution of art forms and composition, it was discovered that the picture’s composition was similar to the narrative in which the main character was the focal point. Interpolation is used to enhance the picture by combining pictures of the villagers’ way of life. In terms of creativity, it was discovered that combining traditional folk patterns into creative exploration, can be further expanded to produce developmental aspects in many areas, and can, in principle, lead to the creation of contemporary Isan mural painting works. In terms of developing a body of knowledge and principles for making works, it was discovered that the creative explorations started off with a traditional Isan folk style. Will be able to build a type of employment that is both environmentally friendly and advanced in nature.

References

จุฬาทิพย์ อินทราไสย. (2548). ธูปแต้มสิมเขตอีสานกลาง. รายงานวิชาส่วนบุคคลสาขาวิชา ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลูด นิ่มเสมอ (2557). องค์ประกอบศิลปั. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

นรินทร์ ยืนทน. (2562). จิตรกรรมฝาผนังเวสสันดรชาดกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนัส จอมปรุ, (2562) ธูปแต้มอีสาน : การวิเคราะห์รูปและความหมายจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การตกแต่งพื้นที่ฝาผนัง สิมร่วมสมัยอีสาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล. (2554). พัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนังอีสาน กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น จังหวัด มหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด. ขอนแก่น: รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญผะเหวด. พิธีกรรมแบบอีสานและมงคลแห่ง "น้ำ" ในที่ราบสูงโคราช ณ วัดบ้านลาน ขอนแก่น. สืบค้นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.isaninsight.com

ปิยนัส สุดี. (2557). ธูปแต้ม: ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในเขตอีสานตอนกลาง. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน E-Sarn mural paintings. ขอนแก่น: ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2534). วิวัฒนาการทัศนศิลป์สมัยใหม่ในประเทศไทย, กรุงเทพฯ: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ และคณะ. (2559). จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถแบบดั้งเดิมใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สารานุกรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุมาลี เอกชลนิยม. (2548). ธูปแต้มอีสาน งานศิลป์สองฝั่งโขง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ.

ThaiPBS. ประเพณีบุญผะเหวด(พระเวส) ตามความเชื่อเรื่องความเป็นสิริมงคลและเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของชาวอีสาน สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2564. จาก https://www.youtube.com/watch?v=TRuzu3_e01w

Downloads

Published

2023-05-18