“งานศิลปะกับเทียน และการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อพัฒนาศิลปกรรมกับชุมชน”

An Art with Candle and People Participation for the Development of Art with Community

Authors

  • ไกรสร ประเสริฐ

Keywords:

ผลงานศิลปกรรมกับชุมชน, ศิลปะที่ประชาชนมีส่วนร่วม, An Art and People Participation, The Development of Art with Community

Abstract

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยผลงานของศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมด้วยเทียน ร่วมกับผลงานศิลปกรรมที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยทำการศึกษาวิเคราะห์ พร้อมสร้างสรรค์วิธีการเตรียมพื้นด้วยเทียนบนไม้อัดเพื่อให้เกิดผลงานศิลปกรรมจากเทียน และนํามาวิเคราะห์เชื่อมโยงสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปกรรมที่ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งผลการวิจัยพบ ว่าการสร้างผลงานศิลปกรรมด้วยเทียนนั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยส่วนของการสร้างสรรค์ตามแบบประเพณี จะนำวัสดุเทียนมาหลอมขึ้นเป็นรูป แล้วจึงใช้วิธีการแกะหรือตกแต่งในรูปแบบของเทียนพรรษา ส่วนผลงานที่ศิลปินนำมาสร้างสรรค์ มักจะนำเทียนสำเร็จรูปมาสร้างผลงานโดยมีวัสดุอื่นมาประกอบ เช่น ไม้ เหล็ก โลหะ กระดาษ ผ้าใบ พลาสติก และอื่น ๆ ซึ่งผลงานที่ศิลปินสร้างสรรค์ด้วยเทียนนั้น จะไม่มีรูปแบบใดแบบหนึ่งเป็นสำคัญแต่จะมีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกัน โดยศิลปินบางท่านได้นำทั้งสองวิธีคือ การแกะหรือตกแต่งเทียนมาผสมผสานกับการใช้เทียนสำเร็จรูป สร้างสรรค์ให้เกิดเป็นผลงานศิลปะขึ้น ในส่วนของการศึกษาวิจัยวิธีการเตรียมพื้นด้วยเทียนบนไม้อัด ได้ผลสรุปว่าสามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมได้ โดยมีผลการทดสอบว่ามีความแข็งแรงและคงทนต่อสภาพอากาศ ไม่แตกหักง่ายอย่างที่เข้าใจ ซึ่งผู้วิจัยได้ทดสอบการรองรับของเทียนที่เป็นการเตรียมพื้นบนไม้อัดที่มีขนาดความหนาของเทียนกับกรอบไม้อัดที่รองรับซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ได้จัดเตรียมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานเป็นบางส่วน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยผลงานศิลปกรรมที่สร้างสรรค์ด้วยเทียนจากศิลปินท่านต่าง ๆ พบว่า ศิลปินไม่ได้เน้นวิธีการนำเทียนมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีรูปแบบโดดเด่นมากนัก แต่ต้องการนำเทียนมาใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการเผยแพร่ผลงานศิลปะเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากกว่า โดยการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ศิลปินจะเป็นผู้กำหนดกรอบ หรือบริเวณของผลงานไว้ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับผลงานที่จัดเตรียมให้ ซึ่งทั้งศิลปินและประชาชนจะได้ร่วมลงมือเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมร่วมกัน เพื่อให้ผลงานนั้นมีความสมบูรณ์ นอกจากนี้ผลงานศิลปกรรมที่ประชาชนมีส่วนร่วมยังสามารถทำได้หลากหลายวิธีการตามลักษณะผลงานของศิลปินที่ได้ค้นคว้าหรือจัดเตรียมไว้ ซึ่งจะมีทั้งการที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมสัมผัสผลงาน การร่วมกิจกรรมที่ศิลปินจัดเตรียมไว้ เช่น การปล่อยหิน การเขียนไปรษณียบัตร การกินดื่ม และวิธีการอื่น ๆ ซึ่งลักษณะผลงานศิลปกรรมที่ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าวนี้ ไม่ได้มีการคาดหวังว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมในผลงานมากหรือน้อยเพียงใด แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีปฏิสัมพันธ์กับงานศิลปะนั้นตามความสนใจของแต่ละคนจริง ๆ โดยสรุปแล้วผลงานศิลปกรรมที่ประชาชนมีส่วนร่วม จะต้องเริ่มต้นจากการสร้างสรรค์ แนวคิดและวิธีการที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมได้ก่อน จากนั้นวิธีการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้ จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับตัวศิลปินกำหนด ซึ่งหากมีวิธีการที่ยุ่งยากประชาชนก็จะมีส่วนร่วมได้ค่อนข้างยาก หรือมีความสนใจที่จะร่วมด้วยน้อย ทำให้มีเพียงผู้ที่ให้ความสนใจมีส่วนร่วมด้วยจริงๆ จำนวนน้อยเท่านั้น จากข้อมูลการวิจัยจึงสรุปได้ว่า วิธีการที่ประชาชนมีส่วนร่วมได้ง่ายคือการสัมผัสผลงาน การฟัง การพูด การร่วมเขียน ร่วมวาดหรือระบาย การกินดื่ม การเป่าลม การจุดเทียน เป็นต้น สำหรับการให้ลงมือปฏิบัติการหลอมเทียน หรือการแกะการตกแต่งนั้น ประชาชนจะมีส่วนร่วมได้น้อย The objectives of this research were to study the artists’ work with candle, to examine Thai artists’ work that the people have been involved, and to develop ground preparation method with candle on plywood. The results showed that the creation of candle work had different patterns. They were traditional and creative ones. In traditional patterns, candle material could be melt into any shape and then carved into the candle used for Buddhist Lent. In the other hands, in creative pattern, ready-made candle was mixed with the other materials such as wood, iron, metal, paper, canvas and plastic etc. So the wood had a loose pattern. Sometime the 2 methods could be seen on some works. It was also found that the artists would like to express more the concept to disseminate than candle application. For the creation with people have been taken part, the artists asked people to react and reflect with the work so the creation came from the two parties: artists and people and the work would be perfect. The work which people have been involved were varied based on the characteristics of particular work, including touching, leaving stone, writing postcards, eating, drinking etc. In those activities, the number of people could not be expected but let them to react that art work. In developing the ground preparation with candle on plywood, the advantages were that the works were strong, weather-resistant but not brittle. The ground preparation had been tested and approved in this study. More importantly, people involving the art work would start with the ideas first and the method would come later according to the artists. If the method is too difficult, the people would not like to take part, perhaps, there were only really interested people taking part. If could be summarized that the ways that people could take part easily were touching, listening, speaking, writing, eating, drinking, blowing, and candle lighting etc. In melting candles or carving candles, people had less participation.

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2554). ศิลปะสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดาเนียล มาร์โซนา. (2552). คอนเซ็ปชวลอาร์ต. กรุงเทพฯ บริษัท เดอะเกรทไฟน์อาร์ท จำกัด.

ถนอม ชาภักดี. (2545). ศิลปปริทัศน์ เชิงอรรถการวิจารณ์. กรุงเทพฯ : เนชั่นมัลติมิเดียกรุ๊ป จำกัด.

มณเฑียร บุญมา. 2533. ผลงานศิลปกรรมชุดไทยไทย. กรุงเทพฯ : ฉลองรัตน์ จำกัด.

วิโชค มุกดามณี. (2545). สื่อประสมและศิลปะแนวจัดวางในประเทศไทย. หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2545). จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่. หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

มณเฑียร บุญมา. (2548). สูจิบัตร ตายก่อนดับการกลับมาของมณเฑียร บุญมา. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม.

ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช. (2540). สูจิบัตร ไม่มีคำประกอบ (จราจร). นาวิน แกลเลอรี่. กรุงเทพฯ.

Downloads

Published

2023-09-25