จิตรกรรมร่วมสมัย : ภายใต้กุศโลบายเมืองนครศรีธรรมราช

Contemporary Painting: Under the Stratagem of Nakhon Si Thammarat

Authors

  • มนัสชัย รัตนบุรี
  • ปิติวรรธน์ สมไทย
  • สุชาติ เถาทอง

Keywords:

จิตรกรรมร่วมสมัย, กุศโลบาย, เมืองนครศรีธรรมราช, Contemporary Painting, Stratagem, Nakhon Si Thammarat

Abstract

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุปะสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และเรียบเรียงมุขปาฐะชุมชน ประเพณีสารทเดือนสิบ กุศโลบายชาวบ้านเรื่องโจ และเรื่องชุมชนร่วมสมัยของชุมชนบ้านขุนน้ำ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำไปใช้เป็นเนื้อหาในการสร้างสรรค์ผลงานทางทัศนศิลป์ในชุมชน 2) วิเคราะห์ศิลปกรรมวิหารพระทรงม้าในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช จากสาระสำคัญเชิงโครงสร้างและสัญลักษณ์ทางศิลปกรรม และ 3) สร้างสรรค์ผลงานผ่านกระบวนการคิดที่เหนือจริงทางทัศนศิลป์ร่วมสมัย ในการสนับสนุนกุศโลบาย ผ่านเนื้อหาและสัญลักษณ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จากเนื้อหาเรื่องเล่ามุขปาฐะชุมชน ความเชื่อกุศโลบายชาวบ้าน และเรื่องราวของชุมชนในปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การถ่ายภาพ และการเขียนภาพร่าง มีขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1) รวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลการสัมภาษณ์ 2) จัดระเบียบข้อมูลจากภาพถ่าย และ 3) ออกแบบภาพร่าง เพื่อคัดเลือกภาพร่างที่มีเนื้อหาและแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านขุนน้ำมีเนื้อหาจากเรื่องเล่าผ่านความเชื่อและความศรัทธาเทียบเคียงได้กับศิลปกรรมวิหารพระทรงม้าในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้วิธีการวางสัญลักษณ์ตามโครงสร้างหน้าที่นิยมและวางองค์ประกอบศิลป์แบบไตรภูมิ การศึกษา ในครั้งนี้ได้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกุศโลบายในชุมชน ผ่านกระบวนการ สร้างสรรค์ทางจิตรกรรมและเผยแพร่ผลงานผ่านการจัดนิทรรศการศิลปะ “ชุดภายใต้กุศโลบายเมืองนครศรีธรรมราช” โดยผลงานจิตรกรรมทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการสนับสนุนกุศโลบายอันดีงาม The purpose of this research paper is 1) to analyze and compose an oral traditional community, Sart Duen Sib’s story, the folklore of Jo and contemporary communities in Tha Ngio sub district, Mueang Nakhon Si Thammarat district, Nakhon Si Thammarat to create the visual arts in the community. 2) To analyze the art of Phra Trong Ma’s Vihara in Wat Phra Mahathat Woramahawihan Nakhon Si Thammarat Province from the essence of the structure and symbols of the arts. And 3) To create works through the surreal thinking process in contemporary visual arts to support the stratagem through the contents and symbols that are the identity of the community. From the content of an oral traditional community, people’s beliefs and the story of the today’s community, the qualitative research methods and the creating in visual arts were used to collect the relevant documentation. Such as interviewing, photographing and sketching. There are steps for data analysis as follows: 1) Gathered the relevant document information and interview information. 2) Organized the information from the photos. And 3) Designed a sketch to select the sketches with content and concepts in the creation of painting works then present descriptive and analytical research results. The result showed that Ban Khun Nam community is based on the stories through belief and faith. It is comparable to the art of Phra Trong Ma’s Vihara in Wat Phra Mahathat Woramahawihan Nakhon Si Thammarat Province by used the method of placing symbols according to the structural-functionalism theory and placing the composition of art in the Tribhum’s style. This study has created works of visual arts with content related to community stratagem through the process of creating paintings and disseminating works through art exhibitions “Under the stratagem of Nakhon Si Thammarat” All in all, the works of paintings act as an intermediary in supporting good stratagem beautifully.

References

ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์. (2552, สิงหาคม 8), แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เมืองนครจากหน้าพระลานถึงห้วย เขามหาชัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/ 123456789/418/1/แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เมืองนคร%20จากหน้าพระลานถึงห้วยเขามหาชัย.pdf [2562, ธันวาคม 25]

ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์. (2559, ธันวาคม 12), ประติมากรรมโดดเด่นในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (ตอนที่ 3). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://phramahathat-heritage.com/2016/12/12/ ประติมากรรมโดดเด่นในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร-ตอนที่-3/ [2562, ธันวาคม 30]

ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ, กรุงเทพฯ : อมรินทร์

นงคราญ สุขสม. (2554). รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 3. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง

ปรีชา นุ่นสุข. (2540). ประเพณีสารทเดือนสิบ, กรุงเทพฯ: ครุสภาลาดพร้าว

พระไพโรจน์ อตุโล (2556, สิงหาคม 30), ความเชื่อเรื่องโจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://prapirod.blogspot.com/2013/08/blog-post.html [2562, ธันวาคม 25]

วุฒิ วัฒนสิน (2552). ประวัติศาสตร์ศิลปะ, กรุงเทพฯ: สิปประภา.

ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน นิทานพื้นบ้าน กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). ทฤษฎีสังคมวิทยา, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2023-09-25