การวิเคราะห์กระบวนการสร้างผลงานศิลปะบำบัดผ่านการถอดรหัสผลงานศิลปินผู้สร้างผลงานศิลปะร่วมสมัย

Analyze the process of creating works of art therapy through decoding the works of artists create works of contemporary art

Authors

  • นรินทรา เกโส
  • ปิติวรรธน์ สมไทย
  • ศุภฤกษ์ คณิตวรานันท์

Keywords:

ศิลปะบำบัด, ถอดรหัสการรับรู้, ทัศนศิลป์, ศิลปะร่วมสมัย, Art Therapy, The Cognitive Relationship, Visual Art, contemporary art

Abstract

ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์กระบวนการทำงานของศิลปินที่ใช้ศิลปะเป็นตัวแทนทางจิตวิทยา การรับรู้ ระหว่างการรับรู้ทางจิตวิทยาและความงามสู่กระบวนการสร้างสรรค์ ศิลปะบำบัด ผู้วิจัยทำการศึกษาวิเคราะห์ที่มาของศิลปกรรม ในการวิจัยมีการวิเคราะห์ศิลปินที่ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ในด้านลบ มาสู่การสร้างผลงานทางศิลปะ ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์ประสบการณ์พื้นหลังของศิลปินสู่การสร้างผลงานโดยได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ลักษณะผลงานสร้างสรรค์ที่ศิลปินแสดงออกผ่านผลงานโดยการใช้รหัสการรับรู้ระหว่างผู้ชมผลงานศิลปะและตัวศิลปินผู้สร้างกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะบำบัด ซึ่งมีความสอดคล้องที่เกี่ยวข้องโดยตรงเกี่ยวกับ การรับรู้ทางจิตใต้สำนึกซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ที่เกิด เพื่อเกิดก่อให้การสังเคราะห์นำไปสู่การใช้ศิลปะบำบัดเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพจิตใจให้ดี ซึ่งในเบื้องต้นที่ผู้วิจัยสนใจคำว่ามานุษยวิทยา (Anthropology) ซึ่งหมายถึงศาสตร์ที่ศึกษามนุษย์ แต่เนื่องจากมนุษย์มีหลายมิติ ศาสตร์ของมานุษยวิทยา เป็นศาสตร์ที่มีลักษณะเปิดกว้าง หากมองจากปรัชญาแรกเริ่มของมานุษยวิทยาก็จะพบว่า มานุษยวิทยา ต้องการทำความเข้าใจวิถีชีวิตของมนุษย์ที่ยังมีลมหายใจและที่เคยอยู่บนโลกนี้ การศึกษาวิเคราะห์ศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาการรับรู้เพื่อให้เข้าใจความเป็นมนุษย์ และผู้วิจัยคัดเลือกวิเคราะห์ศึกษา แนวคิดจากศิลปินทั้ง 7 ท่าน ที่ทำงานศิลปะบำบัดผ่านกระบวนการ การสร้างสรรค์ผลงานที่มีความหลากหลาย ได้แก่ วินเซนต์ แวนโก๊ะ, มาร์ค รอธโก, มารีนา อบราโมวิช, โจเซฟ โคซุธ, แอร์วิน วูร์ม, คามิน เลิศชัยประเสริฐ, อารยา ราษฎร์จำเริญสุข โดยกระบวนการวิเคราะห์ลักษณะผลงานสร้างสรรค์ ศิลปะบำบัดและมีการใช้จิตวิทยาในการถ่ายทอดผลงานที่ศิลปินแสดงออกผ่านผลงานโดยผ่านการสร้าง รหัสการรับรู้ระหว่างผู้ชมผลงานศิลปะและตัวศิลปินผู้สร้างผลงาน ผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจจากการใช้ศิลปะในรูปแบบที่ต่างกันในการสร้างกระบวนการวิธีการบำบัดในลักษณะวิธีการที่เฉพาะของศิลปินซึ่งล้วนแต่ก่อเกิดการพบคุณค่าของมนุษย์ในเชิงของการใช้ศิลปะการสังเคราะห์พิเคราะห์ตระหนักรู้จากความรู้สึกและประสบการณ์ที่ผ่านมา หันกลับไปมองส่วนที่ผ่านมาในฐานะ คนที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ เคยร่วมในประสบการณ์นั้นอย่างไร ซึ่งสิ่งที่ผู้วิจัยได้หลังจากการวิเคราะห์และนำไปสู่การพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์อันประเสริฐและบำบัดเยียวยาจิตในระดับลึกด้านในของตนได้  This research analyzes work procedures of artists whose art is used as a medium for gaining awareness of beauty and the creative process, a kind of psychological therapy. It provides an analytic study of the source of this art, with attention given to artists whose work was inspired by negative experiences. Background characteristics of creative works displayed by the artists are examined through encoding perceptions gleaned from art works that have reached through to the viewers from the artists who created them. The creative process of art therapy is attuned to an unconscious gain in awareness arising from this relationship, as a synthesis is built which enables therapeutic creation of visual works of art. From the outset the word “anthropology” takes on significance. This is the science whose subject is the human being, though since humanity has so many dimensions, the scope of anthropological study is vast. Its fundamental philosophy calls for understanding of ways of life both of living people and past world populations. This research extends this to the use of cognitive science as a way of understanding what it is to be human. Here it gives special attention to the artistic concepts of seven artists: Vincent Van Gogh, Mark Rothko, Marina Abramović, Joseph Kosuth, Erwin Wurm, Kamin Lertchaiprasert, and Araya Ratchamroensuk. The forms displayed in their artistic works are analyzed through an encoding of perceptions viewers have taken from them in relation to the artists who created them. The research was inspired by the widely varying forms and formats applied to create therapeutic methods unique to each artist, all of whom produced something of value to human beings with artistic syntheses of past feelings and experiences. These feelings and experiences are examined with a retrospective look at the standpoints of the persons who experienced them and the nature of their involvement. Analysis of the concepts and forms of these works leads to synthetization of a therapeutic art creation process that can be used for a human being’s personal development to become more whole and heal the spirit at its deepest levels.

References

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์, บรรณาธิการ. (2544). ศิลป์: ยินยล สัมผัส, กรุงเทพฯ: ฟอร์แมท แอสโซซิเอทส์

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). การบำบัดทางเลือก ในเด็กพิเศษ, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

เลิศศิริร์ บวรกิตติ, เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, วรรณะ อูนากูล, Longo JA, Garcia B, Tupper H. (2548). ศิลปกรรมบำบัด: ความสังเขป, วารสารวิชาการสาธารณสุข. 14 (6): 1051-1054.

อำไพขนิษฐ สมานวงศ์ไทย, เลิศศิริร์ บวรกิตติ. (2549). ศิลปกรรมบำบัด, ธรรมศาสตร์เวชสาร 6: 243-7.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์, บรรณาธิการ. (2544). ศิลป์: ยิน ยล สัมผัส, กรุงเทพฯ: ฟอร์แมทแอสโซซิเอทส์.

อำไพขนิษฐ สมานวงศ์ไทย, เลิศศิริร์ บวรกิตติ. (2549). ศิลปกรรมบำบัด, ธรรมศาสตร์เวชสาร 6: 243-7.

ชลิดา รัชตะพงศ์ธร. (2554). สีและปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องในศิลปะบำบัดที่มีอิทธิพลต่อการลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนนธ์ศิลปมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร

กําจร สุนทรพงษ์ศรี. (2559). สุนทรียศาสตร์ : หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3), กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัจนี นพเกตุ. (2540), จิตวิทยาเพื่อการรับรู้, กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ประกายพรึก

รัจนี นพเกตุ. (2539). การรับรู้, กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ประกายพรึก

ไสว เลี่ยมแก้ว. (2527) ความจํามนุษย์ : ทฤษฎีและวิธีสอน, ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์

ไสว เลี่ยมแก้ว. (2527) จิตวิทยาความจํา : ทฤษฎีและวิธีสอน, ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์

Edwards D. (2004). Art therapy. London: SAGE publications.

Malchiodi CA. (1999). Medical art therapy with children. London: Jessica Kingsley.

Rosal M. (1995). Art therapy with children. Abbeygate Press: Isle of Palms, SC.

Rosal M. (1995). Art therapy with children. Abbeygate Press: Isle of Palms.

Downloads

Published

2023-09-25